Sunday, October 23, 2016

บทที่ ๒๔ อรูปสมาบัติ



บทที่ ๒๔
อรูปสมาบัติ
การเจริญกรรมฐานเพื่อบรรลุอรูปฌาน ๔
การเจริญสมาธิในขั้นต่อไปมีจุดมุ่งหมายสุดยอดคือการบรรลุฌาน ๔ ซึ่งโดยปกติจะเรียกว่า “อรูปสมาบัติ” อรูปฌานทั้ง ๔ นี้เกี่ยวข้องกับหลักแห่งฌาน ๔ อย่างใกล้ชิดมาก
หลัก ๒ อย่างได้แก่ขั้นต่อๆ กันของขบวนการแห่งการเจริญสมาธิทั้งหมด จริงอยู่ท่านกล่าวถึงอรูปสมาบัติในบางโอกาสเท่านั้น  โดยไม่อ้างถึงหลักฌานทั้ง หลาย ในขณะที่ฌานทั้ง ๔ ซึ่งเรียกว่า รูปฌาน บุคคลจะบรรลุได้โดยการเจริญสมาธิยึดสิ่งที่มีรูปที่มองเห็น หรือยึดถือ ความเข้าใจซึ่งเกิดจากฌานนั้นๆ ผู้ปฏิบัติย่อมได้บรรลุอรูปฌานโดยผ่านพ้นอย่างสมบูรณ์เหนือ ความรู้เรื่องรูป และดังนั้น จึงเรียกว่า “อรูป” คือไม่มีรูปซึ่งได้แก่ ภาวะที่ปราศจากร่างกาย
เกี่ยวกับหลักของรูปฌาน ๔ เราจะพบว่า หลักสำคัญทางจิตวิทยา หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าองค์ฌาน ได้แก่ วิตก วิจาร ปิติ สุข และเอกัคคตาจิต มีจำนวนลดลงในแต่ละฌานตามลำดับ สมาธิจะมีกำลังมากขึ้นจนได้บรรลุฌานที่ ๔ แต่ในขั้นอรูปฌาน การขจัดเสียซึ่งฌาน ขั้นหนึ่งย่อมให้ได้บรรลุฌานขั้นต่อไป
อรูปฌานขั้นแรกในบรรดาอรูปฌานทั้ง ๔ จะบรรลุได้โดยการขจัดเสียซึ่งอารมณ์แห่งกสิณในฌานที่ ๔ และการขจัดเสียซึ่งฌานขั้นแรกก็คือการบรรลุฌานขั้นที่ ๒  เมื่อขจัดฌานขั้นที่ ๒ ย่อมได้บรรลุฌานขั้นที่ ๓  ซึ่งฌานขั้น ๓ นี้ช่วยให้ได้บรรลุฌานขั้นที่ ๔ ต่อไป
หลักของฌานขั้นต่างๆ เหล่านี้มีดังต่อไปนี้
 เมื่อผ่านพ้นรูปสัญญาโดยสิ้นเชิง สัญญาในอายตนะทั้งหลายก็หมดสิ้นไป ไม่สนใจกับสัญญาทุกอย่าง และเมื่อคิดดังนี้ว่า “อากาศหาที่สุดมิได้ เขาย่อมบรรลุและอยู่ในอากาสานัญจายตนฌาน
 เมื่อผ่านพ้นขอบเขตแห่งอากาศอันหาที่สุดมิได้ และคิดว่า “วิญญาณหาที่สุดมิได้ เขาย่อมบรรลุและอยู่ในวิญญาณัญจายตนฌาน
 เมื่อผ่านพ้นขอบเขตแห่งวิญญาณอันหาที่สุดมิได้ และคิดว่า “ไม่มีอะไร” เขาย่อม บรรลุและอยู่ในขอบเขตซึ่งไม่มีอะไร เรียกว่า อากิญจัญญายตนฌาน
 เมื่อพ้นขอบเขตแห่งความไม่มีอะไรโดยสิ้นเชิง เขาย่อมบรรลุและอยู่ในขอบเขตที่ว่า มีวิญญาณก็หามิได้ หรือว่าไม่มีวิญญาณก็หามิได้ เรียกว่าเนวสัญญาณาสัญญายตนฌาน
การบรรลุอรูปฌาน ๔ เหล่านี้และการฝึกอบรมเพื่อบรรลุอรูปฌาน ๔ เหล่านี้เป็นที่รู้จักกันแล้วก่อนการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า เพราะฌาน ๒ อย่างสุดท้าย ในบรรดาฌาน ๔ เหล่านี้ มีเอ่ยถึงในอริยปริเยสนาสูตรในมัชฌิมนิกาย ซึ่งในพระสูตรนั้น ท่านกล่าวว่าดาบส ๒ คน ได้ บรรลุอรูปฌาน ๒ ข้อสุดท้ายเหล่านั้น คืออาลารดาบส กาลามโคตรและอุทกดาบสบุตรของ นายราม              พระพุทธเจ้าพระองค์เองในช่วงเวลาที่ทรงแสวงหาความจริงเป็นเวลา นาน ก่อนการตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณนั้น ได้ทรงศึกษาระบบแห่งการฝึกตน ซึ่งดาบสทั้งสองปฏิบัติอยู่ได้ทรงฝึกปฏิบัติฌาน ๔ อย่างเหล่านี้และได้บรรลุอรูปฌานขั้นต่างๆ เป็นผลตอบแทน  แต่พระองค์ทรงตระหนักว่าการฝึกอบรมตนแบบนี้จะไม่นำไปยู่ความสิ้นกิเลสอาสวะได้  พระองค์ทรงประกอบความเพียรก็เพื่อบรรลุกิเลสาสวะเหล่านี้  พระองค์จึงทรงจากครูทั้งสองไปและทรงแสวงหาสิ่งที่พระองค์ประสงค์ต่อไป
ต่อมาเราพบวิธีที่ถูกต้องที่จะบรรลุอรูปฌาน ๔ ในพระสูตรเดียวกันนั้น ซึ่งท่านอธิบายไว้ข้างบนนี้ วิธีการฝึกฝนตนแบบนี้มุ่งหวังจะให้พระสาวกมีความชำนาญในการบรรลุฌาน ๔ และประสงค์จะให้พระสาวกมีวิปัสสนาฌาน และมีความบริสุทธิ์แห่งจิตอย่างสมบูรณ์  ถ้าจะบรรลุวิมุตขั้นสุดท้าย ซึ่งเป็นการดับสัญญาและความรู้สึกทุกอย่างโดยสิ้นเชิง ยิ่งกว่านั้นวิมุตนี้จะมีได้ก็ต่อเมื่อปัญญาเกิดขึ้นจากการเจริญวิปัสสนาเท่านั้น และจิตย่อมเป็นจิตบริสุทธิ์โดย ผ่านสมาธิในฌานขั้นต่างๆ
หลักแห่งสมาธิและปัญญา ๒ อย่างจะพบได้ในข้อความต่างๆ โดยใช้ชื่อว่าเจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตติ ตามลำดับ ในความหมายว่า สมาธิและปัญญา มีจุดหมายสูงสุดคือความเป็นพระอรหันต์ ความสมบูรณ์แห่งความเป็นพระอรหันต์ อาจถือได้ว่าเป็นหลักชัยซึ่งเป็นจุดที่สมาธิและวิปัสสนามาพบกัน
ระบบการฝึกตนในอรูปฌานในพระพุทธศาสนา แตกต่างจากระบบอื่นในข้อที่ว่าระบบในพระพุทธศาสนารวมเอาวิปัสสนาเข้ามาไว้ด้วย ซึ่งเป็นปัจจัยสำ คัญที่สุด และเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับพระสาวกผู้ฝืกฝนตนเองในสมาธิที่จะต้องผ่านขั้นตอนต่างๆทุกอย่างตามลำดับ แห่งการเจริญภาวนา
มีข้อความอธิบายอรูปฌานขั้นต่างๆ อย่างละเอียดในพระคัมภีร์อภิธรรม ซึ่งท่านได้ให้ คำจำกัดความและแบ่งประเภทฌานตามตำแหน่งที่พระสาวกได้รับไว้ในทุกประเภทของสภาวะทางจิตวิทยา เมื่อได้บรรลุถึงอรูปฌานขั้นต่างๆ เหล่า นี้แล้วสภาวะของจิตอยู่ในขั้นแห่งฌานที่ ๔ เพราะยังคงมีธาตุสำคัญสองอย่างอยู่คือ อุเบกขาซึ่งเกิดขึ้นจากความบริสุทธิ์ของสติ และสภาวะเป็นหนึ่ง(เอกัคคตา)ซึ่งมีอยู่ในฌานที่ ๔ แต่ธาตุเหล่านี้ในขั้นนี้อยู่ในสภาพที่ก้าวหน้ามากและละเอียดสุขุมมาก คือไม่มีความรู้สึกในเรื่องกามารมณ์เลย ด้วยเหตุผลนี้เอง อรูปฌาน ๔ จึงเป็นฌานที่เกิดขึ้นพร้อมๆ กับฌานที่ ๕ และปรากฏในพระคัมภีร์อภิธรรมนชื่อว่า “ฌาน” ข้อความเช่นนั้นแสดงให้เห็นลักษณะสำคัญของระบบฌาน เพราะว่า เรามีขบวนการของฌาน ๘ อย่างก็เพราะความเกี่ยวเนื่องกันของอรูปฌานกับฌาน ๔ นั้นเอง ฌาน ๘ อย่างนี้ภายหลังเป็นที่รู้จักกันในนาม “สมาบัติ ๘” คือการบรรลุ ๘ ประเภท
อรูปฌาน ๔ ย่อมเป็นส่วนเดียวกันกับการบรรลุแบบอื่นๆ อีก ๓ อย่าง คือการหลุดพ้น ๘ อย่าง (อฎฐวิโมกฺข) การบรรลุตามลำดับ ๙ ขั้น (นวอนุปุพฺพสมาปตฺติ) และการดับความคิด ตามลำดับ ๙ ขั้น (นวอนุปุพฺพนิโรธ)
ตามหลักคำสอนในพระพุทธศาสนา พระสาวกควรจำไว้ว่าจุดประสงค์ของการบรรลุฌาน เหล่านี้ ก็เพื่อจะบรรลุถึงความเป็นใหญ่ในสมาธิ เพราะถ้าไม่มีความเป็นใหญ่นี้ การฝึกฝนอบรมตนของเขาย่อมไม่สมบูรณ์ ยิ่งกว่านั้นพระสาวกย่อมรู้ว่าจุดประสงค์ข้อนี้ก็เพื่อปลดเปลื้องจิต ให้ปราศจากนิวรณ์ข้อหนึ่ง ไปยังนิวรณ์ข้ออื่นๆ และดังนั้นจึงทำให้จิตเหมาะสม และควรค่ายิ่งขึ้นเพื่อได้มาซึ่งคุณ ธรรมอันเหนือมนุษย์ธรรมดา ซึ่งเหมาะสมกับพระอริยบุคคล
อาจมีคนบางคนผู้ฝึกสมาธิเพื่อจะได้ไปอยู่ในโลกแห่งวิญญาณซึ่งปราศ จากร่างกาย ปราศจากความไม่สมบูรณ์ทุกอย่าง และปราศจากความทุกข์ แต่อย่าง ไรก็ตาม จากแนวความ คิดในพระพุทธศาสนา การเกิดในภพเช่นนั้นไม่เป็นเพียงความด้อยโอกาสเท่านั้น แต่ยังเป็นการสูญเสียโอกาสในการ บรรลุพระนิพพานด้วย เพราะพระนิพพานเกือบจะอยู่ในระยะเอื้อมถึงของปัจเจกชนนั้น ขอเพียงแต่ให้เขาเหล่านั้นเข้าใจพระนิพพานอย่างแจ่มแจ้ง และไม่ควรอุทิศตนเพียงเพื่อจะได้อยู่ในโลกแห่งวิญญาณเท่านั้น
พระอริยบุคคลขั้นโสดาบันหรือสกทาคามี ย่อมอุบัติในภพที่สัมพันธ์กับฌานขั้นต่างๆ แต่การอยู่ในภูมิเหล่านี้ไม่มีประโยชน์สำหรับพระอริยบุคคลเหล่านี้ เพราะพระอริยบุคคลเหล่านั้นได้ตั้งอยู่ในทางแห่งพระนิพพานแล้ว
พระสาวกผู้ยึดสมาธิเป็นทางไปสู่จุดมุ่งหมายของชีวิตโดยปกติย่อมผ่านขบวนการแห่งฌานเหล่านี้ทุกอย่าง ซึ่งเป็นเหมือนป้ายชี้ไปยังจุดหมายปลายทาง ยิ่งกว่านั้นพระภิกษุผู้ได้รับการฝึกฝนอบรมในสมาบัติเหล่านี้ ย่อมมีคุณสมบัติครบถ้วนบริบูรณ์ที่จะได้รับความรู้อันสูงเรียกว่า “อภิญญา”  ซึ่งเป็นความรู้ที่สูง ขึ้นและมีคุณสมบัติที่สูงขึ้นเป็นพิเศษในที่สุด  แนวปฏิบัติเหล่านี้ ซึ่งถือเป็นหน่วยร่วมอันเดียวกันนั้นจะนำเอา ปฏิบัติไปสู่ความเป็นผู้หมดกิเลส หรือไปสู่สันติสุขนิรันดรคือพระนิพพาน
วิธีการบรรลุอรูปฌานขั้นต่างๆ ซึ่งได้อธิบายไว้แล้วโดยย่อข้างบนนี้ จัด เป็นคำสอนพิเศษเฉพาะในพระพุทธศาสนาเพราะวิธีนี้มีลักษณะของวิปัสสนาที่เห็นได้ชัด  ดังนั้นผู้บำเพ็ญฌานที่ปฏิบัติตามวิธีในพระพุทธศาสนาจึงได้รับการคุ้มกันจากวิปัสสนา เพื่อไม่ให้มีมิจฉาทิฐิ บุคคลเช่นนี้จะปฏิเสธทัศนะที่ว่าไม่มีอะไร คือ นัตถิกทิฐิ ซึ่งนักพรตและพราหมณ์บางกลุ่มยึดถือ เพราะเขาเหล่านั้นขาดปัญญาอันสมบูรณ์
การบรรลุอรูปฌานขั้นที่ ๑ ตามที่บ่งถึงในหลักของฌานนี้ เกิดมาจาก จตุตถฌาน ซึ่งเกิดจากการบำเพ็ญกสิณอย่างใดอย่างหนึ่งนอกจากอากาสกสิณ ผู้บำเพ็ญที่ออกจาก จตุตถฌานย่อมพิจารณาเห็นความสงบว่าเป็นสภาพธรรมที่มีสภาพหยาบ มีรูปวัตถุเป็นพื้นฐาน แล้วขจัดออกไปเสียจากจิต และคิดว่าความสงบในอรูปฌานเป็นความสงบที่สูงกว่า เขาทำดังนี้ด้วยจิตคิดขยายจตุตถฌานออกไปสู่ขอบเขตตามที่ต้องการ โดยไม่ต้องเปลี่ยนไปสู่รูปสัญญาและเอาจิตจดจ่ออยู่กับอากาศที่จิตสัมผัส เขาคิดดังนี้ “อากาศ อากาศ อากาศ ซึ่งหาที่สุดมิได้” การคิดซ้ำๆ อย่างต่อเนื่อง  โดยไม่เปลี่ยนแปลงนำเขาไปถึงจุดที่จิตของเขาถึงอารมณ์กสิณในฌานที่ ๔ ได้เป็นอันเดียวกับอากาศอันหาที่สุดมิได้ จึงกล่าวว่าเขาได้บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน คือ ฌานอันกำหนดอากาศว่าไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งในฌานนี้จิตจะหยุดนิ่งเป็นของตนเอง ปราศจากกาม สัญญาทุกอย่าง หลังจากได้ควบคุมจิตให้อยู่ในฌานนั้นเป็นอย่างดีแล้ว เขาย่อมอยู่ในฌานนั้น
เราได้ทราบมาแล้วว่า อรูปฌานขั้นที่ ๑ นี้ บุคคลจะบรรลุได้ด้วยการจัดรูปวัตถุของฌานที่ ๔ ออกไป และในขั้นนี้ฌานยังอ่อนพลังอยู่ พอจะเข้าใจได้ว่า เมื่อพบที่ว่างของบ้านหลังหนึ่ง ซึ่งเขาเคยอยู่ครั้งหนึ่งในอดีต เขาย่อมสร้างมโนภาพของบ้านหลังนั้นขึ้นมา  แต่โดยทำนองเดียวกันในอรูปฌานนี้ ซึ่งไม่มีรูปเป็นพื้น ฐาน แต่ตั้งอยู่บนพื้นฐานคืออากาศซึ่งเหลืออยู่โดยการขจัดรูปออกไป จึงมีความเป็นไปได้ที่ว่า รูปสัญญาอาจเกิดแทรกขึ้นมาได้ เพราะจิตชินอยู่กับรูปมาเป็นเวลานานนับไม่ถ้วนแล้ว
ผู้เจริญฌานเมื่อทราบถึงความอ่อนพลังของอรูปฌาน ย่อมดำเนินต่อไปถึงทุติยฌาน เขาย่อมเกิดความคิดขึ้นว่าความรู้ดังกล่าว ซึ่งมีขอบเขตไปถึงอากาศที่ไม่มีที่สิ้นสุดนั้น จะต้องเป็นธรรมชาติที่ไม่มีที่สิ้นสุด  ความคิดนี้นำเขาไปสู่ฌานที่ ๒ คือ วิญญาณัญจายตนฌาน ความคิดที่เกิดขึ้นบ่อยๆ อย่างสืบเนื่อง ย่อมนำเขาไปสู่วิญญาณัญจานาฌาน  ซึ่งในฌานนี้ ผู้เจริญฌานย่อมได้ความสงบลึกซึ้งมาก กว่าความสงบที่มีในฌานขั้นก่อน
แต่ฌานขั้นวิญญาณัญจายตนะนี้ ถูกรัศมีแห่งฌานขั้นอากาสานัญจายตนะปิดบังตามขั้นตอนและเมื่อผู้เจริญฌานประจักษ์ว่านี้เป็นแหล่งที่มาแห่งความอ่อนพลังที่เป็นไปได้ เพราะจิตของตนอาจเปลี่ยนไปสู่อากาสานัญจายตนฌาน  ดังนี้แล้วเขาย่อมคิดที่จะดำเนินการต่อไปสู่ความสงบที่ยิ่งไหลกว่านั้นคือขั้นไม่มีอะไรเลย  เขาสามารถตั้งความคิดขึ้นว่า “ไม่มีอะไรเลย” และคิดต่อเนื่องดังนี้เรื่อยไป จนกระทั่งจิตของเขาตั้งอยู่ในความไม่มีอะไรเลย คือทำลายความคิดเกี่ยวกับ ความไม่มีสิ้นสุดแห่งวิญญาณ ในเวลาอันเหมาะสม เขาย่อมบรรลุอรูปฌานที่ ๓ คือ การเข้าไปสู่ขอบเขตแห่งความไม่มีอะไร เขาผ่านพ้นฌานขั้นนี้ไปท่องเที่ยวไปและได้รับประสบการณ์ เพื่อว่าเมื่อไรก็ตามที่เขาปรารถนาเขาย่อมได้เข้าไปสู่ความสำเร็จนั้น
แต่ก็ยังมีความเป็นไปได้ว่าความคิดเรื่องวิญญาณหาที่สุดมิได้นี้อาจเกิดขึ้นโดยไม่ต้องการ และจิตอาจหันกลับไปยังแวดวงแห่งวิญญาณอันหาที่สุดมิได้อีก ดังนั้น ผู้บำเพ็ญฌานเมื่อ ตระหนักว่าตนยังไม่ได้บรรลุถึงคุณธรรมขั้นสูงสุด ย่อมดำเนินไปสู่ณานขั้นที่ ๔ และขั้นที่ ๕  ซึ่ง ณ ขั้นนี้เขาย่อมเข้าสู่เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน คือขั้นที่ว่าจะมีวิญญาณก็หามิได้ หรือจะปรารถนาจากวิญญาณก็หามิได้ การบรรลุฌานขั้นนี้จะมีได้ก็โดยการขจัดเสียซึ่งฌานขั้นที่ ๓ และในขั้นนี้ย่อมมีร่องรอยแห่งสัญญาซึ่งลึกซึ้งอย่างเหลือที่จะอธิบายได้  ผู้บำเพ็ญฌานย่อมมี ความสงบและประสบการณ์พิเศษในอรูปฌานที่ ๓ เขาย่อมคิดว่าช่างเป็นความประหลาดที่ว่ามีสัญญาอยู่ในสภาพที่ไม่มีอะไร สัญญาเช่นนั้นซึ่งเกี่ยวข้องกับอรูปฌานขั้นที่ ๓ นั้น ยังคงครอบคลุมจิตของเขาอยู่ และดังนั้น อาจกล่าวได้ว่าเขามีสัญญาประเภทที่ละเอียดสุขุมประเภทหนึ่ง อย่างไรก็ตาม เขาย่อมไม่มีความปรารถนาที่จะออกจากฌานที่ ๔ และกลับมาสู่ฌานที่ ๓ ซึ่งมีคุณภาพด้อยกว่าฌานที่ ๔  ดังนั้นโดยเหตุที่สัญญาซึ่งมีร่องรอยค้างอยู่ในฌานที่ ๓ ไม่ก่อให้เกิด ผลอันใดจึงกล่าวได้ว่าไม่มีสัญญาที่มีพลังใดๆ ในตัวเขานี้เป็นสภาพที่รู้จักกันว่า “เนวสัญญานาสัญญายตนะ”
นี้เป็นจุดที่จิตได้ไปถึงสภาพแห่งการควบคุมตนเองอย่างสมบูรณ์ปราศ จากความคิดเรื่องโลกทุกอย่าง หลังจากผ่านขบวนการแห่งฌานขั้นต่างๆ สภาพนี้ลึกซึ้งและยากที่จะอธิบาย จนถึงกับว่าคนบางคนเข้าใจผิดไปว่า สภาพเช่นนี่คือพระนิพพาน หรือการบรรลุขั้นสุดท้าย ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดของพวกฤๅษีบางกลุ่มสมัยก่อนพระพุทธเจ้า เช่นอุททกดาบสบุตรของนายราม เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะลึกซึ้งและสงบก็ตาม อรูปฌานขั้นสุดท้ายก็ยังขาดความแน่นอนที่จะไปพระนิพพาน เราได้ทราบมาแล้วว่ายังคงมีสัญญาอยู่เล็กน้อย ซึ่งเป็นมรดกสืบเนื่องมาจากอรูปฌานที่สาม และดังนั้น ผู้บำเพ็ญฌานอาจมีความปรารถนาที่จะอยู่ในฌานที่ ๓ โดยถือว่าเป็นการพัฒนาวิญญาณขั้นสูงสุด ความปรารถนาที่เหลืออยู่ ความเห็นผิดๆ ซึ่งก่อให้เกิดความปรารถนานั้น และสัญญาในจิตที่เกี่ยวกับอรูปฌานที่ ๓ เรียกว่า “อาสวะ”  ในอรูปฌานขั้นนี้สัญญาเหล่านี้ค้างอยู่เหมือนกับเป็นสาเหตุแห่งความป่วยไข้ซึ่งยังไม่ได้ถูกออกไป  ดังนั้น จิตในขั้นนี้ย่อมอยู่ภายใต้อำนาจแห่งความเสื่อมคลาย  ในขณะที่อาสวะมีอยู่นั้นเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ที่จะต้องเร่งเร้าจิตไปสู่สภาพความเป็นอยู่ตามปกติ  ซึ่งจิตชินอยู่เป็นเวลานาน ดุจเศษก้อนกรวดมีอยู่ใต้เท้าของคนผู้ปีนขึ้นภูเขาสูงๆ ซึ่งอาจผลักดันให้บุคคลนั้นตกลงมายังเชิงเขาได้
พระพุทธเจ้า เมื่องทรงทราบถึงข้อเสียของอรูปฌานที่ ๔ ด้วยพระปัญญาญาณใน สมุปฏิจจสมุปบาทแล้ว จึงได้ทรงปฏิบัติสูงขึ้นอีกขั้นหนึ่ง นั่นก็คือการบรรลุถึงการดับกิเลสโดยไม่เหลือ การละภวตัณหา และมิจฉาทิฐิ และการทำลายอวิชชาเสียได้ สภาวะดังกล่าวนี้มีผลมาจากวิญญาณ ซึ่งเมื่อเผาผลาญด้วยไฟ คือวิปัสสนาแล้วย่อมทำลายเสีย ซึ่งเชื้อแห่งกิเลสและอาสวะทั้งหลาย เช่นเดียวกับไฟซึ่งสามารถเผาเมล็ดพืชให้ไหม้เป็นเถ้าถ่านไปฉะนั้น  ดังนั้น ท่านจึงเรียกการบรรลุนี้ว่า นิรฺวาณ (บาลีว่า นิพพาน) เพราะดับอาสวะโดยสิ้นเชิง
หลังจากการเจริญฌานเหล่านี้อย่างสมบูรณ์บริบูรณ์แล้ว ผู้เจริญฌานย่อมได้รับความสงบที่สมบูรณ์และสูงสุดในขณะที่เขายังมีชีวิตอยู่ และเขาจะดำรงชีพอยู่โดยปราศจากการรบกวนจากโลกภายนอก ผู้เจริญฌานซึ่งอยู่ในขั้น อรูปฌานจะไม่สนใจกับสิ่งภายนอก แม้ว่าเขาจะยังคงมีชีวิตอยู่ในท่ามกลางสิ่งทั้งหลายซึ่งจะรู้ได้โดยอาศัยอายตนะภายในก็ตามทั้งนี้เพราะจิตจากอรูปฌานขั้นที่ ๑ ไม่ได้รับการสนับสนุนจากอายตนะทั้งหลาย ตัวอย่างเช่น ดาบสชื่อ อาลาระกาลามโคตร ผู้มีความชำนาญในฌานเหล่านี้จนถึงตติยฌาน คือฌานที่ ๓ มีอำนาจในการ
ทำให้อินทรีย์ในอายตนะทั้งหลายสงบลงได้ จนถึงขั้นไม่ได้เห็นหรือได้ยินเสียงเกวียน ๕๐๐ เล่มที่ผ่านไปใกล้ๆ ตัวเขา ดังนั้นสภาพเช่นนี้ จึงไม่มีความหวั่นไหว เอนเอียงไปตามโลกแห่งกามคุณ แต่ยังคงมีอายตนะคือจิตอยู่พร้อมกับเงาแห่งประสบการณ์ในอดีต ในระบบทางพระพุทธศาสนา อรูปฌานที่ ๔ ของผู้ที่ได้บรรลุธรรมถึงขั้นอนาคามี และขั้นพระอรหันต์ย่อมนำไปสู่การบรรลุ สัญญาเวทยิตฺนิโรธ ซึ่งเป็นฌานขั้นที่ ๕ และขั้นสุดท้ายของความสงบ ซึ่งในขั้นนี้ สัญญาในอายตนะทั้งหมด และความรู้สึกพร้อมด้วยกิจกรรมต่างๆ ของวิญญาณจะสงบอย่างสิ้นเชิง
ลำดับจิตที่สูงขึ้น ๕ ลำดับเหล่านี้ ละเอียดสุขุมที่สุด และยากที่จะบรรยายเป็นคำพูดออกมาได้ แต่ลำดับของจิตเหล่านี้ไม่ใช่สภาพของจิตที่ว่างเปล่า ซึ่งอยู่ในฌานที่ปราศจากวิญญาณ เข้าใจได้ยาก แต่โดยแท้จริงแล้ว ภาวะเหล่านี้เป็นการบรรลุทางจิตที่บริสุทธิ์ที่สุดและ ลึกซึ้งที่สุด ทำให้สมบูรณ์ด้วยการสมาทานศีลและการฝึกฝนทางปัญญา ซึ่งทำให้จิตมีภาวะที่ควรแก่การงาน และสามารถรู้แจ้งสภาวะที่ประเสริฐและสงบที่สุดในวิถีแห่งพระนิพพาน  ดังนั้น ในพระพุทธ ศาสนา ท่านจึงเรียกสภาพเหล่านี้ว่า ‘‘สันตินิเวศน์” ตรงกับภาษาบาลีว่า “สนฺตา เอเต วิหารา อริยสฺส วิณเย วุจฺจนฺติ  ฯ แปลว่าธรรมเหล่านี้ท่านกล่าวว่าเป็นธรรมเครื่องอยู่อาศัยที่สงบของพระอริยบุคคล
อรูปฌาน ๔ เหล่านี้ ท่านอธิบายไว้ด้วยว่า เป็นการบรรลุวิโมกข์ คือการหลุดพ้นจากความทุกข์ ซึ่งเกิดจากรูปวัตถุ การบรรลุเช่นนี้ พระพุทธเจ้าได้ทรงทราบอย่างประจักษ์แล้วว่า เป็นธรรมที่เป็นไปเพื่อทำให้สัตว์ทั้งหลายบริสุทธิ์ เพื่อหลีกหนีความเศร้าโศรก เสียใจ เพื่อขจัดเสียซึ่งความเจ็บปวดและความทุกข์เพื่อบรรลุผลที่ถูกต้องคือปัญญาและเพื่อการตรัสรู้พระนิพพาน ซึ่งให้ความสุขนิรันดร
ขบวนการรู้แจ้งทางจิตอันเกิดจากอรูปฌานขั้นต่างๆ เหล่านี้ เป็นเช่นเดียว กับผังแสดงตำแหน่งของจิตในขั้นอรูปฌาน ซึ่งแสดงไว้แล้วข้างต้น นอกจากว่า ขบวนการเหล่านี้ดำเนินไปโดยปราศจากพื้นฐานทางกายตามสภาพของฌานแห่งขบวนทารรู้แจ้งทางจิตนั้นๆ
จบบริบูรณ์

No comments:

Post a Comment