บทที่ ๑๙
อุปสมานุสสติภาวนา
การเจริญสมาธิโดยพิจารณาความสงบ
ตามที่ได้ศึกษามาแล้ว อุปสมานุสสติไม่ปรากฏเป็นเอกเทศในพระไตร ปิฎก นอกจากจะปรากฏอยู่ในรายชื่อที่ท่านให้ไว้ในฌานวรรคในอังคุตรนิกาย
แต่ในพระคัมภีร์วิสุทธิมรรค ท่านอธิบายไว้ว่าเป็นอารมณ์ของสมาธิ
และท่านวางอุปสมานุสสติภาวนาไว้หลังอานาปานสติคำว่า “อุปสม” ท่านให้คำจำกัดความว่า
“สพฺพทุกขอุปสม” ซึ่งหมายถึงความสงบแห่งทุกข์ทั้งปวง
คำนี้หมายถึงพระนิพ พาน ในความหมายที่ว่าเป็น “ความสงบที่แท้จริง” และคำว่า
อุปสมานุสสติ หมาย ถึงการระลึกถึงลักษณะทุกอย่างของพระนิพพาน คำว่า อุปสม”
เมื่อหมายถึงการ
ระลึกถึงความสงบย่อมประกอบด้วยสติที่เกิดขึ้นอย่างไม่ขาดตอน
โดยเป็นอารมณ์ของพระนิพพาน , ความเป็นสมาธิของจิต และสิ่งที่เกิดขึ้นพร้อมกับจิตที่คิดอารมณ์นั้น
การปฏิบัติย่อมทำให้จิตสงบ และมีสันติตั้งแต่เริ่มต้น
ด้วยเหตุนี้ท่านจึงเรียกว่าอุปสมานุสสติ หรือสมาธิอันเกิดจากการระลึกความสงบ
ท่านแนะนำว่า อุปสมานุสสติ เป็นกรรมฐานสำหรับพระสาวกผู้มีสติ ปัญญาเฉียบแหลม เช่นเดียวกับอนุสสติ
๖ อย่าง อุปสมานุสสตินี้จะทำให้สมบูรณ์บริบูรณ์ได้โดยพระสาวกผู้ได้บรรลุพระอริยมรรค
เพราะพระสาวกเหล่านั้นได้รู้แจ้งอย่างแท้จริง
ซึ่งความสุขในพระนิพพานตามสัดส่วนของคุณธรรมที่ท่านได้บรรลุแต่อย่างไรก็ตาม
ผู้ที่ประสงค์จะมีความสงบและความเยือกเย็นในจิต
ก็สามารถปฏิบัติอุปสมานุสสติกรรมฐานได้ เพราะว่าด้วยการเจริญสมาธิโดยพิจารณาความสงบนั้น
จิตย่อมน้อมไปสู่การบรรลุความสงบและความเยือกเย็นได้ ต่อไปนี้เป็นคำอธิบายเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติซึ่งท่านอธิบายไว้ในพระคัมภีร์วิสุทธิมรรค
ซึ่งเหมาะสำหรับผู้เริ่มปฏิบัติ
พระสาวกผู้ปรารถนาจะเจริญอุปสมานุสสติควรอยู่ในที่สงัด และเจริญสมาธิ โดยการพิจารณาถึงคุณลักษณะของพระนิพพานตามที่ท่านแสดงไว้ในพระบาลีดังต่อไปนี้
“ยาวตา ภิกฺขเว ธมฺมา สงฺขตา วา อสงฺขตา วา วิราโค เตสํ ธมฺมานํ อคฺคมกุขายติ,
ยทิทํ มทนิมฺมทโน; ปิปาสวินโย อาลยสมุคฺฆาโต วฏฏอุปจฺเฉโท ตณฺหกฺขโย วิราโค
นิโรโธนิพฺพานํ”
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในบรรดาธรรมทั้งหลายทั้งที่ปัจจัยปรุงแต่ง
และปัจจัยมิได้ปรุงแต่ง วิราคะ(ความอิสระ)เป็นธรรมยอดเยี่ยม
วิราคะคือการบรรเทาความมัวเมา การขจัดเสีย ซึ่งความกระหาย การตัดความอาลัย,
การตัดขาดซึ่งวัฏสงสาร, การดับสิ้นตัณหา การคลายกำหนัด, การดับทุกข์ และพระนิพพาน”
พระสาวกควรเพ่งพิจารณาคุณลักษณะที่กล่าวแล้วนี้ของพระนิพพาน
โดยเข้าใจอย่างถูกต้องถึงความหมายของคำต่างๆ คำซึ่งมีลักษณะเป็นไปในทางลบเมื่อพิจารณาถึงความหมายที่ลึกซึ้งเหล่านี้
มีความหมายในทางบวกตามที่ท่านสรุปไว้ในข้อความที่ว่า “การทำให้ความชั่วทุกอย่างระงับ”
หมายถึง ความไม่มีทุกสิ่งทุกอย่างซึ่งเป็นความชั่วและเป็นความทุกข์ และความปรากฏมีอยู่แห่งทุก
สิ่งทุกอย่างซึ่งเป็นความดีและเป็นความสุข”
ในที่นี้คำว่า “วิราคะ” ซึ่งท่านให้คำจำกัดความตามปกติว่า “ความไม่มีกิเลสหรือความไม่ยึดถือนั้น
ไม่เป็นเพียงความไม่มีกิเลสตัณหา ซึ่งเป็นความ หมายตามนิรุกติศาสตร์เท่านั้น
แต่ควรเข้าใจด้วยว่า คำนี้หมายถึงสิ่งที่ปราศจากปัจจัยปรุงแต่ง
ซึ่งได้แก่ความเป็นอิสระจากความยึดมั่นถือมั่นทางโลกทุกอย่างด้วย อนึ่ง วิราคะนี้เป็นสภาพคือความหมดสิ้นไปแห่งดุจพินิจของปัจเจกชนซึ่งเกิดมาจากอนุสัยขั้นต่ำ
เช่น ความหยิ่ง และ ความถือตัวพร้อมกับความทุกข์ทั้ง หลายซึ่งเกิดมาจากสภาพนั้นอย่างเลี่ยงไม่ได้
ดังนั้น
ท่านจึงเรียกว่า “มทนิมมทโน” คือการขจัดความมัวเมาเสียได้
เมื่อได้บรรลุถึงขั้นนี้แล้ว ความกระหายในทางกามารมณ์ย่อมหมดไปสิ้นไปพร้อมกับ
ความทุกข์ทรมานทางกายและทางจิต ซึ่งเกิดมาจากความกระหายนั้น
ดังนั้น ท่านจึงเรียก “ปิปาสวินโย” คือ การทำลายความกระหายเสียได้
เมื่อได้บรรลุถึงขั้นนี้ วงจักรแห่งภพทั้ง ๓ คือ สังสารวัฎย่อมถูกตัดไป คือการตัดวัฎจักรแห่งการเกิดและการตาย
เมื่อได้รับอิสรภาพดังนี้แล้ว ความทะยานอยากเพื่อสนองตัณหาทุกรูป แบบตลอดถึงความโน้มเอียงเพื่อมีชีวิตอยู่ในโลกที่เปลี่ยนแปลงย่อมหมดสิ้นไป
เหือดแห้งไปและไม่มีอีกต่อไป ดังนั้น
จึงมีความสิ้นตัณหาความปราศจากความกำหนัด และ ความดับตัณหาในที่สุด
ท่านเรียกตัณหาว่า “วานะ” เพราะผูกมัดเข้าด้วยกัน และเย็บเข้าด้วยกัน ซึ่งความมีความเป็นทุกอย่างจากระดับต่ำถึงระดับสูง
จากระดับสูงถึงระดับต่ำ และเรียกการออกไปคือ การหนีไปจากตัณหานั้นว่า “นิพพาน”
หรือ “นิรฺวาณ” ด้วยเหตุดังกล่าวนี้
เมื่อพิจารณาคำเหล่านี้แล้วพระสาวกควรเพ่งพิจารณาพระนิพพานซึ่งท่านกล่าวว่า “เป็นสภาพสงบ”
หรือ “อุปสมะ” ในขณะที่ระลึกถึงคุณลักษณะตามที่ได้อธิบายข้างบนนี้พระสาวก
ควรระลึกถึงพระนิพพานในด้านบวกตามที่ท่านกล่าวไว้ในพระสูตรทั้งหลาย ดังต่อไปนี้
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตขอสอนเธอทั้งหลายให้รู้เรื่องอสังขตธรรม
และสัจจธรรม ซึ่งอยู่ฝั่งอื่น ไม่มีความแก่
ไม่มีความตาย มีความมั่นคง มีความ สุข
มีความบริสุทธิ์ มีเกาะที่พึ่งที่อาศัย มีความต้านทาน มีที่หลีกเร้น
ตถาคตขอสอนอสังขตธรรม แก่เธอทั้งหลาย”
เมื่อพระสาวกรู้ความหมายของคำเหล่านี้ ควรจะเพ่งพิจารณาคำเหล่านี้ซ้ำๆ
ทั้งทางวาจา และทางจิต ตามหนังสือคู่มือพระโยคาวจร คำว่า “นิโรธ” ควรเริ่มกล่าวซ้ำตั้งแต่ต้นปฏิบัติ
เมื่อพระพระสาวกระลึกถึงพระนิพพานตามคุณ
ลักษณะต่างๆ เช่นนั้น นิวรณ์ทั้ง ๕ ย่อมสิ้นไป จิตของเขาจะไม่ถูกตัณหาครอบงำ
ทั้งโทสะและโมหะก็สิ้นไป ในขณะนั้นจิตของเขาผู้นั้นย่อม
อาจหาญในการระ ลึกถึงความสงบเช่นเดียวกับในอนุสสติอย่างอื่นองค์แห่งปฐมฌานย่อมเกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน
แต่เนื่องจากความลึกซึ้งแห่งคุณลักษณะของอุปสสมะฌานย่อมไม่พัฒนาไป
ถึงขั้นอัปปนา แต่จะถึงระดับสูงสุดในขั้นอุปจาร ภาวะแห่งฌานขั้นนี้เรียกว่า “อุปสมานุสสติ”
ผู้ที่อุทิศตนเพื่อการเจริญสมาธิโดยพิจารณาอุปสมะ ย่อมหลับอย่างมีความ สุขตื่น
อย่างมีความสุข อายตนะทั้งหลายของเขาจะสงบ จิตของเขาจะสงบ มีศรัท ธาแรงกล้า มีความตั้งใจเด็ดเดี่ยว
ย่อมได้รับความเคารพนับถือจากเพื่อนมนุษย์ทั้งหลาย ถ้ายังไม่บรรลุพระนิพพานในชาตินี้ เขาก็จะได้รับความสุขอย่างแน่
นอนในชาติหน้า
No comments:
Post a Comment