บทที่ ๒๒
อาหาเรปฏิกูลสัญญา
การเจริญสมาธิด้วยการพิจารญาความปฏิกูลในอาหาร
ในพระคัมภีร์อังคุตตรนิกาย ท่านแนะนำสมาธินี้โดยใช้ชื่อข้างบนนี้ในกลุ่มของสัญญาคือความรับรู้หรือความคิด
ซึ่งเราแปลว่า “สมาธิ” เพราะท่านจัดว่าเป็นอารมณ์ของกรรมฐานในพระคัมภีร์วิสุทธิมรรค
ท่านเรียกว่า “เอกาสัญญา” คือการรับรู้อย่างหนึ่งและต่อมาภายหลัง
ในหนังสือคู่มือมีพระโยคาวจร ท่านใช้ว่า “เอกสัญญานุสสติ” การระลึกถึงการรับรู้อย่างหนึ่ง และอยู่ในลำดับที่
๙ ใน อนุสสติ ๑๐ ในพระคัมภีร์วิสุทธิมรรค ท่านอธิบายว่าเป็นกรรมฐานเฉพาะบุคคลอย่างหนึ่งและวางไว้หลังอรูปฌาน
๔ ซึ่งจะอธิบายในบทที่ ๒๔ วัตถุประสงค์สำคัญ ของสมาธิข้อนี้ก็เพื่อขจัดความโลภและความตื่นเต้นทางกามารมณ์
ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากอาหารและ เพื่อทำจิตให้เป็นอิสระจากการยึดมั่นในรูปธรรม ไม่มีหลักพิเศษเฉพาะสำหรับบทฝึกหัด
และ พระสาวกผู้ปรารถนาจะเจริญกรรมฐานด้วยการพิจารณาถึงความปฏิกูลแห่งอาหารควรพิจารณา
ถึงกิจกรรมที่ไม่มีประโยชน์และต่ำทราม ซึ่งฉุดบุคคลให้ต่ำลงเพราะต้องการ การบำรุงเลี้ยงด้วยอาหารที่เป็นวัตถุที่สกปรกในหลายๆ
รูปแบบ
คำว่า “อาหาร” ในฐานะเป็นคำพูดทางปรัชญาเป็นคำที่บ่งบอกถึงการดำรงชีพและมี
คำจำกัดความว่า “อาหาเรตีติ อาหาโร สิ่งใดนำมาซึ่งผลแก่ตนเอง สิ่งนั้นเรียกว่าอาหาร
(มา จาก อา+หร ธาตุ = นำมา) เมื่อกล่าวโดยอุปมา คำว่าอาหารใช้ดับสาเหตุแห่งการดำรงชีพของสัตว์ทั้งหลาย
ซึ่งเกิดขึ้นหรือจะเกิดขึ้นต่อไป
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สาเหตุแห่งการดำรงชีพอยู่ของสัตว์ทั้งหลายที่เกิดมาแล้วหรือ
สาเหตุที่สนับสนุนผู้ที่แสวงหาที่เกิดมี ๔ อย่าง ๔ อย่างคืออะไรบ้าง ได้แก่ ๑
อาหารคือคำข้าว หยาบหรือละเอียดก็ตาม ๒ สัมผัส ๓ เจตนา ๔ วิญญาณ
ในบรรดาสาเหตุ ๔ อย่างเหล่านี้ อาหารคือคำข้าว
ย่อมธำรงไว้ซึ่งร่างกายซึ่งมีโอชะ เป็นข้อที่ ๘ คือ คุณลักษณะของธาตุ ๔ ได้แก่ สี
กลิ่น รส และโอชะ อาหารคือผัสสะ ดำรงไว้ ซึ่งเวทนา ๓ อย่าง คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา
และอุเบกขาเวทนา มโนสัญเจตนาหารก่อให้เกิด
การเกิดใหม่ในภพทั้ง ๓ วิญญาณก่อให้เกิดรูปและนามในขณะถือกำเนิด
ในบรรดาอาหาร ๔อย่างเหล่านี้ เฉพาะอาหารคือคำข้าวเท่านั้นที่มุ่งหมายในที่นี้ในความหมายที่ว่าบำรุงเลี้ยงร่างกาย
อาหารเรปฏิกูลสัญญา ได้แก่ ความรับรู้ที่เกิดขึ้นโดยการระลึกถึงความไม่น่ารักของอาหารคือคำข้าว
พระสาวกผู้ปรารถนาจะเจริญกรรมฐานข้อนี้ควรระลึกถึง ความไม่น่ารักของอาหาร โดยพิจารณาสิ่งที่จะรับประทานหรือดื่มชนิดต่างๆ
คำว่า ปฏิกูลํ ซึ่งหมายถึง ความน่าเกลียด ควรกล่าวซ้ำๆ ในตอนเริ่มปฏิบัติ เมื่อพระสาวกทำดังนี้
สภาพที่น่าเกลียดและน่าชังของอาหารจะปรากฏชัดโดยวิธีต่างๆ
พระภิกษุผู้เจริญสัญญาข้อนี้ควรคิดถึงสภาพที่ไม่น่าปรารถนาและความลำบากหลายๆ
อย่างที่ตนจะต้องทนในการไปแสวงหาอาหาร เขาจะต้องทำหน้าที่ที่จำเป็น และสำคัญในชีวิตนักศาสนาของเขา
เขาจะต้องทอดทิ้งความวิเวกอันน่า รักและสงบในที่อยู่แบบนักพรตของเขา และขณะที่ถือบาตร
เขาต้องเข้าไปในหมู่ บ้านในเวลาที่กำหนดไว้เฉพาะ เพื่อแสวงหาอาหารเช่นเดียวกับสุนัขจิ้งจอกเข้าไปในป่าช้าเพื่อหาอาหารกิน
ฉะนั้น เขาต้องเดินผ่านจากบ้านหนึ่งไปยังอีกบ้านหนึ่ง
ถือบาตร เช่นเดียวกับคนไว้อาชีพ ฝ่าความร้อน และความหนาวลมและฝนและเดินไป รอบๆ
เพื่อหาอาหาร
หลังจากได้อาหารแล้ว
พระสาวกทั้งภายใต้ต้นไม้หรือในที่เช่นนั้นบางแห่ง ปั้นข้าวเป็นคำๆ แล้วฉันอาหาร เมื่อข้าวอยู่ในปากแล้ว ข้าวปั้นบดด้วยสากคือฟัน
พลิกไปมาด้วยลิ้น คลุกเคล้าด้วยน้ำลาย และ ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่น่าเกลียดและปราศจากความสวยงาม
และปราศจากกลิ่นที่น่าเจริญจมูก เมื่อรับประทาน และกลืนเข้าไป
คำข้าวนั้นยิ่งน่าเกลียดที่สุด ผสมกับน้ำดี เศลษม์ และวัตถุที่ไม่สะอาดอื่นๆ
และจะไปขังอยู่ในที่ซึ่งไม่บริสุทธิ์เช่นกัน
อาหารนี้เมื่ออยู่ในท้องตราบใดที่ยังไม่ย่อย ย่อมมีสภาพน่าเกลียดอย่างยิ่ง
ผสมกับของที่รับประทานวันนี้ เมื่อวานนี้และเมื่อวานซืนนี้
รวมกันเป็นก้อนอยู่ในเยื่อแห่งเศลษม์ และเมื่ออบอุ่นด้วยความร้อนในร่างกาย
ย่อมสร้างแก๊สชนิดต่างๆ ขึ้น เมื่อย่อยไม่ดีย่อมก่อให้เกิดเชื้อชนิดต่างๆ ขึ้น ในที่สุดวัตถุที่เน่าเสียในร่างกายจะถูกส่งอออกมาอย่างลับๆ
ผู้ที่รับประทานอาหารย่อมรู้สึกมีความสุข มีความยินดี ร่าเริง และได้รับความเพลิดเพลิน ชั่วขณะนั้น เขามีความอยาก มีความโลภ
ความมัวเมา และหลง ย่อมบริโภคอาหาร ในวันแรกหน้าของเขาผิดแผกไป น่ารังเกียจ
และมีความป่วยใจ เขาย่อมปฏิเสธไม่รับประทานอาหารนั้น ในวันที่สอง หลังจากอาหารได้อยู่ภายในตัวเขาสักสองสามชั่วโมง เขาก็หมดความอยากในอาหารนั้น และรู้สึกรำคาญกับอาหารนั้น
รู้สึกละอายใจเกี่ยวกับอาหารนั้น เขาเพลิดเพลินกับอาหารที่หวาน
มีกลิ่นหอมพร้อมกับคนอื่นๆ ซึ่งเป็นอาหารที่จัดทำมาอย่างหรู
และความยากลำบาก แต่ในช่วงเวลาแห่งการขจัดกิเลส เขาต้องอยู่คนเดียว
และรูจมูกของเขา มักถูกขัดเคือง ดังนั้น โบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวไว้ว่า
“อาหารที่จัดอย่างหรูหรา เครื่องดื่มที่หวาน สิ่งอร่อยอื่นๆ ชนิดต่างๆ นำ เข้ามาข้างในทางทวารอันเดียว
(ปาก) แต่ออกไปจากทวารทั้ง ๙ คนเรารับประ ทานสิ่งเหล่านี้เข้าไปรวมๆ
กัน แต่ถ่ายออกมาแยกๆ กัน คนเรารับประทานสิ่งเหล่านี้ด้วยความเพลิดเพลิน
แต่สิ่งที่รับประทาน เข้าไปนั้นไหลออกมาอย่างน่าเกลียด
ดังนั้น พระสาวกควรพิจารณาความน่าเกลียดของอาหารที่รับประทานไปในหลายๆ วิธี
โดยกล่าวซ้ำๆ ซึ่งคำว่า “ปฏิกํ” เมื่อทำเช่นนี้
สัญญาคือการกำหนดรู้ถึงความน่าเกลียดเกี่ยวกับอาหารคือคำข้าวก็จะปรากฏชัดขึ้น
เป็นอารมณ์ของกรรมฐาน ในขณะที่เจริญต่อกันซํ้าๆ นั้น นิวรณ์ก็จะหมดไป เพราะธรรมชาติอันแท้จริงของอาหารคือคำข้าว
และเพราะความตั้งใจที่จะกำหนดรู้ถึงความน่าเกลียดของอาหารดังกล่าว
จิตจะบรรลุอุปจารฌาน สัญญาย่อมปรากฏในการยึด ความปฏิกูลที่มีในอาหารเป็นอารมณ์
และดังนั้นอารมณ์กรรมฐานข้อนี้จึงมีชื่อว่า “อาหาเรปฏิกูลสัญญา”
ผู้ที่เจริญกรรมฐานข้อนี้ย่อมปราศจากความโลภ และความทยานอยากในรส และเลี่ยงสิ่งฟ่มเพื่อยทุกอย่างที่เขารับประทานเพื่อดำรงอยู่และถือเป็นเครื่อง
ช่วยให้ปราศจากสิ่งที่ไม่ดีทั้งหลาย จากการที่เขามีพลังจิตเหนืออาหารคือคำข้าวเช่นนี้
เขาย่อมมีอำนาจเหนืออายตนะทั้ง ๕ และจากอำนาจนี้เขามีอำนาจเหนือตัณหา
และรู้แจ้งถึงธรรมชาติที่ไม่แน่นอนของปรากฏการณ์ทั้งหลาย ถ้าเขาไม่สามารถบรรลุถึงสภาพที่ไม่มีการตายในชาตินี้
เขาย่อมจะมี อนาคตอันมีความสุขด้วยผลแห่งการปฏิบัติกรรมฐานข้อนี้
No comments:
Post a Comment