บทที่ ๒๓
จตุธาตุววัฏฐานภาวนา
การเจริญกรรมฐานด้วยการกำหนดพิจารณาธาตุทั้ง ๔
อารมณ์กรรมฐานข้อนี้เป็นข้อสุดท้ายในบรรดาอารมณ์กรรมฐาน ๔๐ ประเภทที่ท่านกล่าวไว้ในพระคัมภีร์วิสุทธิมรรค
ในที่นี้ท่านให้คำจำกัดความอารมณ์กรรมฐานข้อนี้ว่า “เอกัง วะวัฏฐานัง =
การกำหนดอย่างเดียว และอธิบายโดยใช้หัวข้อว่า จตุธาตุววัฏฐาน = การกำหนด
หรือการวิเคราะห์ธาตุ ๔ ในหนังสือคู่มือพระโยคาวจร ท่านอธิบายโดยใช้ห้วข้อว่า “เอกธาตุวะวัฎฐานุสสติ”
= การระลึกถึงการกำหนดธาตุอันหนึ่ง และเป็นอนุสติข้อสุดท้ายในบรรดาอนุสติ ๑๐ อย่าง
ในพระคัมภีร์วิสุทธิมรรคท่านให้คำจำกัดความของคำว่า “วะวัฎฐาน” ว่าการตัดสินใจด้วยการพิจารณาธรรมชาติที่สำคัญของธาตุทั้งสี่
คำนี้หมายถึงสมาธิซึ่งใช้การวิเคราะห์ธาตุ
๔ ในร่างกายเป็นกรรมฐานข้อหนึ่ง จุดมุ่งหมายสำคัญของสมาธินี้ก็คือ
การทำจิตให้เป็นอิสระจากความสำคัญว่ามีตัวตนในแต่ละบุคคล
และเพื่อเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง ซึ่งธรรมชาติอันเป็นพื้นฐานของร่างกายโดยไม่คิดเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล
วิธีปฏิบัติสมาธิข้อนี้ท่านอธิบายไว้ในพระไตรปิฎกเป็น ๒ แบบ คือ
แบบย่อสำหรับผู้ที่มีสติปัญญาเฉียบแหลม และแบบพิสดารสำหรับผู้สติปัญญาทึบ
ในพระมหาสติปัฎฐานสูตร ท่านอธิบายไว้โดยย่อว่ากรรมฐานข้อนี้เป็นส่วนหนึ่งแห่ง
การพิจารณาร่างกายดังต่อไปนี้
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ถึงอย่างนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาร่างกายตามที่มันตั้งอยู่
ตามที่มันปรากฏอยู่ในส่วนที่เกี่ยวกับธาตุของมันดังนี้ว่า ร่างกายนี้มีธาตุดิน
ธาตุน้ำ ธาตุไฟ และอากาศธาตุ”
ในที่นี้ เมื่อพระสาวกถือว่าร่างกายนี้เป็นเพียงส่วนประกอบของธาตุ ๔ เท่านั้น
ดังนี้ แล้วย่อมแยกแยะและวิเคราะห์ทั้งที่มีอยู่ทั้งหลาย ซึ่งมีลักษณะเช่น เดียวกันคือ
ดิน ลม ไฟ และ อากาศ และแล้วก็เพ่งพินิจร่างกายของตนเอง
โดยพิจารณาความจริงที่มีอยู่ในร่างกายนี้ว่าไม่มี ความเป็นบุคคล หรือไม่มีทั้งที่มีตัวตนอย่างแท้จริง
มีแต่ธาตุ ๔ เท่านั้น
โดยวิธีนี้ พระสาวกผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาดย่อมคำนวณขนาดที่แท้จริงของร่างกาย
และค่อยๆ เข้าใจธาตุ ๔ ในร่างกาย เขาจะพิจารณาเห็นว่าในร่างกายนี้ ส่วนใดแข็งส่วนนั้นเป็นธาตุดิน
ส่วนที่ซึมซาบหรือเหลวเป็นธาตุน้ำ ส่วนที่ทำร่างกายให้อบอุ่นเป็นธาตุไฟ
ส่วนที่เบาหรือเคลื่อนไหวได้เป็นธาตุลม ในขณะที่เขาระลึกถึงธาตุทั้ง ๔ นั้น
ความเข้าใจเรื่อง “ข้าพเจ้า” “ของข้าพเจ้า” “ผู้ชาย” “ผู้หญิง” จะหมดไป จิตจะตั้งมั่นในความคิดที่ว่ามีเฉพาะธาตุ ๔
เท่านั้น ไม่มีความรู้สึกทางอายตนะ ไม่มีความเป็นอยู่ที่แท้จริง
ในขณะเจริญภาวนาด้วยจิตที่พิจารณาธาตุทั้ง ๔ ดังกล่าวนี้ สมาธิย่อมเกิดขึ้น ซึ่งจะเข้าใจถึงธรรมชาติของร่าง
กายที่มีธาตุ ๔ เป็นอารมณ์ อารมณ์นี้เป็นอารมณ์ที่มีความคิดเรื่องธรรมชาติของธาตุ
๔ ตามที่ปรากฏเป็นจุดยึด แต่สมาธิจะไม่สูงเกินกว่าอุปจารสมาธิ จิตที่มีสมาธิเช่นนี้ย่อมยึดธรรมชาติของธาตุชนิดต่างๆ
เป็นส่วนประกอบอันเดียวกัน และหลังจากนั้นจะนำไปสู่ปัญญาอันสมบูรณ์
รายละเอียดของสมาธินี้ ท่านกล่าวไว้ในมหาหัตถิมโทปมสูตร ธาตุวิภังค์ และใน มหาราหุโลวาทสูตรสำหรับผู้มีสติปัญญาไม่เฉียบแหลมในพระสูตรเหล่า
นี้ท่านอธิบายธาตุแต่ละอย่างไว้ ๒ ลักษณะ คือ ลักษณะภายใน และลักษณะภาย นอก
ใน ๒ อย่างนี้ธาตุ ๔ ของแต่ละบุคคลแบ่งออกเป็น ๔๒ ลักษณะ คือ ธาตุดินมี ๒๐ ได้แก่ส่วนของร่างกายที่แข็ง เริ่มต้นด้วยผมบนศีรษะ
และลงท้ายด้วยอุจจาระ ธาตุนํ้ามี ๑๒ ได้แก่ ส่วนที่เหลว เริ่มจากน้ำดี
และลงท้ายด้วยนํ้าปัสสาวะ ธาตุไฟมี ๔ คือความร้อนที่ทำให้ร่างกายอบอุ่น
ความร้อนที่เกิดจากความแก่ ความร้อนที่เกิดจากการเผาไหม้ และความร้อน
จากการย่อยธาตุลมมี ๖ ได้แก่ ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องล่าง ลมในท้อง
ลมในไส้ ลมที่ช่วยให้มีการเคลื่อน ไหวของแขนขา ลมหายใจเข้า และลมหายใจออก
ธาตุ ๔ อย่าง ของแต่ละบุคคลซึ่งกล่าวถึงได้แก่ธาตุใหญ่
๔ ธาตุ ซึ่งเรียกว่า “มหาธาตุ” พร้อมด้วยปรากฏการณ์รูปแบบต่างๆ
มหาราหุโลวาทสูตร กล่าวถึงธาตุ ๕ อย่าง ธาตุที่ ๕ ได้แก่ อากาศ ซึ่งมี ๒
ลักษณะ คือเป็นของบุคคล และไม่ใช่ของบุคคล
คำว่าอากาศสำหรับบุคคลใช้กับอวัยวะที่มีช่องว่าง เช่น ปาก รูจมูก หู เป็นต้น
ซึ่งเรียกว่า “อุปาทารูป” ซึ่งสร้างขึ้นโดยส่วนประกอบของธาตุ ๔ อย่างอื่น
หรืออาศัยส่วนประกอบของธาตุ ๔ อย่างอื่น
ข้อนี้รวมถึงช่องว่างระหว่างส่วน ๒ ส่วนของร่างกายด้วย ซึ่งเรียกว่า “ปริจเฉทรูป”
ซึ่ง ได้แก่ ช่องว่างโดยรอบหรือส่วนแยกของรูปที่มองเห็นธาตุ ๔ หรือธาตุ ๕ เหล่านี้
ท่านให้ไว้เพื่อเป็นอารมณ์กรรมฐานประเภทหนึ่ง
ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับอรูปกรรมกรรมฐาน อย่างไรก็ตาม ในธาตุวิภังคสูตร
ท่านกล่าวอธิบายธาตุไว้ ๖ อย่าง ธาตุที่ ๖ เป็นวิญญาณธาตุ
ซึ่งท่านกำหนดให้เป็นอารมณ์กรรมฐานที่ว่าด้วยอรูปกรรมฐาน
ตามวิธีที่ท่านอธิบายไว้อย่างละเอียดนั้น พระสาวกที่สติปัญญาน้อย แต่ปรารถนาจะเจริญกรรมฐาน
ควรศึกษาธาตุทั้ง ๔ อย่างละเอียด จากประเด็นต่างๆ ๓๒ ประการ
หลังจากได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ของเขาในขณะที่อาศัยอยู่ในที่อยู่ที่เหมาะสมแห่งหนึ่งตามที่ได้อธิบายไว้แล้วข้างบนนี้
และหลังจากที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ของตนทุกอย่างแล้ว พระสาวกควรหลีกเลี่ยงไปอยู่ ณ
ที่ที่เหมาะสมและที่วิเวก และเจริญกรรมฐานข้อนี้เป็น ๔ แนว ดังนี้
๑ พิจารณาส่วนประกอบของธาตุ ๔
โดยวิธีสงเคราะห์ (รวบรวม)
๒ พิจารณาส่วนประกอบของธาตุ ๔
โดยวิธีวิเคราะห์ (แยกแยะ)
๓ พิจารณาลักษณะของธาตุ ๔ โดยวิธีสงเคราะห์
(รวบรวม)
๔ พิจารณาลักษณะของธาตุ ๔
โดยวิธีวิเคราะห์ (แยกแยะ)
๑ เมื่อดำเนินการตามวิธีที่ ๑ ใน ๔
วิธีข้างบนนี้ พระสาวกย่อมพิจารณาเห็นว่าส่วนของร่างกายที่มีลักษณะแข็งจำนวน ๒๐
ส่วนจัดเป็นธาตุดิน ส่วนที่มีลักษณะเปียกชื้น ๑๒ ส่วน จัดเป็นธาตุน้ำ
ส่วนที่มีความร้อนซึ่งทำให้บุคคลมีความเป็นผู้ใหญ ๔ ส่วน จัดเป็นธาตุไฟ
คุณลักษณะส่วนที่เบาและเคลื่อนไปในส่วนต่างๆของร่างกาย ๖ส่วนจัดเป็นธาตุลม
ในขณะที่พิจารณาอยู่เช่นนี้ธรรมชาติที่เป็นพื้นฐานของร่างกาย ย่อมปรากฎขึ้นและขจัดเสียซึ่งความคิดเรื่องตัวตน
ใน ขณะที่พระสาวกส่งจิตไปจดจ่ออยู่กบธาตุ ๔ อย่างในลักษณะไม่ขาดสาย
อุปจารฌานย่อมเกิดขึ้นโดยวิธีที่ได้อธิบายแล้วบ้างบนนี้
๒ ถ้าอารมณ์กรรมฐานไม่ประจักษ์แจ้งในวิธีที่
๑ พระสาวกควรพิจารณาธาตุทั้ง ๔ วิเคราะห์และแบ่งส่วนประกอบของธาตุเหล่านั้น
เกี่ยวกับธาตุ ๒ อย่างแรก ควรพิจารณาอาการ ๓๒ ในร่างกายตามที่กล่าวแล้วในตอนที่ว่าด้วยกายคตาสติกรรมฐาน
กำหนดว่าแต่ละส่วนไม่มีวิญญาณ และไม่มีบุคคลตัวตนที่แท้จริง โดยทำนองเดียวกัน
พระสาวกควรวิเคราะห์และ พิจารณาส่วนประกอบของธาตุ ๒ อย่างที่เหลือว่าปราศจากวิญญาณ
และไม่มีความเป็นบุคคลตัวตนที่แท้จริง เป็นเพียงธาตุที่ประกอบกันเป็นร่างกายเท่านั้น
ในขณะที่ตั้งจิตกำหนดเช่นนี้ ลักษณะของธาตุตามธรรมชาติย่อมปรากฎในตัวมันเอง และจิตก็จะเข้าส่อุปจารฌาน
๓ ในวิธีที่ ๓
พระสาวกควรเจริญกรรมฐานโดยพิจารณาอย่างย่อๆ ซึ่งธาตุ ๔ เหล่านั้น
ควรพิจารณาเห็นว่าในส่วนของร่างกาย ๒๐ ส่วน ส่วนที่มีลักษณะแข็งเป็นธาตุดิน ส่วนที่มีลักษณะอ่อนเป็นธาตุน้ำ
ส่วนที่มีลักษณะทำให้เกิดความแก่เป็นธาตุไฟ และส่วนที่มีลักษณะประคับประคองและเคลื่อนไหว
เปีนฺธาตุลม ในส่วนที่เป็นของเหลวในร่างกาย ๑๒ ส่วน
พระสาวกควรพิจารณาเห็นว่าลักษณ์ะที่อ่อนจัดเป็นธาตุน้ำ ลักษณะทำให้เกิดความร้อนจัดเป็นธาตุไฟ
ลักษณะที่สนับสนุนเป็นธาตุลม และลักษณะที่แข็งเป็นธาตุดิน
ในหมวดธาตุไฟ ๔ หมวด พระโยคาวจรควรพิจารณาเห็นว่า ธาตุที่มีลักษณะน้ำไปสู่ความแก่จัดเป็นธาตุไฟ
ธาตุที่มีลักษณะสนับสนุนซึ่งแยกแยะมิได้จัดเป็นธาตุลม
ธาตุที่มีลักษณะอ่อนจัดเป็นธาตุน้ำ ธาตุที่มีลักษณะแข็งเป็นธาตุดิน
ในธาตุลมซึ่งมี ๖ หมวด พระสาวกควรพิจารณาเห็นว่าธาตุที่มีลักษณะไหลและประคับประคองจัดเป็นธาตุลม
ธาตุที่มีลักษณะแข็งแยกแยะไม่ได้จัดเป็นธาตุดิน ธาตุที่มีลักษณะนำไปสู่ความแก่จัดเป็นธาตุไฟ
ธาตุที่มีลักษณะอ่อนจัด เป็นธาตุนํ้า ในขณะที่พิจารณาอยู่อย่างนี้ ธาตุทั้งหลายย่อมปรากฏเป็นธาตุในตัวเอง
และจิตย่อมบรรลุอุปจารฌาน
๔ ในวิธีที่ ๔ พระโยคาวจรควรเจริญกรรมฐานโดยการขยายและแบ่งลักษณะของธาตุ ๔ ด้วยวิธีต่อไปนี้ในอาการ
๓๒ แต่ละอย่างในร่างกายนี้พระโยคาวจรควรพิจารณาเห็นเป็นธาตุ ๔ ควรพิจารณาเห็นลักษณะที่แข็ง อ่อนแก่และประคับประคองในผมว่าเป็น
ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ ตามลำดับ ดังนั้นจึงควรพิจารณาเห็นธาตุทั้ง ๔ ในทุกๆ ส่วนและ ทุกๆ หมวดในร่างกาย เมื่อปฏิบัติได้ดังนี้ ธาตุย่อมปรากฏแก่ พระสาวกเป็นธาตุ
โดยปราศจากความคิดที่ว่าเป็นตัวตนของแต่ละบุคคล และจิตย่อมบรรลุอุปจารฌาน อนึ่ง ควรพิจารณาธาตุ ๔ตามวิธีต่อไปนี้
๑ ตามความหมายของคำ
๒ ตามกลุ่ม
๓ ตามส่วนประกอบ
๔ ตามลักษณะทั่วไป (จุดประสงค์ ปรากฏการณ์)
๕ ตามแหล่งกำเนิด
๖ ตามลักษณะที่ต่างกันและเหมือนกัน
๗ ตามลักษณะที่แบ่งแยกได้ และแบ่งแยกไม่ได้
๘ ตามลักษณะที่คล้ายกัน และไม่คล้ายกัน
๙ ตามลักษณะภายในและลักษณะภายนอก
๑๐ ตามลักษณะที่สนับสนุนกัน
๑๑ ตามลักษณะที่เป็นปรากฏการณ์ที่ปราศจากวิญญาณ
๑ ตามความหมายของคำ ดินท่านเรียกว่า ปฐวี ในความหมายที่ว่า “แผ่กว้าง” นํ้า ท่านเรียก อาโป ในความหมายว่า “เคลื่อนไหวได้เร็ว” หรือ “เจริญได้”
ไฟท่านเรียกว่า “เตโช” ในความหมายที่ว่า “ร้อน” ลมท่านเรียกว่า “วาโย”
ในความหมายว่า “พัดไป” ทุกคำรวมอยู่ในคำว่า “ธาตุ” เพราะในที่สุด
สิ่งเหล่านี้ย่อมปราศจากตัวตน บุคคล เราเขา และเพราะ ธาตุเหล่านี้ก่อให้เกิดทุกข์
๒ ตามกลุ่ม ปฐวีธาตุ มี๒๐ กลุ่ม
ผมบนศีรษะเป็นต้น อาโปธาตุมี ๑๒ กลุ่ม มีน้ำดี เป็นต้น ในเรื่องนี้ท่านกล่าวไว้ดังนี้
เมื่อสภาพ ๘ อย่าง คือ สี, กลิ่น, รส, แก่น (สาร) และธาตุ รวมตัวกัน เราก็
สมมุติเรียกกันว่า “เส้นผม”
เมื่อแยกแยะออกแล้ว ไม่มีผมปรากฏเลย
ดังนั้น คำว่า “ผม” เป็นเพียงการรวมตัวกันแห่งสภาพ ๘ อย่าง ส่วนอื่นๆ
ของร่างกาย ก็เป็นเช่นเดียวกันกับผม เมื่อแต่ละส่วนของร่างกายมาร่วมกันโดยมีชีวิตินทรีย์
และสภาพแห่งความเป็นอยู่ จึงพิสูจน์ว่ามีเพียงการรวมกันแห่งภาวะ ๑๐ อย่างเท่านั้น เมื่อพิจารณาอย่างสมบูรณ์
ส่วนเหล่านี้เรียกว่าปฐวีธาตุ และอาโปธาตุ เป็นต้น ดังนั้นพระสาวกควรพิจารณาธาตุเหล่านี้
เป็นหมวดๆ
๓ ตามส่วนประกอบ
ร่างกายนี้ประกอบด้วยส่วนย่อยๆ ต่างๆ นับไม่ถ้วนในรูปแบบเป็นเซล
และเป็นกล้ามเนื้อซึ่งเป็นปฐวีธาตุ สามารถลดลงเป็นส่วนที่เล็กที่สุด และเป็นฝุ่นที่
ละเอียดที่สุด ส่วนเหล่านี้มีอาโปธาตุผสมอยู่
มีเตโชธาตุควบคุมไว้ เพราะมีวาโยธาตุประคับประคองไว้เช่นนี้ จึงไม่กระจัดกระจาย
ไม่ถูกทำลาย ไม่เป็นอัมพาต เมื่อมีส่วนประกอบเช่นนั้น จึงเกิดมีความเข้าใจว่า “ผู้ชาย”
“ผู้หญิง” ปรากฏในรูปต่างๆ กัน เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง สูงบ้าง ต่ำบ้าง แข็งบ้าง
อ่อนบ้าง
อาโปธาตุเมื่อประกอบอยู่ในร่างกายและเป็นของเหลวอีกทั้งมีอำนาจในการต่อเชื่อมจึงมีอยู่ในโลก
มีไฟคุ้มกัน มีลมประคับประคอง และดังนั้นจึงไม่หยด จึงไม่ไหลไป
เมื่อไม่หยดไม่ไหลไป น้ำย่อมสร้างเนื้อหนังคือลักษณะรูปร่างทั้งหมดขึ้นมา
ธาตุไฟซึ่งมีลักษณะร้อน ตั้งอยู่ในธาตุดิน มีน้ำยึดให้ติดอยู่ด้วยกัน
มีลมเป็นเครื่องประคับประคอง ย่อยสิ่งที่คนรับประทานและดื่มเข้าไป ย่อมทำให้ร่าง กายเจริญเต็มที่
และเป็นเหตุแห่งความงามของร่างกายท ร่างกายนี้เพราะมีไฟเป็นเครื่องทำให้เจริญเต็มที่
จึงไม่แสดงร่องรอยแห่งความเน่าเปื่อย ธาตุลม เพราะมีคุณสมบัติเคลื่อนไหวและประคับประคอง
ซึ่งตั้งอยู่ในธาตุดิน มีน้ำเป็นเครื่องยึดเหนี่ยว มีไฟเป็นเครื่องป้องกัน
ไหลผ่านไปตามส่วนต่างๆของร่างกายด้วยกระแสโลหิต ย่อมประคับประคองร่างกาย เมื่อมีลมประคับประคอง
ร่างกายย่อมตั้งตรงและไม่ล้มลงเพราะมีธาตุลมอีกส่วนหนึ่งทำให้หวั่นไหว
ธาตุลมนี้ย่อมช่วยให้ร่าง กายเดิน ยืน นั่ง นอนได้ ธาตุลมนี้ย่อมทำให้ร่างกาย งอ เหยียด
และทำงานพร้อมกับมือและเท้า ในทำนองนี้ ย่อมเกิดเครื่องจักรกลขึ้น
ซึ่งประกอบด้วยธาตุต่างๆ เช่นเดียวกับกลโกง ซึ่งหลอกล่อคนโง่ด้วยการเปลี่ยนลักษณะความเป็น
ผู้ชายและความเป็นผู้หญิง ดังนั้น
พระสาวกควรพิจารณาธาตุ ๔ ว่าเป็นส่วนประกอบของส่วน ย่อยทั้งหลาย
๔ ตามลักษณะทั่วไป ความแข็งเป็นลักษณะของปฐวีธาตุ
จุดประสงค์ของปฐวีธาตุ ก็เพื่อเป็นที่พักของภาวะที่สัมปยุตกัน (มีพร้อมกัน)
การรับซึ่งภาระเหล่า นั้นจัดเป็นปรากฏการณ์ของปฐวีธาตุ การไหวหรือการหยดเป็นลักษณะของอาโป
ธาตุ การเจริญเติบโตเป็นจุดประสงค์ของอาโปธาตุ การรวมกัน หรือการซึมซาบเป็นปรากฏการณ์ของอาโปธาตุ
เตโชธาตุมีลักษณะร้อน จุดประสงค์ของเตโช ธาตุคือ
การนำไปสู่ความเจริญ เติบโต การก่อให้เกิดความมีภาวะที่อ่อนและนิ่มเป็นปรากฏการณ์ของเตโชธาตุ
การพองขึ้นเป็นลักษณะของวาโยธาตุจุดประสงค์ของวาโยธาตุ คือการประคับประคองธาตุที่มีพร้อมกัน
การไหลไปมาเป็นปรากฏ การณ์ของวาโยธาตุ
๕ ตามแหล่งกำเนิด ในบรรดาส่วนต่างๆ ๔๒
ส่วน ของธาตุ ๔ นั้น ท้อง, อุจจาระ,หนอง, และปัสสาวะ เกิดจากฤดู นํ้าตา เหงื่อ
นํ้าลาย และน้ำมูก เกิดจากฤดูและวิญญาณ ความร้อนเกิดจากกรรม ลมหายใจ เกิดจากวิญญาณที่เหลือทั้ง
หมดเกิดจากแหล่งกำเนิด ๔ อย่าง คือกรรม วิญญาณ ฤดู และอาหาร ควรพิจารณาแหล่งกำเนิดของธาตุ
๔ ด้วย ประการฉะนี้
๖ ตามลักษณะที่ต่างกันและเหมือนกัน ธาตุทั้งหมดต่างกันโดยลักษณะนี้ จุดประสงค์ ปรากฏการณ์แหล่งกำเนิด
แต่เหมือนกันโดยเป็นรูปธรรม เป็นมูลราก เป็นเบื้องต้น เป็นสภาพ เป็นสิ่งไม่มั่นคง
และอื่นๆ
ธาตุทั้งหมดเป็นรูปธรรมเพราะก่อให้เกิดสิ่งรบกวน และปรากฏเป็นรูป ร่างที่แปลกประหลาด
ธาตุเหล่านี้มีชื่อว่า มหาภูต (ซึ่งตามรูปศัพท์แปลว่า ปรากฏ การณ์อันยิ่งใหญ่)เพราะว่าธาตุเหล่านี้แสดงตัวเองให้ปรากฏโดยการเปลี่ยนสภาพ
อย่างใหญ่หลวง และกิจกรรมตามธรรมชาติในฐานะเป็นโลกที่มีปรากฏการณ์อันกว้างขวาง
ธาตุเหล่านี้เรียกว่า “มหาภูต” ด้วย เพราะรูปลักษณะของมันแตกต่างจากธรรมชาติที่แท้จริงของมันเปรียบประดุจนักเล่นกล
เขาจะเอาน้ำมาทำให้เป็นแก้วมณีในเมื่อมันไมใช่แก้วมณี นำหินมาทำเป็นทอง
ในเมื่อมันไม่ใช่ทอง แสดงตัวเองเป็นยักษทั้งๆ ที่ความจริงเขาไม่ใช่ยักษ์ ฉันใด
ธาตุทั้ง ๔ อย่างเหล่านี้ก็ฉันนั้น แม้ว่าจะไม่ใช่สีคราม แต่ก็ย่อมปรากฏเป็นวัตถุมีสีคราม
และแม้จะไม่ใช่สีเหลือง ไม่ใช่สีแดง ไม่ใช่ขาว แต่ก็ปรากฏเป็นสีเหล่านี้และแม้จะไม่ใช่มนุษย์หรือสัตว์ในข้อเท็จจริง
แต่ธาตุเหล่านี้ย่อมปรากฏในรูปเหล่านี้ (คือรูปมนุษย์และสัตว์)
ธาตุเหล่านี้ทั้งหมดเป็นธาตุเพราะมีอยู่โดยอาศัยพลังแห่งความเป็นอยู่ของตนเอง
ทรงไว้ซึ่งลักษณะแห่งความที่เป็นธาตุอันกว้างใหญ่ ปราศจากความจริงที่แท้จริง
ปราศจากความเป็นปัจเจกชน
เพราะธาตุเหล่านี้มีธรรมชาติของตนเอง และตั้งอยู่ชั่วขณะของตน จึงเรียกว่า “ธรรม”
คือภาวะ, เพราะธาตุเหล่านี้จะต้องเสื่อมสลายไป จึงเรียกว่า “อนิจจา” คือความไม่เที่ยง, เพราะธาตุเหล่านี้เป็นสภาพมีอันตราย
จึงเรียกว่า “ทุกข์” คือเป็นความเดือดร้อน, เนื่องจากธาตุเหล่านี้ไม่มีตัวตน
จึงเรียกว่า “อนัตตา” คือไม่ มีตัวตน ด้วยเหตุนี้ธาตุทั้งหมดจึงเป็นหนึ่งในเรื่องความเป็นรูป
เป็นมูลราก เป็นเบื้องต้น เป็นภาวะ ไม่ถาวร เป็นต้น และธาตุเหล่านี้ย่อมแตกต่างกัน
ในเรื่องลักษณะ เป็นต้น ดังนั้น พระสาวกควรเพ่งพิจารณาธาตุเหล่านี้
โดยการพิจารณาถึง ความแตกต่างและความเป็นหนึ่งของมัน
๗ ตามลักษณะที่แบ่งแยกได้และแบ่งแยกไม่ได้ เพราะธาตุเหล่านี้เกิดขึ้นพร้อมกับธาตุเหล่านี้จึงแบ่งแยกไม่ได้ เพราะคุณสมบัติ
๔ อย่างเหล่านี้ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ อย่างแท้จริง คือ สี กลิ่น รส แก่นสาร
การขยาย การซึมซาบ ความร้อน และความเคลื่อนไหว แต่
ธาตุเหล่านี้แบ่งแยกได้ในเรื่องลักษณะของมัน
ธาตุทั้งหลายควรได้รับการพิจารณาว่าแบ่งแยกได้ และแบ่งแยกไม่ได้ด้วยประการฉะนี้
๘ ตามลักษณะคล้ายกันและไม่คล้ายกัน ธาตุ ๒ อย่างแรกมีลักษณะคล้าย กันในเรื่อง ความหนัก และธาตุ ๒
อย่างหลังมีลักษณะคล้ายกันในเรื่องความเบา ธาตุ ๒ อย่างแรกไม่เหมือนกับธาตุ ๒
อย่างหลังและธาตุ ๒ อย่างหลังไม่เหมือน กับธาตุ ๒ อย่างแรก
พระสาวกควรเพ่งพิจารณาธาตุเหล่านี้ว่าคล้ายกัน และไม่คล้ายกันด้วยประการฉะนี้
๙ ตามลักษณะภายในและลักษณะภายนอก ธาตุทั้งหลายซึ่งเป็น มูลฐาน แห่งอายตนะภายในหกอย่างคืออวัยวะรับความรู้สึก ๕
อย่าง (ตา หู จมูก ลิ้น กาย) และอวัยวะ คือจิต ซึ่งรวมกับอินทรีย์คำพูด การกระทำ
และซึ่งเกิดจากกรรม วิญญาณ ฤดู และอาหาร จัดเป็นธาตุที่มีในภายใน อื่นๆ
เป็นธาตุที่มีอยู่ภายนอก เขา ควรพิจารณาธาตุทั้งหลายว่ามีลักษณะภายใน และภายนอก
ด้วยประการฉะนี้
๑๐ ตามลักษณะที่สนับสนุนกัน
ธาตุดินซึ่งติดกันอยู่โดยอาศัยธาตุน้ำ มีธาตุไฟเป็นตัวคุ้มครอง
มีธาตุลมเป็นตัวสนับสนุนนั้นเป็นที่อยู่ของธาตุ ๓ อย่างที่เหลือ ธาตุน้ำซึ่งอยู่บนดินมี
ธาตุไฟเป็นตัวคุ้มครอง มีธาตุลมเป็นตัวสนับสนุนนั้นเป็นสาเหตุที่ผูกมัดธาตุอื่นๆ
นอกจากนี้ไว้ด้วยกัน ธาตุไฟซึ่งอยู่บนธาตุดิน มีธาตุน้ำยึดให้ติดกัน
มีธาตุลมเป็นตัวสนับสนุนนั้นย่อมเป็น สาเหตุที่ทำให้ธาตุอื่นๆ ๓ อย่างนอกนี้เจริญเติบโต
ธาตุลมซึ่งบนธาตุดิน มีธาตุน้ำยึดให้ติดกัน มีธาตุไฟเป็น ตัวทำให้เจริญนั้น
เป็นสาเหตุสนับสนุนธาตุอื่นๆ ๓ อย่างนอกนี้
ดังนั้น ควร พิจารณาเห็นว่าธาตุเหล่านี้สนับสนุนกันและกัน
๑๑ ตามลักษณะที่เป็นปรากฏการณ์ที่ปราศจากวิญญาณ ธาตุดิน ย่อมไม่ รู้ว่า “ข้าพเจ้า เป็นดิน” หรือ “ข้าพเจ้าเป็นที่พักของธาตุอื่นๆ” อีกทั้งธาตุอื่นๆ ที่
เหลือก็ไม่รู้ว่า “ธาตุดินเป็นที่อยู่ของเรา” ธาตุอื่นๆ ทุกอย่างก็เช่นเดียวกับธาตุดิน
ดังนั้นธาตุทั้งหลายจึงจัดเป็นสิ่งที่ไม่มีวิญญาณ
ในขณะที่พระสาวกใช้วิธีพิจารณาเหล่านี้ในธาตุอย่างหนึ่ง ธาตุทั้งหลายจะปรากฏเป็นอารมณ์ของกรรมฐาน
และเมื่อ เขาเพ่งจดจ่ออยู่ที่ธาตุหนึ่งๆ นั้น อุปจารฌานย่อมเกิดขึ้น
อุปจารณานนี้ย่อมเข้าใจธรรมชาติของธาตุทั้งหลายในร่างกายของมนุษย์อุปจารฌานนี้ ซึ่งเกิดขึ้นโดยอาศัยพลังแห่งความรู้ซึ่งเข้าใจธาตุทั้ง
๔ นี้ เรียกว่า “ธาตุอวัฎฐาน” ซึ่งแปลว่าการกำหนดธาตุทั้ง ๔ พระสาวกผู้อุทิศ ตนเองเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานนี้จะรู้แจ้งถึง
ความไม่มีอะไรจะทำลายเสีย ซึ่ง ความคิดที่ว่า มีตัวตน บุคคล เรา เขา และแล้วจะเป็น ผู้ใม่มี ความยึดมั่น ถือมั่น
ดังนั้นเขาจะเอาชนะความกลัวและอันตรายได้
จะเอาชนะความไม่พอใจและความปรารถนาในทางโลกได้ และจะไม่ยินดีสิ่งที่น่าปรารถนา
และไม่ยินร้ายสิ่งที่ไม่น่าปรารถนา เขาจะเป็นบุคคลผู้ยิ่งใหญ่ในเรื่องปัญญา เป็นที่แน่นอนว่าเขาจะได้รับสภาพที่ไม่มีการตายและจะมีจุดหมายปลายทางซึ่งมีความสุข
สมาธิในอรูปฌานตามที่ท่านจัดไว้ในระบบกรรมฐานภาวนาก็จบ ลงเพียงเท่านี้แล
ขบวนการเจริญรูปฌานตามหลักจิตวิทยา
ในตอนเริ่มต้นแห่งขบวนการฝึกจิตซึ่งนำมาซึ่งฌานจิตธรรมดา ซึ่งพิจารณาปฏิภาคนิมิตจะตกอยู่ในภวัง
คือการไหลไปอย่างช้าๆ ของสิ่งมีชีวิต หรือความสืบเนื่องแห่งชีวิต ในขณะนี้ อาจปรากฏว่า
“อัปปนาจะเกิดขึ้น”
เป็นนิยมทางจิตที่ว่า ในตอนสุดท้ายของกิจกรรมทางจิตหรือขบวนการคิดทุกอย่าง จิตย่อมเปลี่ยนไปสู่สภาพปกติดั้งเดิมของมัน
ซึ่งนักจิตวิทยาฝ่ายพระ พุทธศาสนาเรียกว่า “ภวังคจิต” พระอรรถกถาจารย์อธิบายคำนี้ว่า
“ภะวัสสะ อังคัม” หมายถึง การณะ ได้แก่สาเหตุแห่งความสืบต่อแห่งชีวิต คำว่า “ภวะ”
ได้แก่ความเป็นอยู่หรือความมีอยู่
ในแง่ของชาวพุทธ ความเป็นอยู่แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ กามภพ ได้แก่ความเป็นอยู่ที่มีกระตือรือร้น
และอุปปัติภพ ได้แก่ความเป็นอยู่ที่ขาดความกระตือรือร้นประเภทหลัง
อาศัยการไหลแห่งกระแสจิต ซึ่งได้มาจากชนกกรรมในอดีต
ซึ่งบันดาลให้ความเป็นอยู่มีระยะเวลานานตลอดเวลาที่อำนาจของกรรมนั้นยังไม่ถูกทำลาย
หรือยังไม่หมดไป จิตที่มีสภาพเช่นนี้
ซึ่งมีกรรมในอดีตเป็นพื้นฐาน เป็นเหตุแห่งการเป็นอยู่ในปัจจุบัน
และดังนั้นจึงมีชื่อว่า “ภวังค์” คำนี้ต่าง จากกรรมภพ ซึ่งหมายถึงชีวิตปัจจุบันที่มีความกระตือรือร้น
ซึ่งขบวนความคิดของเรา เป็นส่วนหนึ่งแห่งชีวิตปัจจุบันนี้
ในความหมายที่สอง คำว่า “ภวังค์” หมายถึงสภาพของจิตซึ่งเปรียบเทียบกับสิ่งที่เรียกว่า
“จิตใต้สำนึก” ซึ่งหมายถึงสภาพแห่งความคิด ซึ่งอยู่ใต้ขอบเขตแห่งความสำนึกเต็มรูปแบบ
ดังนั้น จึงสอดคล้องกับสิ่งที่เรียกว่า “วิญญาณวิเศษ”
แต่อย่างไรก็ตามในพระพุทธศาสนา ภวังค์ไม่เหมือนกับความคิด
แม้ว่าความคิดจะเกิดมาจากภวังค์ก็ตาม ด้วยเหตุนี้จึงเรียกชื่อว่า “วีถีมุตตะ” คือพ้นวิถี
ดังนั้นจึงเปรียบเทียบกับ วีถิจิตตะ คือจิตที่อยู่ในวิถี
ซึ่งได้แก่จิตที่คล่องแคล่ว
ภวังค์ซึ่งปรากฏเป็นกระแสแห่งความเป็นอยู่ เรียกว่า ภวังค์โสตะ
และเมื่อกระแสดังกล่าวเกิดขึ้นในอาวัชชนะ คือการรับทราบโดยตรง จิตย่อมเข้าไปสู่วิถีแห่งความคิด
และดังนั้น จึงมีชื่อว่า “วีถิจิตตะ”
เมื่อจิตก้าวสู่ภวังค์ในสภาพของอัปปนาสมาธิ จิตจะได้รับการกระตุ้นด้วยพลังแห่งเจตนาในอดีต
เกิดขึ้นและทำลายกระแสของมันผ่านกระบวนการทางจิตตามปกติ
ข้อนี้ได้รับอิทธิพลจากการเคลื่อนไหวไปมาทางร่างกาย ซึ่งเกิดขึ้นจากพลังแห่งชีวิต
ขบวนการข้อนี้ประกอบด้วยขณะจิต ๓ ขณะ ขณะจิตอันแรกเรียก
ว่า อดีตขณะ คือขณะจิตที่ภวังค์ผ่านไป ขณะจิตที่ ๒ เรียกว่า จลนะ คือการเคลื่อน ไหว
และขณะจิตที่ ๓ เรียกว่า อุปัจเฉทะ คือการตัดกระแสแห่งจิต ในตอนสิ้นสุดแห่งขณะจิตที่
๓ กระแสภวังค์ได้รับการตรวจสอบ และจิตซึ่งได้รับอิทธิพลอย่างเต็มที่จาก ปฏิภาคนิมิต
อันเกิดจากปฐวีกสิณย่อมปรากฏขึ้น และยอมรับรู้โดย
ผ่านมโนทวาร
โดยเหตุที่จิตขั้นนี้เป็นจิตที่ปราศจากนิวรณ์ และไม่มีความสนใจอันเกิดจากอารมณ์ภายนอก
จึงไม่เกี่ยวข้องกับขณะจิตตามปกติ
ซึ่งเป็นการรับรู้ทางกามารมณ์ ดังนั้นจึงเกิดมีขณะจิตเพียง ๔หรือ ๕ ขณะจิตเท่านั้น
เรียกว่าชวนะ ซึ่งเป็นขณะจิตที่ประกอบด้วย วิตก, วิจาร, ปิติ, สุข และเอกัคคตา ชวนะนี้มีพลังมากกว่าวิญญาณธรรมดา
ท่านจึงเรียกชวนะนี้ว่า “อัปปนาวีถิ” ซึ่งได้แก่ขบวนการยกระดับจากวิญญาณธรรมดา เป็นวิญญาณเหนือธรรมดา ชวนะแรกของขบวน การนี้ท่านเรียกว่า “บริกรรม”
คือขบวนการขั้นต้น ที่ท่านเรียกดังนั้นเพราะว่าชวนะนี้เตรียมจิตเพื่อก้าวไปสู่ขั้นฌาน
ชวนะที่สองเรียกว่าอุปจาร แปลว่าเข้าใกล้ หรือเข้าไปหา ในระหว่างนี้
จิตตามสภาพธรรมดาจะเข้าไปใกล้ฌาน ต่อไปจะเป็นชวนะเป็นจิตที่ ๓ คืออนุโลม แปลว่า
ปรับเข้าหากัน ซึ่งในระหว่างนี้จิตจะมีคุณสมบัติเหมาะสมกันฌานจากนั้นจะถึงชวนะจิตที่เรียกว่า
“โคตรภู” แปลว่าการนำมาใช้ ซึ่งยกฐานะของจิตธรรมตาไปสู่ฐานะเหนือธรรมดา สามารถตัดเสียซึ่งวิญญาณในกามาวจรภูมิ
และพัฒนารูปฌานที่มีวิญญาณสูงขึ้น ในที่สุดก็จะเกิดขณะจิตขึ้น เรียกว่า “อัปปนา”
หรือขั้นเปลี่ยนแปลง ซึ่งในระหว่างนี้ฌานย่อมเกิดขึ้นด้วย
ในกรณีที่แบ่งเป็น ๔ ขณะจิต ซึ่งเกิดขึ้นแก่ผู้มีความรู้เร็ว
ย่อมไม่มีขณะแห่งการบริกรรม ดังนั้น
พระโยคาวจรจะเริ่มทันทีด้วยขณะแห่งอุปจาร และในระหว่างแห่งขณะจิตที่ ๔ เขาย่อมได้บรรลุอัปปนาฌาน
หลังจากอัปปนาชวนะ คือหลังจากขณะจิตที่มีณาน จิตย่อมเจ้าสู่ภวังค์ทันที ในขณะที่ตัดกระแสแห่งภวังค์ออกไปนั้น
การรับรู้ทางจิตย่อมเกิดขึ้นเพื่อระลึกถึงฌาน
และขบวนการแห่งการระลึกฌานย่อมเกิดตามมา ตารางที่ให้ไว้ข้างลางนี้จะช่วยอธิบายถึง
ตำแหน่งแห่งจิตในขบวนการอัปปนาที่กล่าวข้างบนนี้
ก. หมายถึงกรรม, กน. หมายถึง กรรมนิมิต, คน.
หมายถึงคตินิมิต นิมิตอย่างหนึ่งในบรรดานิมิตเหล่านี้เป็นอารมณ์
ซึ่งกระแสภวังค์ที่หมายด้วยวงกลมหรือ o นั้น มีอารมณ์ดังกล่าวเป็นพื้นฐาน, ภ. หมายถึงภวังค์จิต, ล. หมายถึงการไหลเวียน ด. หมายถึงการตัดกระแสภวังค์, ม. หมายถึงการรับรู้ทางมโนทวาร, ป. หมายถึงการบริกรรมที่อุ. หมายถึงอุปจาร,
อ. หมาย ถึงอนุโลม, โค. หมายถึงโคตรภู, อัป. หมายถึง อัปปนา หรือ ฌาน, ขขข ในบรรทัดนี้ หมายถึง
ขบวนการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพของขณะจิต, ๕ (คือตั้งแต่ขณะที่ ๖ ถึงขณะที่ ๑๐)
สภาพของแต่ละจิตประเภทมี ๓ ขณะ คือ อุปปาท (เกิดขึ้น), ฐิติ (ตั้งอยู่), ภังคะ (ดับไป)
ซึ่งมีสัญ ลักษณ์ว่า ๐๐๐ ตามลำดับ, เส้น “.......” หมายถึง หทัยวัตถุ คือพื้นฐานแห่งขบวน การทางจิตในรูปาวจรฌาน
จุดที่ไม่ได้หมายด้วยตัวเลข แสดงถึงกระแสแห่งภวังค์ซึ่งไหลไปอย่างต่อเนื่อง ก่อนจะถึงเส้นที่ไม่มีเลขหมายนั้น
เลขที่ ๑หมายถึงจุดที่จะนับขบวนการ มี ๑๗
ขั้น แต่ละขั้นมี ๓ ขณะ ดังนั้น ขบวนการที่ครบถ้วนอัน หนึ่งย่อมประกอบด้วยขั้นทั้งหมด
๑๗ ขั้น และ ๕๑ขณะ ซึ่งโดยแท้จริงแล้วจะมีน้อยกว่าส่วนที่ล้านของ ๑ วินาที
ในที่ที่ไม่มีความคิด ขณะจิตทั้งหลายจะเพียบ พร้อมไปด้วยสภาพแห่งภวังค์
ก.....ก หมายถึง กระแสแห่งภวังค์ในขั้นกามาวจร
ข.....ข หมายถึง กระแสภวังค์ซึ่งมีฌานในรูปภพตามลำดับเป็นพื้นฐาน
ซึ่งผู้ได้ฌานจะถือกำเนิดในชาติหน้าในรูปภพนี้เอง
No comments:
Post a Comment