บทที่ ๒๐
การเจริญพรหมวิหาร
รูปแบบการเจริญสมาธิที่เรียกว่าพรหมวิหารภาวนาได้รับการยกย่องว่าเป็นศูนย์กลางในสายการฝึกจิตในพระพุทธศาสนา
การเจริญภาวนาโดยพิจารณาพรหมวิหาร หมายถึงการ สร้างความรู้สึกที่สูงส่ง ๔ อย่างให้เกิดมีขึ้นในจิต
คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการฝึกฝนอบรมตนทางพระพุทธศาสนาของพระอริยสาวกแต่ละคน
ในแง่ของจริยธรรม หลัก ๔ อย่างนี้ เน้นรากฐานทางศีลธรรมทุกรูปแบบในชีวิตของผู้ประพฤติพรหมจรรย์และถือว่าเป็นหลักที่จำเป็นในการพัฒนาจิต
ในรายชื่ออารมณ์ ๔
อย่างที่ท่านกำหนดไว้ว่าเป็นกรรมฐานซึ่งท่านอธิบายไวในพระคัมภีร์วิสุทธิมรรคนั้น
ท่านอ้างอารมณ์ ๔ อย่างเหล่านี้โดยใช้คำว่า “พรหมวิหาร ๔” อารมณ์กรรมฐานเหล่านี้ ปรากฏหลังจากอนุสสติ
๑๐ และก่อนอรูปฌาน ๔ ในขณะที่ท่านจัดไว้เป็นอารมณ์กรรมฐานเอกเทศใน พระคัมภีร์วิสุทธิมรรคนั้น
ในพระคัมภีร์ธรรมลังคณีท่านนำไปรวมไว้กับฌานทั้งหลาย โดยจัด ๓ ข้อแรกไว้ร่วมกับฌาน
๓ ข้อแรก และข้อ ๔ ไว้กับฌานที่ ๔ ซึ่งท่านเรียก ชื่อเฉพาะว่า “พรหมวิหารฌาน”
พระไตรปิฎกไม่ได้เน้นว่า พรหมวิหารภาวนาเป็นแบบปฏิบัติที่สมบูรณ์ ซึ่งจะนำไปสู่พระนิพพานโดยตรงเช่นเดียวกับสติปัฎฐานทั้ง
๔ โพชฌงค์ ๗ และมรรคมีองค์ ๘ พรหมวิหาร ๔ อย่างนี้ไม่เหมือนหลักโพธิปักขิยธรรม ๓๗
ประการ คือจะเป็นเพียงคุณธรรมฝ่ายโลกิยะเสมอ เพราะมีสัตตสังขารเป็นอารมณ์พื้นฐาน
ยิ่งกว่านั้น พรหมวิหารเหล่านี้ เป็นอารมณ์กระตุ้นที่สูงสำหรับผู้ปฏิบัติซึ่งอารมณ์เหล่านี้จะแสดงออกถึงทัศนคติและพฤติกรรมของผู้ปฏิบัติที่มีต่อโลกภายนอกมากกว่าจะเป็นการบรรลุคุณธรรมที่เป็นโลกุตระ
แต่ควรเจริญพรหมวิหารภาวนาเหล่านี้ในลักษณะเป็นหลักปฏิบัติเสริม
ซึ่งจะนำไปสู่หลักโพธิปักขยธรรมและเป็นอารมณ์กรรมฐานอิสระ เมื่อเจริญพรหมวิหารเหล่า นี้ถึงขั้นฌาน
ท่านเรียกว่า “เจโตวิมุตติ” คือการหลุดพ้นทางจิต ซึ่งเรียกว่าเมตตาเจโตวิมุตติ
เป็นต้น ซึ่งแต่ละอย่างย่อมแสดงให้เห็นเด่นถึงความมีมากขึ้นแห่งสมาธิซึ่งเกิดมาจากวิมุตติเหล่านั้นในขั้นอัปปนาหรือขั้นฌาน
ในขั้นนี้ จะต้องสัมปยุตด้วยมรรคอันจะนำไปสู่พระนิพพานซึ่งมีโพชฌงค์
๗ และมรรคมีองค์ ๘ ถ้าไม่เจริญพรหมวิหารเหล่านี้ด้วยความคิดที่จะได้วิปัสสนาที่สูงขึ้นแล้ว
พรหมวิหารเหล่านี้ก็จะนำผู้ปฏิบัติ ไปเกิดในพรหมโลกเท่านั้น
หลักคำสอนเรื่องกรรมในพระพุทธศาสนาสอนว่า วิญญาณระดับสูง คือ วิญญาณที่มีศีลธรรมในรูปโลก
ซึ่งเรียกว่า มหัคคตจิต และซึ่งรูปฌานบันดาลให้เกิดขึ้น ย่อมนำไปสู่การเกิดใหม่ในพรหมโลกอย่างแน่นอน
แต่หลักธรรม ๔อย่าง คือ เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา
ย่อมก่อให้เกิดคุณธรรมที่จำเป็นสำหรับความเป็นอยู่แบบพระพรหม และ เพราะคุณค่าอันแท้จริงของพรหมวิหารธรรมทั้ง
๔ นี้ ช่วยให้ได้บรรลุภาวะเช่นนั้น การเจริญสมาธิโดยพิจารณา พรหมวิหารทั้ง ๔ นี้ จึงจัดเป็นทางตรงซึ่งจะนำไปสู่พรหมโลก
ในพระไตรปิฎกภาษาบาลี วิธีปฏิบัติและจุดประสงค์ของการปฏิบัติธรรม ๔ อย่างนี้ ท่านได้อธิบายไว้เป็นสูตรพิเศษโดยใช้ชื่อว่า
“พรหมวิหาร” ดังนี้ “จตุตาโร พฺรหฺมวิหารา” ซึ่ง ณ ที่นี้ได้พบชื่อที่แท้จริง
อนึ่งพรหมวิหารธรรมเหล่านี้ท่านเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “อัปปมัญญา”
ดังคำว่า “จตสฺโส อปฺปมญญาโย” คำว่า “พรหมวิหาร” ท่านแปลไว้ต่างๆ กัน เช่น “ที่ประทับแห่งพระพรหม” “โลกสวรรค์”
“สภาวะสูงสุด” “ความเป็นอยู่ที่ยอดเยี่ยม” “ทิพยารมณ์” และ อัปปมัญญา คือ
นับไม่ได้ไม่มีที่สุด ไม่มีขอบเขต
ตามคำอธิบายของพระพุทธโฆษาจารย์
คำว่า “พรหม” ในที่นี้จะต้องเข้าใจว่าหมายถึง “ยอดเยี่ยม” “ดีเลิศ” หรือสูงสุด
ในความหมายที่ว่าไม่ผิดพลาด สะอาด และบริสุทธิ์ ในการอธิบาย เพิ่มเติม พระพุทธโฆษจารย์กล่าวเสริมว่า
ภาวะเหล่า นี้ดีที่สุดด้วยเหตุผลที่ว่าเป็นความประพฤติที่เหมาะสมและสมบูรณ์ของคนหนึ่งๆ
ที่มีต่อคนอื่นๆ คำจำกัดความนี้ท่าน กล่าวไว้ในข้อความต่อไปนี้ “พฺรหฺมํ เอตํ
วิหารํ อิธ มาทฺ” ในที่นี้ท่านกล่าวไว้ว่าการดำรงชีพแบบนี้เป็นพรหม คือดีเลิศหรือสูงสุด
ในที่นี้คำว่า “พรหม” ใช้ในความหมายว่า “สูงสุด” หรือ “ดีที่สุด”โดยปราศจากการอ้างถึงเทพเจ้าทั้งหลายที่มีชื่อเช่นนั้น
ยังมีวลีอื่นๆ อีก เช่น “พฺรหฺมปฺปตฺ โต” ได้บรรลุถึงภาวะเป็นพรหม และพรหฺมภโต
= เป็นหรือกลายเป็นพรหม แต่คำว่า “พรหม” ท่านใช้หมายถึงภาวะที่สูงขึ้นหรือสูงสุด
คำว่า “พฺรหฺม” มีความหมายอย่างอื่นอีก คือหมายถึงผู้ที่อยู่ในพรหมโลก
พระพรหมทั้งหลายดำรงอยู่ภายใต้อิทธิพลความคิดที่บริสุทธิ์ ดังนั้นผู้ปฏิบัติกรรมฐานที่ได้เจริญภาวนา
โดยเพ่งพระพรหม ย่อมดำรงชีพอยู่เหมือนพระพรหม ดังนั้นท่านจึงเรียกว่า “พรหมวิหาร”
คำว่า “วิหาร” ในที่นี้หมายถึงแบบแห่งการดำรงชีพที่บริสุทธิ์ทางศาสนาเช่นในวลีที่ว่า
“ทิพพวิหาร” ซึ่งหมายถึงการดำรงชีพอย่างเทพหรือชีวิตในสวรรค์ และ “อริยวิหาร”
ซึ่งหมายถึง วิถีชีวิตที่ประเสริฐ
เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ที่ว่า คำว่า “พรหมวิหาร” และแบบปฏิบัติ ซึ่งได้มาจากพรหมวิหาร
มีความสัมพันธ์กันโดยตรงกับนิกายทางศาสนาอื่นๆ ด้วย ซึ่งในนิกายนั้นๆ
ท่านให้ความสำคัญน้อยมาก และมีการปฏิบัติที่จำกัดขอบเขต แม้ว่าเรื่องนี้จะไม่ได้รับการสนับสนุนจากตำราต่างๆ
ในประเทศอินเดีย ก่อนพระไตร ปิฎกจะปรากฏขึ้นหรือพร้อมๆ
กับพระไตรปิฎกในพระพุทธศาสนาปรากฏมีขึ้นก็ตาม การเจริญเมตตา (สันสกฤตว่า ไมตรี)
และพรหมวิหารธรรมอื่นอีก ๓ ข้อ
ซึ่งเป็นส่วนสำคัญสำหรับการประพฤติโยคะจะพบในโยคสูตรคือปตัญชลีซึ่งมีอายุอยู่ในยุคหลังๆ
จุดประสงค์สำคัญในการปฏิบัติก็เพื่อให้นักปฏิบัติได้บรรลุถึงความบริสุทธิ์แห่งจิต
อย่างไรก็ตามจากข้อความในพระไตรปิฎก เป็นที่ยอมรับกันว่าข้อปฏิบัตินี้มีปรากฏอยู่แล้วในลักษณะเป็นข้อปฏิบัติของนักพรตก่อนที่พระพุทธโคดมจะอุบัติขึ้น
ในอรรถกถาพระไตรปิฎกมีกล่าวไว้หลายแห่งว่า พรหมวิหาร ทั้ง ๔ นี้นักพรตในอดีตได้ปฏิบัติกันมาแล้ว
และได้รับการรักษาไว้ตลอดประวัติศาสตร์อันยาวนานในชีวิตของพระโพธิสัตว์
ความจริงท่านกล่าวว่า การปฏิบัติแบบนี้ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นครั้งแรกโดยพระโพธิสัตว์พระนามว่า
มะขาเทวะ ซึ่งในภายหลังได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า
ในพระสูตรนามว่า มะขาเทวะ เราพบว่า พระเจ้ามะขาเทพ
ผู้เป็นกษัตริย์ในอดีตของรัฐมิถิลาได้ทรงเจริญพรหมวิหารทั้ง ๔ และด้วยผลนั้นได้อุบัติในพรหมโลกพระสูตรกล่าวไว้ด้วยว่า
พระพุทธเจ้า ในขณะที่ทรงเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ ครั้งหนึ่งอุบัติเป็นกษัตริย์พระนามว่า
มะขาเทพ และว่าพระองค์ได้ทรงให้กำเนิดแก่การเจริญธรรมอันประเสริฐนี้ ซึ่งภายหลังพระเจ้าแผ่นดินทั้งหลาย
ผู้สืบสันติวงค์ของพระองค์ได้ปฏิบัติกันสืบๆ มา แต่การปฏิบัตินั้นท่านกล่าวว่านำไปสู่การเกิดใหม่ในพรหมโลก
ถ้าการเจริญพรหมวิหารไม่เสื่อมไปตามกาล เวลาแล้วไซร้
การเจริญนั้นก็อาจมีอยู่ในยุคคำสอนของศาสนาพราหมณ์
แต่วิธีที่แท้จริงตามหลักฐานในนิกายต่างๆ
เกือบลืมกันไปเสียหมดแล้ว ในเตวิชสูตร พราหมณ์ ๒ คน คือ
พราหมณ์วาเสฎฐะและพราหมณ์ภารัธ วาขะผู้โต้แย้งเกี่ยว กับทางที่ถูกต้องที่จะนำผู้ปฏิบัติไปอยู่ร่วมกับพระหรหม
ได้ยินยอมปรึกษา พระ พุทธเจ้า เพราะไม่สามารถมีข้อสรุปที่พอใจได้ ในตอนเสร็จสิ้นการอภิปราย พราหมณ์วาเสฎฐะ
กราบทูลพระพุทธเจ้าว่า “ข้าพระพุทธเจ้าได้ยินมาว่า พระสมณโคดมทรงสอนหนทางที่จะนำไปอยู่ร่วมกับพระพรหมและก็เป็นการได้ยินที่ถูกต้อง
ขอพระองค์ทรงให้ข้าพระพุทธเจ้าทั้งสองได้เห็นหนทางไปสู่ภาวะเช่น นั้นด้วยเถิด”
ขณะนั้นพระพุทธเจ้าทรงอธิบายให้เขาทั้งสองได้ ทราบว่าการปฏิ บัติพรหมวิหารเป็นทางที่ถูกต้องที่จะได้บรรลุถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพระพรหม
ประเด็นที่อภิปรายในที่นี้ไม่ใช่ทฤษฎีที่สูงสุดในศาสนาพราหมณ์ ที่กล่าว ถึงการอยู่ร่วมกับพระพรหมซึ่งเป็นความเข้าใจตามคัมภีร์เวทานต์
ในสูตรนี้ไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างพระพรหม
ที่เป็นตัวบุคคลและพรหมที่เป็นบัณเฑาะก์ (ขันที)
ซึ่งท่านประกาศว่าเป็นความจริงขั้นสุดท้าย ในคัมภีร์อุปนิษัทผู้นับถือพระพรหมในสูตรนี้เป็นตัวแทนของผู้แสวงหาทางบรรลุถึงพรหมโลก
โดยการบูชายัญและด้วยวิธีอื่นซึ่งครูในคัมภีร์พระเวทโบราณเช่นครูที่มีชื่อว่าติตติรยะและจันโทกะ
เป็นต้น สอนครูเหล่านี้ไม่มีความรู้เรื่องพระพรหมหรือเรื่องหนทางไปถึงพระพรหมเลย
จากแนวคิดของชาวพุทธ พระพรหม หมายถึงผู้ที่สูงส่งซึ่งเกิดมาในรูปโลก
โดยอาศัยการเจริญสมาธิและไม่มีความคิดเรื่องผู้ที่นับถือพระพรหมที่เป็นขันทีเลย
หนทางไปสู่โลกนั้น ตามที่ท่านกล่าวไว้ในพระสูตรนี้เป็นแนวพุทธโดยแท้ และมีขั้นตอนการปฏิบัติดังต่อไปนี้
๑ ความมั่นใจซึ่งเกิดจากความบริสุทธิ์แห่งศีล
๒ วิธีที่พระสาวกรักษาอายตนะภายในของตน
๓ วิธีที่พระสาวกมีสติและควบคุมตนเอง
๔ ความสันโดษและความมีชีวิตอยู่อย่างเรียบง่าย
๕ ความปราศจากนิวรณ์ทั้ง ๔
๖ ปิติและสันติซึ่งเกิดจากความบริสุทธิ์ในภายในของเขา
๗ การควบคุมจิต
๘ การเจริญพรหมวิหารซึ่งแผ่ไปทั่วโลกพร้อมด้วยเมตตา
กรุณา มุทิตา และ อุเบกขา สูตรสำหรับการเจริญพรหมวิหารมีดังต่อไปนี้
๑ “เขาดำรงชีพอยู่มีความคิดประกอบด้วยเมตตาแผ่ไปทั่วเสี้ยวหนึ่งของโลก
โดยทำนองเดียวกันแผ่ไปทั่วเสี้ยวที่ ๒ และที่ ๓ และที่ ๔ ข้างบน ข้างล่าง รอบๆ
ทุกแห่ง เขาดำรงชีพอยู่ แผ่ไปทั่วโลกทั้งสิ้น พร้อมกับสัตว์ที่จะต้องตายทั้งหลายซึ่งทั้งหมดก็จะเป็นเหมือนตัวเขาเอง
โดยมีความคิดประกอบด้วยเมตตา ไปไกล เจริญไปอย่างมาก นับไม่ถ้วน ปราศ จากความโกรธ
ปราศจากความริษยา”
เมตตาเจโตวิมุตติที่เจริญเช่นนั้นในภาวะแห่งรูปาวจรสมาธิ เป็นหนทางสู่การมีสภาพอยู่ร่วมกับพระพรหม
ในพรหมวิหารที่เหลือ ๓ อย่าง พระสาวกก็เจริญเช่นเดียวกัน คือ แผ่กรุณา มุทิตา
และ อุเบกขาไปทั่วโลก ท่านกล่าวพระสูตรนี่ซ้ำๆ
โดยทำพรหมวิหารแต่ละอย่างให้เป็นหนทางไปอยู่ ร่วมกับพระพรหม
ข้อปฏิบัตินี้แลที่ท่านกล่าวไว้ว่าเป็นหนทางไปสู่สวรรค์ชั้นพรหม เราพบ ว่าเมื่อได้เจริญพรหมวิหารแต่ละอย่างให้เข้าไปสู่ภาวะแห่งเจโตวิมุตติที่ไม่มีขอบเขตจำกัด
พรหมวิหารแต่ละอย่างนั้นย่อมก้าวล่วงภาวะที่มีขอบเขตจำกัด
ซึ่งพระอรรถกถาจารย์อธิบายไว้ว่าเป็นกามาวจร
คือเป็นภูมิที่ยังต้องเกี่ยวข้องอยู่กับความรักใคร่ทั้งหลาย แล้วจะบรรลุถึงขั้นอัปปนาซึ่งหมายถึงนับไม่ถ้วน
และเป็นรูปาวจร
ลักษณะพิเศษของการปฏิบัติที่กล่าวนี้ท่านบ่งไว้ในสูตรโดยใช้คำว่า “วิปุเลน”
แปลว่า ซึ่งแผ่ขยายไป “มหคฺคเตน” แปลว่า
ใหญ่ยิ่ง และคำว่า “อปฺปมาเนน” แปลว่า ประมาณไม่ได้ ด้วยคุณลักษณะ ๓ อย่างเหล่านี้
พรหมวิหารทั้ง ๔ จึงมีสภาพไม่สิ้นสุด และฌานซึ่งคุณธรรมทั้ง ๓
อย่างนี้ก่อให้เกิดขึ้นย่อมส่งผลสูงสุดในพรหมโลกล่วงเลยเสีย ซึ่งการปฏิบัติที่มีเขตกำหนด
ซึ่งมีในนิกายอื่น ดังนั้น พระอรรถกถาจารย์จึงกล่าวว่า “การเจริญพรหมวิหารย่อมช่วยให้ไปเกิดในพรหมโลก
ซึ่งสูงกว่าและข้ามพ้นโลกแห่งกามารมณ์ เช่นเดียวกับน่านน้ำอันใหญ่ไหล ท่วมอ่าวเล็กๆ
ไปฉะนั้น
ใน หลิททวสนสูตร เราพบข้อความว่า
ที่เมืองหะลิททะวะสะนะซึ่งเป็นเมืองชั้นหนึ่งของ แคว้นโกลิยะ พระภิกษุบางรูปได้ไปเยี่ยมสำนักของนักพรตนิกายอื่น
นักพรตเหล่านั้นได้กล่าวแก่ ภิกษุเหล่านั้นว่า “สหายเอ่ย,
พระสมณโคดมทรงสอนการเจริญเมตตา กรุณา มุทิตา และ
อุเบกขาแก่สาวกของพระองค์พวกเราก็สอนเช่นเดียวกันแก่สาวกของเราหลักธรรมและคำสอนของพระสมณโคดมต่างจากของพวกเราอย่างไร
พระภิกษุเหล่านั้นได้ไปปรึกษาเรื่องนี้กับพระพุทธองค์ พระองค์ตรัสว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เมื่อนักพรตของนิกายอื่นกล่าวเช่นนี้
เธอควรถามเขาว่า “แต่สหายเอ่ย เราควรเจริญ เมตตาโดยวิธีใด เมตตานำไปสู่สิ่งใด
จะได้เมตตาในที่ใด ผลของการเจริญเมตตาและที่สุดของ เมตตาเป็นอย่างไร ในกรุณา เป็นต้น
ก็ถามเช่นเดียวกัน เมื่อถูกถามเช่นนั้น นักพรตนิกายอื่น จะไม่สามารถอธิบายได้
ยิ่งกว่านั้นเขาจะเกิดความสงสัยว่า ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น เพราะว่ามันอยู่เหนือขอบเขต
ความสามารถของเขา”
ขณะเมื่อพระพุทธเจ้าทรงอธิบายคำถามเหล่านี้
พระองค์ตรัสว่า “พระภิกษุในพระพุทธศาสนานี้อบรมหลักแห่งการตรัสรู้ (โพชฌงค์)
นั่นก็คือสติที่ประกอบ ด้วยเมตตาซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งวิเวก ความคลายกำหนัด
ความดับกิเลส ซึ่งนำ ไปสู่การหลุดพ้นคือพระนิพพาน ถ้าเขามีความปรารถนาว่า “ขอให้ข้าพเจ้ามีชีวิตอยู่ด้วยอุเบกขา
สติ และการสำรวมระวังของตน” เขาก็จะดำรงชีพอยู่
ดังนั้นโดยการบรรลุถึงวิมุตติซึ่งเรียกว่า “สุภวิโมกข์” ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
จุดมุ่งหมายสุดยอดของเมตตาเจโตวิมุตติได้แก่ “สุภะ” คือความเข้าใจว่าสวยงามดีแม้ในสิ่งที่น่าเกลียด
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
วิปัสสญาณจะเกิดขึ้นแก่เขาผู้ที่ไม่เคยมีความรู้แจ้งในวิมุตติที่สูง
ยิ่งขึ้นมาก่อนเลย”
ท่านอธิบายเมตตาพร้อมกับโพชฌงค์ข้ออื่นไว้ด้วยประการฉะนี้ จากนั้นท่านก็อธิบาย
กรุณาเป็นต้น ความแตกต่างก็คือว่า กรุณามีจุดมุ่งหมายสุดยอดอยู่ที่ความไม่มีขอบเขตจำกัด
แห่งสถานที่ มุทิตามีจุดมุ่งหมายสุดยอดอยู่ที่ความไม่มีขอบเขตจำกัดแห่งวิญญาณ และ
อุเบกขามีจุดมุ่งหมายสุดยอดอยู่ที่ภูมิที่ไม่มีอะไรอยู่เลย
ข้อความนี้ซึ่งคัดมาจาก หลิททวสนสูตร แสดงว่าการปฏิบัติกรรมฐานบาง อย่างจะพบ
ได้ในนิกายศาสนาอื่นๆ แต่พระสูตรอธิบายว่า
การปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนาแม้จะไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อศาสนาอื่นในลักษณะของตน แต่ก็แตกต่างกันอย่างมากในเรื่องวิธีและผลแห่งการปฏิบัติ
ในพระพุทธศาสนา พรหมวิหารนำไปสู่พระนิพพานอันเป็นเป้าหมายสูงสุด แต่ถ้าเจริญไม่ถึงขั้นนั้น
จะได้รับผลคือการเกิดในพรหมโลกหลังจากการสิ้นชีวิต ดังนั้น เราจะพบข้อความที่กล่าวถึงเมตตาดังนี้
“ถ้าเขาไม่ได้บรรลุพระอรหัต เขาก็จะเกิดในพรหมโลก”
บุคคลที่อบรมพรหมวิหารธรรมในตนจนถึงขั้นบรรลุฌานจะมีชีวิตอยู่ในโลกนี้อย่างประเสริฐเหมือนพระพรหม ดังนั้นพระพุทธโฆษจารย์จึงได้ไห้คำจำกัดความพรหมวิหารเหล่านั้นว่า
“พฺรหฺมา เอเต วิหารา เสฎฐา เอ เต วิหารา = การดำรงชีพอยู่แบบนี้ประเสริฐหรือเลอเลิศ”
คุณลักษณะ ๔
อย่างทั้งหมดนี้ของพรหมวิหารย่อมเกิดขึ้นในขอบข่ายที่นับไม่ได้ของวิญญาณ
ซึ่งครอบคลุมถึงโลกกว้างทั้งมอง ดังนั้นท่านจึงเรียกคุณ ลักษณะเหล่านั้นว่า “นับไม่ได้”
อนึ่งที่กล่าวว่านับไม่ได้ในความหมายที่ว่า
คุณ ลักษณะเหล่านี้รวมเอาสัตว์ทุกชนิด และทุกสภาพไว้ในขอบข่ายของตน ดังนั้นจึงไม่มีขอบเขตจำกัด
แม้ว่าในการเจริญพรหมวิหารนั้นจะเน้นสัตว์ผู้เดียวเท่านั้นก็ตาม แต่ผู้ปฏิบัติควรเจริญพรหมวิหารโดยไม่ต้องตั้งขอบเขตกำหนดในเรื่อง
คุณภาพและปริมาณ ดังนั้น
เมื่อไม่มีขอบเขตจำกัด เขาควรมีความคิดที่มีไมตรีอย่างเต็มที่และแผ่กระจายไปอย่างกว้างเท่าที่จะทำได้
เมื่อกำหนดความไม่มีขอบ เขตว่าเป็นลักษณะสำคัญของสภาพของจิต
พระคัมภีร์อภิธรรมจึงเรียกพรหมวิ หารธรรมเหล่านี้ว่า
“อัปมัญญา”
เมตตา
คำอธิบายพรหมวิหารธรรมต่อไปนี้ได้แนวมาจากคำอธิบายที่พระพุทธโฆษาจารย์
กล่าวไว้พระคัมภีร์วิสุทธิมรรค
ตามคำจำกัดความคำว่า เมตตาตามตัวอักษรหมายถึง “ความมีไมตรี” และชี้บ่งถึงสภาพของมิตร
หมายถึงความรักฉันท์พี่น้อง ความรักที่ไม่มีขอบเขตจำกัด
หรือความรู้สึกเป็นมิตรปราศจากความผูกพันด้านกิเลสตัณหา เมตตามีลักษณะเอื้อเฟื้อหรือส่งเสริมความปรารถนาดี
สาระสำคัญ หรือ คุณสมบัติของเมตตาคือการทำงานเพื่อประโยชน์สุขแก่ผู้อื่น ผลของเมตตาที่เห็นได้ชัดคือ มีใจเต็มเปี่ยมด้วยความรักใคร่
และขจัดความโกรธออกไป มูลเหตุที่จะก่อให้เกิด
เมตตาได้แก่การที่มีความสัมพันธ์ระหว่างคนหนึ่งๆ กับคนอื่น
การทำลายความหวังร้ายต่อ บุคคลอื่นเป็นผลสุดยอดของเมตตา ความรักที่เห็นแก่ตัว
หรือตัวตัณหาเป็นความเป็นความล้มเหลวของเมตตาหรือเป็นศัตรูใกล้ตัวของเมตตา
เมื่อแปลเมตตาว่า “ความรัก” ก็ควรเข้าใจเสมอว่าคำนี้หมายถึง “ความเป็นมิตร”
เพราะความรักตามความหมายดั้งเดิมในภาษาบาลีมีความหมายเท่ากับคำว่า “ราคะ” และ “โลภะ”
ซึ่งเป็นความหมายตามรากคำตามหลักนิรุกติศาสตร์หมาย ถึงความผูกพันทางกามซึ่งเป็นข้าศึก
ต่อเมตตา ยังมีอีกคำหนึ่งซึ่งท่านใช้ในพระ ไตรปิฎก เพื่อแสดงถึงสภาพของจิตที่มีเมตตา
คำนี้ ได้แก่ “อพฺยาปาท” หรือ “อพฺยาปาทสงกปฺป”
หมายถึงความปราศจากพยาบาท หรือความดำริชอบไม่มีความพยาบาท หรือแปลว่าความตั้งใจที่จะไม่ให้มีความปรารถนาร้ายต่อใครๆ
ข้อนี้สอดคล้องกับองค์ประกอบ ๓ ข้อแรก แห่งสัมมาสังกัปปะ
ซึ่งเป็นหลักที่สองของมรรคมีองค์ ๘ ในประเด็นนี้เอง ที่เมตตาเป็นธรรมนำไปสู่ความดับโดยไม่เหลือแห่งโทสะคือความเกลียดชัง
หรือ สภาพของจิตซึ่งมีลักษณะชอบก้าวร้าวผู้อื่น เมตตาเป็นความหมายทางบวกของอะโทสะ
คือ ความไม่เกลียดชังและเป็นอุบายแก้ความโกรธหรือศัตรูซึ่งไม่สามารถขับไล่ไปด้วยวิธีอื่น
ดังนั้น ในพระธรรมบทจึงมีคาถากล่าวไว้ความว่า
ศัตรูไม่หยุดยั้งด้วยศัตรูศัตรูหยุดยั้งได้ด้วยการให้ อภัย ดังนั้นเมตตาจึงเป็นธรรมสำคัญยิ่งสำหรับบังศับจิตไม่ให้มีความเกลียดชังและเป็นบารมีข้อหนึ่งในบารมี
๑๐ ซึ่งเป็นหลักสำคัญสำหรับพระโพธิสัตว์ที่จะได้บรรลุถึงความเป็นพระ พุทธเจ้า
คือผู้รู้
๒ กรุณา
คำว่า กรุณา ซึ่งท่านแปลว่า “ความสงสาร” หมายถึงอารมณ์สะเทือนใจซึ่งจะนำไปสู่การขจัดความเจ็บปวดหรือความทุกข์ของผู้อื่น
เป็นการแสดงความเอ็น ดูแก่ผู้อื่น ส่งเสริมให้ผู้อื่นมีความสุข และป้องกันเขาทั้งหลายไม่ให้ได้รับความทุกข์
ลักษณะของกรุณาคือการบรรเทา
ความเจ็บปวดและความทุกข์ของเพื่อนมนุษย์ทั้งหลายหรือยอมรับความทุกข์เสียเอง เพื่อความสุขของเพื่อนมนุษย์ทั้ง
หลาย ความสงสารเมื่อเห็นผู้อื่นมีความทุกข์เป็นสาระสำคัญของกรุณา
การแสดงออกของกรุณาได้แก่ความสงบและความคิดที่ไม่มีอันตรายแก้ผู้ใด
การเว้นจากการทำให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บเป็นคุณลักษณะของกรุณา
การเห็นผู้ไม่มีที่พึ่งและได้รับความทุกข์เป็นสาเหตุเฉพาะของกรุณา
การทำลายความโหดร้ายเป็นจุดหมายสุดยอดของกรุณา การรบกวน และการก่อทุกข์ให้เกิดแก่ผู้อื่นเป็นข้อเสียของกรุณา
กรุณาสอดคล้องกับ “อวิหึสาสังกัปปะ”
คือความรู้สึกไม่ทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหายในฐานะเป็นองค์ประกอบอันหนึ่งของสัมมาสังกัปปะ
และเป็นคุณธรรมและการบรรลุธรรมอันยิ่งใหญ่ข้อหนึ่งของพระพุทธเจ้า
๓ มุทิตา
มุทิตาซึ่งท่านแปลควาหมายไว้ว่า “ความเห็นใจ” ความยินดีที่เกิดจากความเห็นอกเห็นใจ
หรือความยินดี บ่งบอกถึงความพลอยยินดีเมื่อผู้อื่นมีความ สุขหรือมีความร่าเริง ความยินดี
เป็นลักษณะของมุทิตาและความปราศจากริษยาเป็นสาระสำคัญของมุทิตาการแสดงออกของมุทิตา
จะเห็นได้ในการทำลายเสียซึ่งความไม่ชอบใจ การเห็นสภาพที่รุ่งเรืองของคนอื่นเป็นสาเหตุเฉพาะของมุทิตา
การทำลายเสียซึ่งความริษยาเป็นจุดหมายสูงสุดของมุทิตา และความขี้หึงจัดเป็นข้อเสียของมุทิตา
๔ อุเบกขา
โดยปรกติท่านแปลคำอุเบกขาว่า “ความวางเฉย” หรือความมีจิตสม่ำเสมอ คำว่า
อุเบกขานี้หมายถึง การทำสภาพของจิตให้เสมอภาค ซึ่งเมื่ออาศัยสภาพจิตเช่นนี้แล้วบุคคลสามารถ
เพ่งพิจารณา โดยปราศจากเหตุผลส่วนตัว ยึดความเป็นกลางและควบคุมจิตไม่ให้หวั่นไหว
เพราะสิ่งดึงดูดหรือสิ่งที่น่าขยะแขยงและไม่ขึ้นอยู่ กับความร่าเริงหรือความเหี่ยวแห่งในจิต
ลักษณะของอุเบกขาคือความเป็นกลางและการถือว่าทุกๆคนเสมอกันเป็นสาระสำคัญหรือเป็นหน้าที่ของ
อุเบกขา การทำลายเสียซึ่งความเป็นปฏิปักษ์และความยึดถือ เป็นการแสดงออกของอุเบก ขา
ความเข้าใจว่าบุคคลมีมรดกคือกรรมติดตัวมา ดังข้อความที่ว่า “สัตว์ทั้งหลายมี
กรรมติดตัวมาและด้วยอิทธิพลของกรรม มนุษย์ย่อมมีความสุขหรือความทุกข์”ดังนี้เป็นสาเหตุ
เฉพาะของอุเบกขาการทำลายความเกลียดชังและอุคติเป็นจุดมุ่ง หมายสุดยอดของ อุเบกขา
ความวางเฉย ซึ่งกระค้างและไม่เฉลียวฉลาดจัดเป็นข้อเสียของอุเบกขาอุเบกขาพรหมวิหาร
เกิดขึ้นในรูปแบบที่แท้จริงอย่างนี้เป็นฌานที่ ๔ และที่ ๕ ซึ่งจะบรรลุได้โดยการทำลายฌานที่
๓ ซึ่งมีความสัมพันธ์กับเมตตา กรุณา หรือ มุทิตา
ผูที่เจริญพรหมวิหารเหล่านี้ข้อใดข้อหนึ่งจะได้รับความสุข ซึ่งเกิดจากวิปัสสนาและจะมีชีวิตที่มีความสุข
จุดประสงค์ของกรรมฐาน ๔ ข้อนี้
ก็เพื่อทำลายเสียซึ่งความพยาบาท ความโหดร้าย ความริษยาและ ความกำหนัดตาม ลำดับ
ท่านกล่าวไว้ว่า “ดูก่อนสหายทั้งหลาย เมตตา เจโตวิมุตติ เป็นคุณธรรมเครื่องหลีกหนีจากพยาบาท กรุณาเจโตวิมุตติเป็นคุณธรรมเครื่องหลีกหนีจากความโหดร้าย
มุทิตาเจโตวิมุตติ เป็นคุณธรรมเครื่องหลีกหนีจากความริษยา อุเบกขา เจโตวิมุตติเป็นคุณธรรมเครื่องหลีกหนีจากความกำหนัด
ตามที่ท่านแสดงไว้ในรายชื่ออารมณ์กรรมฐานจะพบว่าพรหมวิหารทั้ง ๔ มีความเกี่ยวข้องกับคำว่า
เจโตวิมุตติ (คือการหลุดพ้นทางจิต) เราได้ทราบมาแล้วว่า เจโตวิมุตติ คำนี้ ท่านใช้กับสมาธิในระดับฌาน
หมายถึง “การหลุดพ้นทางจิต” จากสิ่งรบกวนทั้งหลาย เมื่อท่านนำมารวมกันคำว่า เจโตวิมุตติ เช่น เมตตาเจโตวิมุตติ
กรุณาเจโตวิมุตติ เป็นต้นคำเหล่านี้
ย่อมหมายถึง อัปปนา หรือฌานซึ่งได้บรรลุด้วยการเจริญกรรมฐานเหล่านั้น
เมื่อไม่รวมกันคำว่า เจโตวิมุตติ พรหมวิหารทั้ง ๔ ย่อมหมายถึงคุณภาพของจิต ซึ่งแต่ละอย่างแสดงออกมา
หรือ หมาย ถึงอุปจารสมาธิซึ่งเกิดจากการเจริญพรหมวิหารเหล่านั้น พรหมวิหารทั้ง ๔
อย่างนี้เป็นวิธีการหลีกหนีจากพยาบาท และความโหดร้าย เป็นต้น ในฌานขั้นอุปจาร หรือ
อัปปนานี้เอง ในเบื้องต้นแห่งการฝึกฝนอบรมตน พระสาวกจะต้องระลึกถึงสภาพทั้ง ๒
อย่างเหล่านั้น ซึ่งเป็นปฏิปักษ์และสภาพทั้งหลายซึ่งเหมาะ สมกันพรหมวิหารทั้ง ๔
พรหมวิหารแต่ละอย่างมี คู่ปรปักษ์ ๒ รูปแบบ
คือคู่ปรปักษ์ที่อยู่ใกล้กับคู่ปรปักษ์ที่อยู่ไกล
คู่ปรปักษ์ที่อยู่ใกล้ของเมตตาคือกามราคะ
ซึ่งพิจารณาอารมณ์กรรมฐานด้วยดุลยพินิจและหาทางหมกมุ่นในตัณหา ซึ่งมีความ เห็นแก่ตัวเช่นเดียวกับข้าศึกซึ่งซุ่มซ่อนอยูใกล้คนผู้หนึ่งผู้พบหนทางที่จะเข้าไปใกล้โดยเร็ว
ดังนั้นเมตตาคงจะได้รับการรักษาคุ้มครองไว้อย่างดีเพื่อป้องกันความรักซึ่งเจือปนด้วย
ตัณหา ราคะ คู่ปรปักษ์ที่อยู่ไกลได้แก้พยาบาท
ซึ่งมีธรรมชาติเหมือนกับศัตรูของคนผู้เฝ้าดูอยู่ในระยะทางที่อยู่ห่างไกล ดังนั้นใน ขณะที่เจริญเมตตาภาวนา
ควรคุ้มครองเมตตาไม่ให้พยาบาทมารบกวนได้
สำหรับกรุณา นั้น ปรปักษ์ที่อยู่ใกล้คือความโศรกซึ่งมีความสัมพันธ์กับความทะยานอยากได้ทางโลก
เพราะกรุณาย่อมเพ่งพิจารณาสัตว์ทั้งหลายผู้พยายามจะเอาชนะความทุกข์ยาก ความโหดร้าย ซึ่งตามธรรมชาติเป็นภาวะที่ขัดแย้งกัน
เป็นปรปักษ์ที่อยู่ใกล้สำหรับกรุณา ดังนั้น
จึงควรบำเพ็ญกรุณาด้วยความระมัดระวังอย่างเหมาะสมเพื่อมิให้ความโหดร้ายคือวิหิงสาเข้ามารุกรานได้
ความยินดีตามธรรมชาติทางโลกเป็นปรปักษ์อันใกล้ชิดของมุทิตา เพราะมุทิตาจะเห็นไปว่าปัจเจกชนทั้งหลาย
แม้ว้าจะมีขอบเขตจำกัด ต่างก็เพลิดเพลินในความรุ่งเรืองในทางโลก ความไม่ชอบ
หรือความริษยาโดยเหตุที่เป็นปรปักษ์โดยธรรมชาติเป็นปรปักษ์ที่อยู่ใกล้ของมุทิตา ดังนั้นในการเจริญมุทิตาภาวนา
บุคคลควรระมัดระวังไมให้ความริษยาเข้ามารุกรานได้
ตามความหมายทั่วๆไป อุเบกขามี๒ประเภทคือที่เรียกกันว่า “พรหมวิหารอุเบกขา” และที่เรียกกันว่า
“เคหสิตอุเบกขา (ความวางเฉยของผู้ที่ครองเรือน) โลกิยชนผู้ไม่ได้รับการฝึกสอน ผู้ซึ่งเมื่อเห็นอารมณ์กรรมฐานแล้วย่อมเข้าใจผิดเพราะไม่เคยเอาชนะขอบเขตของธรรมชาติตามธรรมดาของตน
และไม่เห็นโทษของสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่ง สำหรับปุถุชน
เช่นนี้ ย่อมเกิดอุเบกขาขึ้นว่าตนเองไม่สา มารถตัดการยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่ตนเห็นไปได้
นี้เรียกว่า เคหสิตอุเบกขา ซึ่งปราศ จากความรู้และความพินิจพิเคราะห์ เนื่องจากความคล้ายคลึงกันในข้อที่ว่าอุเบก ขาไม่มีดุลยพินิจระหว่างความดีและความชั่ว
อุเบกขาจึงเป็นปรปักษ์ที่ใกล้ชิดของพรหมวิหารอุเบกขา ตรงกันข้ามกับอุเบกขา
ทั้งราคะและความเกลียดชังเป็นปร ปักษ์ที่ห่างไกลของ อุเบกขาพรหมวิหาร และดังนั้นควรเจริญอุเบกขานี้พร้อมด้วยการระมัดระวังไม่ให้ปรปักษ์
เหล่านั้นเกิดขึ้น
การเจริญพรหมวิหาร๔อย่างนี้อาจแบ่งออกไปได้เป็น ๓ ขั้นคือ ความพอ ใจในการเจริญ
เป็นขั้นต้น การทำจิตให้ปราศจากนิวรณ์ เป็นขั้นกลาง และอัปปนา หรือการบรรลุฌาน
เป็นขั้นสูงสุด
กรรมฐาน ๔ อย่างนี้ไม่เหมือนกับกรรมฐานอย่างอื่น คือแต่ละประเภทประกอบด้วย
การแผ่ขยายความรู้สึกอย่างต่อเนื่องจากปัจเจกชนไปยังชุมชนหรือจากบุคคลคนหนึ่งไปยังบุคคลจำนวนมากและจากทิศหนึ่งไปยังทิศอื่นๆ
ของโลก และไปสู่โลกทั้งหมดโดยลำดับตลอดถึงทุกสิ่งทุกอย่างซึ่งมีอยู่ในโลก ดังนั้น
สมาธิภาวนาแบบนี้ซึ่งมีวัตถุภายนอกเป็นพื้นฐานย่อมแผ่ไปทั่วขอบข่ายแห่งอิทธิ พลของตนจนกระทั่งพระโยคาวจรผู้ซึ่งเป็นหนึ่งเดียวกับจักรวาฬทั้งสิ้น
อยู่เหนือขอบเขตแห่งปัจเจกชนทั้งหมดไป ความจริงการแผ่ขยายไปเช่นนี้เกิดขึ้นในอุป
จารฌาน หรือ ในการบรรลุฌาน สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการแผ่ขยายดัง กล่าวนี้
จะกล่าวอย่าง ครบถ้วนในภายหลัง
ตามความสัมพันธ์ที่ไม่มีกฎเกณฑ์แน่นอนพรหมวิหารอุเบกขาจะไม่เกิดขึ้นจนกว่าพรหมวิหาร๓
อย่างอื่นๆจะก่อให้เกิดฌานที่๓ ขึ้นมาเพราะอุเบกขาเป็นองค์ฌานที่๔
ซึ่งเกิดจากฌานที่ ๓ และโดยเหตุที่เป็นพรหมวิหารจึงเป็นผลที่ได้บรรลุทันทีหลังพรหมวิหาร
๓ อย่างอื่นๆ ตามความเป็นจริง อุเบกขาย่อมปรา กฏเป็นธรรมคู่กันกับสมาธิในฌานที่ ๔
ของระบบฌาน ๔ และในฌานที่ ๕ ของระบบฌาน ๕ ดังนั้น
เมื่อไม่มีฌานที่ ๓ ซึ่งบรรลุได้โดยการเจริญพรหมวิหาร ๓
อย่างแรกแล้วการเจริญฌานที่ ๔ ก็มีไม่ได้ ดังนั้น ผู้เริ่มปฏิบัติไม่ควรยึดอุเบกขาเป็นกรรมฐานของตน
เพราะอุเบกขาท่านมุ่งหมายไว้เฉพาะสำหรับผู้ที่ได้บรรลุฌานที่ ๓ แล้ว
สมาธิภาวนาเฉพาะอย่างซึ่งเลือกแล้วย่อมแตกต่างกันตามอารมณ์ภายในจิตของพระสาวก
ในบรรดาพรหมวิหาร๔อย่างนี้เมตตาพรหมวิหารเป็นทางแห่งความบริสุทธิ์สำหรับผู้ที่มีพยาบาทเป็นลักษณเด่นชัด
กรุณาเป็นทางแห่งความบริสุทธิ์สำหรับผู้ที่มากไปด้วยความคิดให้ร้ายและมุ่งร้ายต่อผู้อื่น
มุทิตาเป็นทางแห่งความบริสุทธิ์สำหรับผู้ที่ถูกความริษยาครอบงำ และอุเบกขาเป็น
ทางแห่งความบริสุทธิ์สำหรับผู้เต็มเปี่ยมด้วยราคะ ด้วยเหตุผลนี้เอง
ท่านจึงจัดลำดับของ พรหมวิหาร ๔ ไว้อย่างเหมาะสม อนึ่งพรหมวิหาร ๔
อย่างนี้เป็นโอสถขนานสำคัญสำหรับภาวะที่เป็นปฏิปักษ์กัน อนึ่งเล่ากรรมฐาน ๔
อย่างนี้ท่านมุ่งหมายจะให้กระตุ้นให้เกิดคุณธรรมในแง่บวกแก่พระโยคาวจรผู้เคร่งศาสนา
ตามที่ท่านให้ตัวอย่างนั้นแสดงให้เห็นถึงความรู้สึกที่ปรารถนาดีมีไมตรีมีความยินดีและมีความตรงไปตรงมาอุทิศตนเพื่อเห็นแก่ความสุขของผู้อื่น
เราอาจลองวาดมโนภาพถึงมารดาผู้หนึ่งผู้ปฏิบัติหน้าที่ของมารดาต่อบุตร
๔ คน เป็นเด็กอ่อนคนหนึ่ง เป็นเด็กป่วยคนหนึ่ง เป็นเด็กหนุ่มคนหนึ่ง และคนที่ ๔
เป็นคนที่จัดการธุรกิจของตนเองมารดาผู้นี้ปรารถนาจะให้บุตรคนเล็กที่สุดเจริญเติบโตและกระตือรือร้นเพื่อให้บุตรที่ป่วยหายป่วย
มีความยินดีในความรุ่งเรืองของบุตรคนหนุ่มพลางก็ประสงค์จะให้มีความรุ่งเรือง ยิ่งๆ
ขึ้นและใจมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับผู้ดำเนินธุรกิจของตนเองเช่นเดียวกัน
พระสาวกผู้เจริญ อัปปมัญญา เมื่อแรกควรเจริญเมตตา ช่วยให้คนทุกคนมีความปราถนาดีต่อกันและเจริญกรุณา
สำหรับผู้ที่ได้รับความทุกข์เจริญมุทิตาสำหรับผู้มีความสุข และภายหลังเมื่อได้บรรลุถึงขั้นที่ก้าว
หน้า แล้วควรจะก้าวขึ้นไปสู่อุเบกขาพรหมวิหาร
ในการปฏิบัติที่แท้จริง ในเบื้องต้นพระสาวกควรเริ่มด้วยเมตตาและรักษาความคิดที่มีไมตรีเพื่อความอยู่ดีกินดีของผู้อื่น
และควรแสดงลักษณะของเมตตา โดยการทำความดีต่อไป เมื่อเขาคิดถึงสิ่งที่เขาได้เห็นหรือได้ยินเกี่ยวกับความทุกข์ของผู้อื่นเขาควรฝึกความกรุณา
ด้วยการบรรเทาความทุกข์ของผู้อื่นนั้น เพราะลักษณะที่แท้จริงของกรุณาไม่เป็นเพียงความคิดที่มีกรุณาเท่านั้น
แต่เป็นการขจัดความทุกข์ของผู้อื่นด้วย หลังจากปรารถนาความสุขแก่ผู้อื่น และหลังจากขจัดความทุกข์ของผู้อื่นแล้ว
พระสาวกควรเจริญกรรมฐานเหล่านี้ด้วยการแสดง ความยินดีในความรุ่งเรืองของผู้อื่น
ในที่สุดเขาควรเจริญกรรมฐานเหล่านี้ด้วยการควบคุมสภาพของจิตให้สม่ำเสมอ
หรือให้เป็นจิตที่สงบ เพราะไม่มีอะไรอื่นเหลืออยู่เพื่อที่จะต้องทำต่อไป ลักษณะของความสงบสุขควรควบคุมให้เป็นไปอย่างสม่ำเสมอ
การเจริญภาวนาแบบนี้ก่อให้เกิดฌานไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่งในบรรดาฌานทั้งหลายตามธรรมชาติแห่งความรู้ทางจิตวิทยาของแต่ละคน
แม้ว่ากรรมฐานเหล่านี้จะเกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ ชิด คือมีลักษณะอย่างเดียวกัน
คือลักษณะที่ครอบคลุมถึงอัปปมัญญา (ไม่มีขอบเขตจำกัด) ในวัตถุต่างๆ ก็ตาม กรรมฐาน
๓อย่างแรกก่อให้เกิดฌาน ๓ อย่างแรกในบรรดาฌาน ๔ และให้เกิดฌานที่ ๔ในระบบฌาน ๕ ตามลำดับ
และข้อที่ ๔ (คืออุเบกขา) มีความเกี่ยวเนื่องกับฌานที่ ๔ หรือฌานที่ ๕ กรรมฐาน ๓
ข้อแรกมีความสัมพันธ์กับความยินดี (ปิติ) อย่างจำ เป็น
และไม่สามารถแยกจากกันได้เพราะเป็นทางที่จะหลีกหนีจากคุณสมบัติต่างๆ เช่นความพยาบาท
ความโหดร้าย ความริษยา ซึ่งสัมพันธ์กับความมีใจเหี่ยวแห้งหรือเซื่องซึม ดังนั้นจึงไม่บรรลุฌานที่ ๔ ซึ่งอยู่เหนือปิติ
หรือความยินดี ตำแหน่งของอุเบกขาได้แก่ฌานที่ ๕ เพราะมีความสัมพันธ์กับความรูสึกเป็นกลางซึ่งล้าไม่มีความรู้สึกนี้แล้ว
ฌานที่ ๕ จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยเป็นอันขาด ด้วยเหตุผลนี้เอง ในพระคัมภีร์ธรรมสังคณีและพระคัมภีร์อัปปมัญญาวิภังค์ท่านจึงกล่าวว่า
พรหมวิหาร ๓ อย่างแรก ปรากฎขึ้นพร้อมกับฌานที่
๓ และฌานที่ ๔ และพรหมวิหารข้อสุดท้ายปรากฏพร้อมกับฌานที่ ๕
อัปปมัญญา ๔ แบ่งออกเป็น ๒ กลุ่ม เพราะฌานที่ ๔ มีความสัมพันธ์กับพรหมวิหาร ๓
อย่าง แรก ซึ่งเป็นกลุ่มหนึ่ง และฌานที่ ๕ พร้อม
กับพรหมวิหารข้อที่เหลือเป็นกลุ่มที่ ๒ กลุ่ม เหล่านี้ต่างกันในข้อที่ว่า
แต่ละกลุ่มสามารถให้ผลพิเศษได้เอง ตามที่อธิบายไว้ในหลิททวสนสูตรดังนี้ “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ตถาคตกล่าวว่า เมตตา เจโตวิมุตติ เป็น ธรรม มีความงาม สูงสุด ตถาคตกล่าวว่า
วิญญาณอันหาที่สุด มิได้เป็นสิ่งสูงสุดสำหรับ มุทิตา เจโตวิมุตติ ตถาคตกล่าวว่า
ความไม่ มีอะไรเลย เป็นสิ่งสูงสุดสำหรับอุเบกขา เจโตวิมุตติ”
ความพอใจที่เกิดจาก สภาพที่สูงสุดนี้ พระอรรถกถาจารย์อธิบายไว้ดังนี้
สำหรับผู้ที่อยู่ด้วย ความรัก คือ เมตตา สัตว์ทั้งหลายย่อมปรากฏว่าไม่น่ารังเกียจ
(แม้ว่าสัตว์เหล่านั้นจะถูกมองว่า น่ารังเกียจ
สำหรับคนธรรมดาทั่วไปก็ตาม) ดังนั้น
ในขณะที่มีความชินอยู่กับการยอมรับอารมณ์ทั้งหลายโดยไม่รู้สึกรังเกียจนั้น
เขาย่อมนำจิตของตนไปสู่สมาธิอย่างง่ายดายด้วยการพิจารณา นิมิตคือสีเขียวแก่เหลือง
หรือพิจารณาอสุภะในซากศพแบบต่างๆ ดังนั้นความรักคือเมตตา
มีจุดสุดยอดอยู่ที่จิตซึ่งมีสภาพสวยงามซึ่งเรียกว่า ศุภวิโมกข์ (ซึ่งท่านอธิบายว่า
เขาจดจ่ออยู่ กับความคิด ที่ว่า “ดี สวยงาม”)
ผู้ที่มีชีวิตอยู่ด้วยความคิดที่มีความกรุณาสงสารผู้อื่นที่กำลังได้รับความทุกข์
ย่อมรู้แจ้ง ถึงโทษที่มีในร่างกายเนื้อหรือรูปวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งจะ ต้องป่วยไข้และมีความเจ็บปวด เมื่อเข้าใจถึงโทษแห่งสิ่งที่มีรูป
แล้วเจริญสมาธิเพื่อหลุดพ้นจากร่างกายนั้นจิตของเขาจะผ่านเข้าไปในอากาศโดยไม่ยาก
ซึ่งได้แก่การหลีกออกจากวัตถุ ดังนั้น กรุณาเจโตวิมุตติ จึงนำไปสู่การบรรลุถึงภูมิอวกาศอันไม่มีที่สุด
ไม่ไกลไปกว่านั้น
เมื่ออยู่ในภาวะมีความกรุณา พระโยคาวจรผู้ปฏิบัติพิจารณาวิญญาณแห่งสัตว์ทั้งหลาย
ที่อยู่ในสภาพที่มีความยินดี จิตของเขาย่อมได้รับประสบการณ์ในการเข้าใจวิญญาณนี้ เนื่องจาก การเจริญพรหมวิหารอย่างต่อเนื่องเมื่อมิได้บรรลุเช่นนั้นและในเวลาต่อมาก็ได้ผ่านภูมิแห่งอวกาศอันหาที่สุดมิได้
เขาย่อมน้อมจิตของเขามาสู่วิญญาณ ซึ่งอยู่ในอารมณ์ของอวกาศอันหาที่สุดมิได้นั้นและจิตของเขาก็เข้าไปสู่วิญญาณนั้น
เพราะจิตของเขาได้ทอดทิ้งความคิดเรื่องอวกาศอันหา ที่สุดมิได้นั้นอย่างง่ายดาย
โดยวิธีนี้มุทิตาเจโตวิมุตติ
หรือกรุณาเป็นสภาพของภูมิวิญญาณที่น่ายินดีซึ่งหาที่สุดมิได้ และ
ไม่มีอะไรที่สูงกว่านี้อีก ดังนั้นสภาพนี้ย่อมเป็นผลอันสูงสุดของกรุณา
แต่จิตของผู้ที่อยู่ในภาวะมีอุเบกขา ย่อมหมดความรู้ สึกทุกอย่างและไม่มีความรู้เรื่อง
ความสุข หรือความทุกข์ว่าเป็นความจริงใจ ความเป็นกลางแห่งความรู้สึกและความปราศจาก
ความเข้าใจเรื่องความเป็นอยู่ของปัจเจกชนย่อมนำเขาไปสู่ความเข้าใจความจริงที่ว่าการมีชีวิต
อยู่ในสิ่งซึ่งมีความเป็นอยู่ไม่ถาวรเป็นสิ่งลวงอย่างหนึ่ง ดังนั้น การเข้าใจเรื่องความเป็นอยู่ในความหมายที่ว่าเป็นความจริงขั้นสูงสุด
ย่อมไม่มี และแล้วเขาย่อมน้อมจิตของตนไปหาความจริง คือ ความไม่มีแห่งวิญญาณ
ซึ่งในฐานะเป็นความจริงขั้นสูงสุด ย่อมไม่มีความเป็นอยู่เลยจิตของเขา
จะแทงตลอดเข้าไปในภูมิที่ไม่มีอะไรเลยโดยไม่ยาก ด้วยเหตุนั้นอุเบกขาจึงเป็นสภาพที่น่ายินดีของภูมิคือ
ความไม่มีอะไรเลย แต่เป็นสภาพของความไม่มีอะไรที่สูงขึ้น ดังนั้นผลสุดยอดของอุเบกขาก็คือภูมิที่ไม่มีอะไรเลย
อัปปมัญญาพรหมวิหาร ๔ อย่างนี้ จะแตกต่างกันก็อยู่ที่คุณสมมติอันสูงสุดแห่งการบรรลุและธรรมทั้ง
๔ข้อนี้ท่านวินิจฉัยว่าเป็น “ความสำเร็จของคุณธรรมทุกๆ อย่างซึ่งเป็นส่วนดี เช่น
จาคะ การบำเพ็ญประโยชน์ เป็นต้น ซึ่งปฏิบัติกันมาในขั้นต้นๆ ในชีวิตของนักศาสนา
พระโพธิสัตว์หรือมหาบุรุษผู้เพียบพร้อมด้วยคุณธรรมเหล่านี้
ปรารถนาเพื่อให้สัตว์และมนุษย์ ทั้งหลายมิชีวิตอยู่อย่างดี และยอมลำบากเพื่อจะช่วยให้เขาเหล่านั้นพ้นจากความทุกข์หาทาง
สนับสนุนให้เขามีความมั่งคั่งสมบูรณ์และมีความสุขและเจริญอุเบกขา
ในสรรพสัตว์ทั้งหลาย เขาทำให้หลักการบริจาคทานสมบูรณ์ โดยไม่แบ่งแยกให้เกิดความแตกต่างกัน
เช่น “ควรให้แก่ สัตว์บุคคลนี้ ไม่ควรให้แก่สัตว์บุคคลผู้นั้น”
เขาทั้งหลายงดเว้นการเบียดเบียนกัน สมาทานศีลทั้งหลาย
และปลีกตัวออกจากชีวิตที่เกี่ยวข้องอยู่ในโลก โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะทำชีวิตพรหมจรรย์ให้สำเร็จผล
เขาทั้งหลายทำวิปัสสนาของตนให้บริสุทธิ์
เพื่อว่าจะได้ไม่ผิดพลาดในการใช้ดุลย์พินิจระหว่างสิ่งที่ดีและสิ่งที่ชั่ว
สำหรับสัตว์บุคคลอื่นๆ ทั้งหลาย เขาย่อมรักษาไว้ เสมอๆ ซึ่งความพยายามเพื่อส่งเสริมความสุขของสัตว์ทั้งหลาย
แม้ว่าเขาจะมีพลังในการต่อต้านความชั่วอยู่ในตัวเอง
แต่เขาก็ย่อมอดทนต่อความอ่อนแอ และความล้มเหลวหลายรูปแบบ และเขาไม่ยอมเสียคำมั่นสัญญาที่ทำไว้ในขณะที่เขาเปลี่ยนแปลง
ในการตัดสินใจเกี่ยวกับประโยชน์และความสุขของผู้อื่นนั้นเขาเป็นบุคคลชั้นนำในการแผ่เมตตาไปยังสรรพสัตว์และในขณะที่มีชีวิตอยู่ด้วยอุเบกขา
เขาย่อมไม่หวังสิ่งใดจากใครๆ เป็นการตอบแทน หลังจากบำเพ็ญบารมี ๑๐ทรรศให้บริสุทธิ์แล้ว
เขาทั้งหลายย่อมได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นความสำเร็จอันสูงสุด
และดีที่สุด ดังนั้นพรหมวิหารทั้ง ๔ นี้ จึงเป็นธรรมสร้างสิ่งดีทั้งหลายทั้งปวงจากขั้นต่ำสุดถึงขั้นสูงสุด
วิธีเจริญพรหมวิหารที่แท้จริงจะพรรณนาในตอนต่อไป
No comments:
Post a Comment