Sunday, October 23, 2016

บทที่ ๑๗ กายคตาสติภาวนา



บทที่ ๑๗
กายคตาสติภาวนา
การเจริญกรรมฐานโดยการระลึกถึงกาย
ในพระคัมภีร์วิสุทธิมรรคท่านกล่าวไว้ว่า การเจริญกรรมฐานโดยมีสติเป็นไปในกาย ไม่มีใครปฏิบัติกันก่อนการอุบัติ ขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งไม่อยู่ในขอบข่ายแห่งระบบคำสอนของศาสนาอื่นๆ พระพุทธเจ้าได้ทรงสรรเสริญกายคตาสติกรรมฐานไว้อย่างมากมายในพระสูตรต่างๆ เช่น พระพุทธพจน์ต่อไปนี้
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีฐานะอันหนึ่งซึ่งเมื่อเจริญและปฏิบัติเสมอๆ ย่อมนำไปสู่ความรู้สึกผูกพันอันยิ่งใหญ่ ประโยชน์อันยิ่งใหญ่ความเป็นอิสระจากกิเลสเครื่องผูกมัด ความมีสติ และ การสำรวมตน การบรรลุปัญญา และ วิปัสสนาญาณ ความสุขในชีวิตปัจจุบันทันตาเห็น การรู้แจ้งถึงผลของปัญญาและวิมุตติ ฐานะหนึ่งอันนั้นเป็นไฉน ฐานะหนึ่งอันนั้นได้แก่ กายคตาสติ คือ สติความระลึกได้ซึ่งเป็นไปในกาย”
อนึ่งผู้ที่ไม่มีความยินดีในกายคตาสติย่อมไม่ยินดีในอมตะคือความไม่ตายผู้ที่มีความยินดี ในกายคตาสติ ย่อมยินดีในอมตะ ผู้ที่ไม่เคยมีความยินดีในกายคตาสติ ก็ไม่เคยมีความยินดีในอมตะ ผู้ที่มีความยินดีในกายคตาสติแล้วก็ได้มีความยินดีในอมตะมาแล้ว ผู้ที่ทอดทิ้งกายคตาสติแล้วก็ได้ทอดทิ้งอมตะมาแล้ว  ผู้ที่ไม่ทอดทิ้งกายคตาสติ ก็ไม่ได้ทอดทิ้งอมตะมาแล้ว
ในมหาสติปัฏฐานสูตร ท่านกล่าวไว้ว่ากายคตาสติเป็นส่วนหนึ่งของวิธีทุกอย่างที่ปฏิบัติ เพื่อบรรลุพระนิพพาน และในที่นั้นท่านเรียกกายคตาสติว่า กายานุปัสสนา คือการพิจารณากาย และ มีทั้งหมด ๑๔ ตอน ปรากฏในกายคตาสติสูตร ซึ่งมี ๑๔ ตอน เช่นกันเรียกว่า กรรมฐาน และเป็นวิธีอิสระในการเจริญสมาธิซึ่งมีผลมหาศาล คำอธิบายของท่านเริ่มต้นดังนี้
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราควรจะเจริญกายคตาสติกรรมฐานอย่างไร และเราควรปฏิบัติกรรมฐานนี้อย่างไรเพื่อให้ได้ผลมหาศาล และมีอานิสงส์อันยิ่งใหญ่ ในที่นี้ พระภิกษุรูปหนึ่ง หลังจากหลีกเร้นไปอยู่ป่าหรือที่โคนต้นไม้ หรือที่บ้านที่ว่างแล้ว พึงนั่งขัดสมาธิตั้งตัวตรง ตั้งสติ ไว้เฉพาะหน้า...”
ในฐานะที่เป็นอารมณ์ของกรรมฐาน กายคตาสติได้รับการเสนอแนะไว้สำหรับผู้ที่มีจิตมีราคะ และในเรื่องนี้ในมหาคัมภีร์วิสุทธิมรรคท่านกล่าวอธิบายไว้ดังนี้ กายคตาสติกรรมฐานมี ๑๔ หมวด   ๓ หมวด (คือ อิริยาบท ๔ สังวร ๔ และการกำหนตธาตุทั้ง ๔) ท่านได้ให้คำอธิบายไว้ภายในหัวข้อว่าวิปัสสนาภาวนา การพิจารณาป่าช้าทั้ง ๙ หมวด ท่านก็อธิบายไว้ว่าเป็น ส่วนหนึ่งแห่งวิปัสสนา คือเป็นอาทีนวานุปัสสนา ได้แก่การพิจารณาเห็นโทษ (ของร่างกาย) ในขณะเดียวกันกับสิ่งเหล่านี้ซึ่งก่อให้เกิดสมาธิ ท่านอธิบายไว้ภายใต้หัวข้อว่า “อสุภภาวนา” หมวดที่ เหลือ ๒ หมวด คือ อานาปานสติ (การกำหนดลมหายใจเข้าออก และ อสุภภาวนา (การพิจารณา สิ่งปฏิกูล) ทั้งสองนี้ท่านจัดเป็นกรรม ฐานในระบบแห่งการเจริญสมาธิการพิจารณา ลมหายใจเข้าออก ท่านจัดเป็นอารมณ์กรรมฐานพิเศษ เรียกชื่อว่า “อานาปานสติ”ที่จะอธิบายในที่นี้ในฐานเป็นกายคตาสติได้แก่การเจริญสมาธิโดยพิจารณาอาการ ๓๒ ของร่างกาย ตามที่ท่าน จัดไว้ในหลักต่อไปนี้
“ปุน จ ปรํ ภิกฺขเวฯลฯ อสฺสุ วสา เขโล สิงฺฆานิกา อสิกา มุตฺตนฺติ”
ซึ่งมีความว่า “อนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณากายนี้ ซึ่งมีขอบเขตจำกัดด้วย หนังจากส้นเท้าขึ้นไป จากศีรษะลงมาว่าเป็นสิ่งปฏิกูลชนิดต่างๆ ในร่างกายนี้มีผมบนศีรษะมีขน, เล็บ, ฟ้น, หนัง, เนื้อ,เอ็น,กระดูก, เยื่อในกระดูก,หัวใจ, ตับ,พังพืด,พุง,ปอด,ไส้ใหญ่,ไส้เล็ก, อาหารใหม่, อาหารเก่า, ดี, เสลด, หนอง, เลือด, เหงื่อ, มันข้น, น้ำตา, มันเหลว, น้ำลาย, น้ำมูก, ไขข้อ, มูตร, สมองศีรษะ”  
โดยเหตุที่ร่างกายนี้เป็นเครื่องช่วยเหลือหรือเป็นอุปกรณ์ ดังนั้นร่างกายจึงสนับสนุนจิตในกิจกรรมต่างๆของจิต  แต่ก็เป็นเครื่องกั้นหรือเป็นภาระเมื่อบุคคลไม่เข้าใจกายนี้อย่างถูกต้อง เปรียบเหมือนเครื่องมือซึ่งมนุษย์ทำขึ้นเพื่อใช้ในทางดี แต่ก็กลายเป็นอาวุธร้ายปางตายเมื่อใช้ในทางผิดเพราะขาดสติ  มีผู้คงแก่เรียนจำนวนน้อยคนเท่านั้นที่ไม่เข้าใจธรรมชาติทางร่ายกาย แต่ทุกคนที่ถูกตัณหาและมิจฉาทิฐินำไปในทางผิด ย่อมถูกปรากฏการณ์ของร่างกายหลอกลวงให้หลงผิด  ดังนั้นจึงเกิดมีความเห็นแก่ตัวและความรักใคร่อย่างใหญ่หลวงและเกิดมีความทุกข์ ทรมานจากกิเลส ๒ ตัวนี้ ซึ่งจะละได้ก็โดยการบรรเทาความยึดมั่นถือมั่นในร่างกายเท่านั้น
ตามพระพุทธพจน์การยึดมั่นถือมั่นในร่างกายเป็นสังโยชน์คือกิเลสเครื่องร้อยรัดอันหนึ่ง ในบรรดาสังโยชน์ ๑๐ ซึ่งผูกมัดสัตว์ทั้งหลายให้ติดอยู่กับวงล้อ คือสังสารวัฏ คือการเวียนว่าย ตายเกิด ซึ่งเป็นสาเหตุแห่งความทุกข์และความเดือดร้อน  ดังนั้น พระสาวกผู้พยายามเพื่อที่จะตัดสังสารวัฏของตนไม่เพียงแต่จะต้องทำตนเองให้พ้นจากเครื่องผูกมัดทางร่างกายเท่านั้น แต่จะต้องถอนสัง โยชน์คือความรู้สึกผูกพันและการยึดมั่นทั้งหมดออกไปโดยการเข้าใจถึงสภาพ ส่วนตัวของตนแต่ละคน แต่สิ่งนี้จะมีได้ก็ต่อเมื่อเขาวิเคราะห์ส่วนประกอบของร่างกายไม่ใช่ในฐานะเป็นนักศึกษาสรีรวิทยา  แต่ในฐานะเป็นพุทธสาวกผู้ไม่มีความประทับใจในร่างกายของตนเอง และผู้ไม่ท้อถอยเพราะเห็นสภาพความมีอยู่ของร่างกายตามความเป็นจริง  วิธีดำเนินการวิเคราะห์ท่านได้อธิบายไว้ในข้อ ความต่อไปนี้ พร้อมกับคำอธิบายของพระอรรถกถาจารย์
“ร่างกายนี้ซึ่งมีธาตุ ๔ มีหนังปกคลุม ไม่ได้สร้างมาจากสิ่งที่บริสุทธิ์หรือมีคุณค่า เช่น มุก ทับทิม ทอง เงิน หรือหญ้าฝรั่น หรือ การบูรหรือสิ่งที่มีกลิ่นหอมต่างๆ แต่สร้าง มาจากสิ่งต่างๆ ซึ่งเมื่อพิจารณาแยกๆ กันตามสภาพของมันแล้วย่อมนำไปสู่ความร้สึกว่าน่าเกลียด และสกปรก เมื่อบุคคลวิเคราะห์ร่างกายนี้ด้วยสัมมาสติเขาจะพบว่า ส่วนประกอบของร่างกายนี้เป็นธาตุชนิดต่างๆเช่นผม,ขนเล็บ,ฟัน,หนัง,เนื้อ,กระดูก เป็นต้น ซึ่งธรรมชาติที่แท้จริงของมันไม่เพียงแต่ไม่บริสุทธิ์และน่าเกลียดเท่านั้น แต่ยังจะต้องป่วยไข้อีกด้วย  ดังนั้นจึงมีข้อความว่า อตฺถิ อิมสฺมิ กาเย เกสา โลมา นขา เป็นต้น ซึ่งหมายความว่า “ในร่างกายนี้มีเล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เป็นต้น”
อาการ ๓๒ ในร่างกายนี้ ท่านจัดไว้เพื่อพิจารณาแยกกันแต่ละอย่าง หรือแต่ละกลุ่มจะเป็นกรรมฐานประเภทหนึ่งๆ สำหรับเจริญสมาธิ:ในหนังสือคู่มือโยคาวจร ท่านแยกเป็นกรรมฐาน ๓๒ อย่าง และในวิสุทธิมรรค ท่านจัดไว้เป็น ๖ กลุ่ม  ๔ กลุ่มแรกมีกลุ่มละ ๕ อย่าง แต่ละ ๒ กลุ่มหลังมีกลุ่มละ ๖ อย่าง ต่อไปนี้เป็นคำแนะนำในการปฏิบัติกรรมฐานซึ่งปรากฎในพระคัมภีร์วิสุทธิมรรค
“พระสาวกผู้ปรารถนาจะบรรลุพระอรหัตด้วยการปฏิบัติกรรมฐาน ควรเข้าไปหาครูที่สอนเก่ง ครูควรสอนกรรมฐานแก่พระสาวกนั้นโดยอธิบายถึงวิธีศึกษา ๗ อย่าง และวิธีปฏิบัติ ๑๐ อย่าง
วิธีศึกษา
ควรศึกษาโดยวิธีต่างๆ ๗ วิธี คือ ด้วยคำพูด ด้วยหัวใจ สี รูป ทิศ สถานที่และเขต จำกัด
๑. ด้วยกรรมฐานนี้ แม้แต่คนผู้ชำนาญในพระไตรปิฎกควรท่องบ่นด้วยคำพูดในเบื้องต้นในขณะเจริญกรรมฐาน อารมณ์กรรมฐานจะชัดเจนสำหรับผู้ที่ทำดังนี้ อย่างที่เกิดขึ้นแก่พระสาวก ๒ องค์ผู้รับกรรมฐานนี้จากพระมหาเทวะ พระเถระผู้อยู่ในเมืองเชิงเขาชื่อเมืองมาลายา กล่าวกันว่า พระเถระรูปนี้เมื่อถูกพระ ๒ รูป ขอร้องให้ให้กรรมฐาน ได้บอกอาการ ๓๒ เป็น ภาษาบาลี พร้อมกับสั่งว่าให้ท่องบ่นเป็นเวลา ๔ เดือนแม้ว่าพระภิกษุ ๒ รูปนั้นจะมีความรู้ ความชำนาญในนิกาย ๓ นิกาย แต่ก็ยังต้องสาธยายกรรมฐานนี้ถึง ๔ เดือน ก่อนที่จะบรรลุผลสำเร็จ ดังนั้นผู้ที่จะสอนกรรมฐานนี้ควรแนะนำศิษย์ของตนให้สาธยายสูตรโดยแบ่งเป็น ๖ หมวด และให้ท่องจำหมวดเหล่านั้นทั้งโดยอนุโลมและปฏิโลม
หมวดที่๑ เขาควรสาธยายดังนี้ เกสา,โลมา,นะขา,ทันตา,ตะโจ แบบอนุโลม และว่า ตะโจ,ทันตา,นะขา,โลมา,เกสา แบบปฏิโลม นี้เรียกว่า ดจปัญญจกกรรมฐาน คือกรรมฐานที่มีหนังเป็นข้อสุดท้าย
หมวดที่ ๒ เขาควรสาธยายว่า มังสัง นะหารู อัฎฐิ อัฎฐิมิญชัง วักกังโดยอนุโลม และว่าวักกัง อัฎฐิมิญชัง อัฎฐิ นหารู มังสัง ตโจ ทันตา นะขา โลมา เกสา โดยปฏิโลม พร้อมกับ หมวดแรก แล้วก็สาธยายอีกจาก เกสา ถึงวักกัง หมวดนี้เรียกว่า วักกะ ปัญจกะ คือ มีวักกะ เป็นที่ห้า
หมวดที่ ๓ เขาควรสาธยายว่า “หะทะยัง, ยะกะนัง กิโลมกัง ปิหะกัง ปัปผาสัง โดยอนุโลมและโดยเริ่มต้นด้วยปัปผาสัง และจบด้วยเกสาโดยปฏิโลม และแล้วก็เริ่มจากเกสาไปจนจบปัปผาสังนี้ เรียกว่า ปัปผาสปัญจกะ คือมีปัปผาสะเป็นที่ ๕
หมวดที่ ๔  เขาควรสาธยายว่า อันตัง, อันตะคุณัง, อุทริยัง, กรีสัง มัตถลุงคัง โดยอนุโลม และจากมัตถลุงคัง ไปจนถึงเกสาและแล้วไปจนจบมัตถลุงดังนี้เรียกว่ามัตถลุงคะปัญจกะ คือมีมัตถลุงคะ เป็นที่ ๕ เป็นข้อสุดท้าย
หมวดที่ ๕  เขาควรสาธยายว่า ปิตตัง, เสมหัง, ปุพโพ, โลหิตัง เสโท เมโท โดยอนุโลม และจากเมโทถึงเกสาและแล้วจากเกสาถึงเมโท เรียกว่า เมทปัญจกะคือ เมทะ เป็นที่ ๕ เป็นข้อสุดท้าย
หมวดที่ ๖  เขาควรสาธยายว่า อัสสุ, วสา, เมโล, สิงฆานิกา, ลสิกา มุตตังโดยอนุโลม และว่ามุตตังถึงเกสา และแล้วจากเกสาถึงมุตตัง โดยปฏิโลมนี้เรียกว่ามุตตะปัญจกะ คือมี มุตตะ เป็นที่ห้า
พระสาวกควรสาธยายซํ้าๆ เป็น ๑๐๐ ครั้ง ๑๐๐๐ ครั้ง หรือแม้ถึงแสนครั้ง เพราะว่า ด้วยการสาธยายเช่นนั้น เขาจะชินกับอารมณ์กรรมฐวนนั้นและจิตของเขาจะไม่กวัดแกว่งไปมา อาการ ๓๒ จะปรากฏอย่างชัดเจน และต่อเนื่องกันดุจโซ่ที่อยู่ในมือ
๒. ในขณะที่พระสาวกสาธยายด้วยปาก เขาควรสาธยายอยู่ในจิต ด้วยการสาธยายเป็นคำพูดออกมาย่อมเป็นสาเหตุแห่งการสาธยายทางจิตด้วย และการสา ธยายทางจิตย่อมช่วยให้เข้าใจอย่างแจ่มแจ้งถึงลักษณะของอาการ ๓๒ เหล่านั้น
๓.  เขาควรศึกษาร่างกายโดยการสังเกตสีของแต่ละส่วน เช่น  สีของผม เป็นต้น (การสาธยายโดยกำหนดสีนี้อาจก่อรูปเป็นกสิณสี ๔ อย่าง ซึ่งอ้างถึงในตอนอธิบายวิโมกข์ ๑ อย่างแรก ในวิโมกข์ ๘ และเรื่องอภิภายตนะ ๘ อย่าง เขาควรศึกษาและสังเกตรูปและทิศทางของอาการเหล่านี้ (คือส่วนนี้มีอยู่ตอนบนของร่างกาย ส่วนนั้นมีอยู่ตอนล่างของร่างกาย) สังเกตสถานที่ (คือส่วนนี้มีอยู่ที่แนวนี้เป็นต้น) และสังเกตเขตจำกัด (คือจำกัดส่วนของร่างกายว่าอยู่ ตอนบนตอนล่าง รอบๆ และแยกส่วนนั้นๆ แต่ละส่วนตามชนิดของมัน) ควรศึกษาเรื่องนี้โดย ละเอียดโดยวิธีต่างๆ ๗วิธีเหล่านี้
อนึ่ง ครูควรอธิบายเรื่องนี้โดยรู้ว่าท่านอธิบายไว้ในพระสูตรต่างๆ ว่าเป็นการกระทำไว้ในใจโดยความเป็นของปฏิกูล และในพระสูตรต่างๆ ว่าเป็นการกระทำไว้ในใจโดยความเป็นธาตุ ในมหาสติปัฎฐานสูตรท่านอธิบายว่าเป็นของปฏิกูลในมหาหัตถิปโทปมสูตร, มหารารุโลวาทสูตร ท่านอธิบายไว้ว่าเป็นการกระทำไว้ในใจว่าเป็นธาตุ ที่ท่านกล่าวไว้ว่าเป็นธาตุจัดเป็นวิปัสสนาภาวนา ที่ท่านกล่าวว่าเป็นของปฏิกูล จัดเป็นสมถภาวนา
ในที่นี้ควรเข้าใจว่าเมื่อคนที่เข้าใจธรรมชาติพื้นฐานของร่างกายเจริญกายคตาสตินั้น กายคตาสติย่อมขจัดเสียซึ่งความเข้าใจผิดเกี่ยวกับตัวตนบุคคลเราเขา และดังนั้นย่อมสร้างความรู้แจ้งเพื่อบรรลุพระนิพพาน  เมื่อเจริญกายคตาสติด้วยความรู้สึกเกลียดชังในความปฏิกูลของร่างกาย กายคตาสติย่อมชำระจิตให้ปราศจากกิเลสและนำไปสู่ปฐมฌาน และ ดังนั้นย่อมสร้างทางแห่งความสงบอันนำไปสู่วิปัสสนาคือความรู้แจ้ง  เมื่อบุคคลเจริญกายคตาสติโดยยึดส่วนของร่างกายว่าเป็นอารมณ์กรรมฐานที่มีสี  กายคตาสติย่อมก่อให้เกิดฌาน ๔ อย่างตามที่ได้กล่าวไว้แล้วในกายคตาสติสูตร ในที่นี้สิ่งที่ท่านอธิบายว่าเป็นกรรมฐานก็คือปฏิกูลมนสิการ ซึ่งได้แก่สมถภาวนา อันจะนำไปสู่ปฐมฌาน
ในภาคปฏิบัติ
หลังจากอธิบายวิธีศึกษาอารมณ์ ๗ ประเภทแล้ว ต่อไปครูควรอธิบายลักษณะ ๑๐ อย่างในการปฏิบัติ คือ การบรรลุธรรมตามลำดับ ไม่เร็วเกินไป ไม่ช้าเกินไป เลี่ยงการยึดมั่น ถือมั่น ไม่ยึดบัญญัติ เปลี่ยนลำดับโดยอาศัยอัปปนา และควรอธิบายถึงพระสุตตันตะ ๓ อย่าง ซึ่งท่านอธิบายไว้ข้างล่างนี้
 ในที่นี้ “การบรรลุธรรมตามลำดับ” หมายความว่า พระสาวกควรจะพิจารณา อาการ ๓๒ ของร่างกายทีละอย่างโดยไม่ขาดสายนับตั้งแต่เวลาที่ท่องบ่นด้วยวาจานั้นเอง เพราะว่าผู้ที่มีความคิดกวัดแกว่งย่อมทำส่วนบางส่วนให้ตกหล่นไป จึงไม่ได้บรรลุธรรมคือสมาธิ แต่จะรู้สึกว่ามีจิตอ่อนเพลียและไม่ได้รับผลในการปฏิบัติธรรม
 ในการพิจารณา ๓๒ ตามลำดับ พระสาวกไม่ควรเร่งรีบให้เร็วเกินไปโดยไม่สังเกตลักษณะ ของอาการต่างๆ เพราะว่าในการเร่งรีบพิจารณาเช่นนั้น อารมณ์จะไม่ชัดและดังนั้นจะไม่ได้รับผล แห่งการปฏิบัติ
 การพิจารณาอารมณ์ที่ช้าเกินไปย่อมมีผลเช่นเดียวกับการพิจารณาอารมณ์ที่เร่งรีบเกินไป ดังนั้น พระสาวกควรเจริญสมาธิอย่างไม่ช้าเกินไป ทั้งไม่เร่งรีบเกินไป แต่ควรเลี่ยงทำความเซื่องซึมและความเคร่งครัดเกินไปในขบวน การของจิต
 พระสาวกควรตื่นอยู่และมีสติอยู่เสมอ โดยเกรงว่าจิตจะถูกอารมณ์ภายนอกมารบกวน ถ้าจิตถูกสิ่งภายนอกรบกวน อารมณ์ของกรรมฐานจะกวัดแกว่งและหายไป ดังนั้นเขาควรปฏิบัติ ธรรมโดยไม่ให้เกิดความฟุ้งซ่านเกิดขึ้น
 เมื่อเจริญสมาธิดีขึ้น เมื่อแต่ละส่วนของร่างกายชัดเจนในจิตและเมื่อเข้าใจถึงความไม่สะอาดของร่างกายแล้ว พระสาวกไม่ควรถือว่าส่วนต่างๆ ของร่างกายเป็นบัญญ้ติ เช่น ผม เล็บ เป็นต้น แต่ควรควบคุมความคิดที่ว่าส่วนเหล่านี้เป็นเพียงสิ่งปฏิกูล น่าเกลียดโดยส่วนเดียว การกล่าวคำว่า เกสา โลมา เป็นต้น ซํ้าๆ จะมีประโยชน์ในช่วงเวลาที่ความรู้สึกว่าปฏิกูล ปรากฏชัดเจนในจิตเท่านั้น หลังจากนั้นควรเลิกละการพิจารณาเสีย เพราะว่า แม้สภาพเช่นนี้ก็ย่อมจะเกี่ยวพันกับความคิดเรื่องตัวตนของแต่ละบุคคล ความเข้าใจเรื่องปัจเจกสภาพนี้จะ ทำให้ความจริงเรื่องความมีความเป็นเลือนลางและจะเป็นบ่อเกิดแห่งความเกลียดชัง ดังนั้น พระสาวกควรตั้งสติควบคุมความคิดที่ว่าอาการ ๓๒ เหล่านี้เป็นปฏิกูลโดยไม่ติดเรื่องบัญญัติ
 ในตอนเริ่มต้นเมื่อพระสาวกพิจารณาอาการ ๓๒ ตามลำดับ ขบวนการแห่งความคิดจะเริ่มต้นจากเกสาไปจนถึงข้อสุดท้าย คือมุตตังและหยุดอยู่  ณ ที่นั้น เมื่อพิจารณาแบบปฏิโลมคือย้อนลำดับ ขบวนการจะเริ่มต้นจาก มุตตัง ไปจนถึงข้อแรกคือเกสา และหยุดอยู่ ณ ที่นั้น ถ้าในขณะที่ทำเช่นนี้ ไม่เห็นส่วนใดว่าเป็นสิ่งปฏิกูลอย่างชัดเจน ควรทิ้งส่วนนั้นเสีย และ พิจารณาเฉพาะส่วนที่ปรากฏชัด เมื่อส่วน ๒ ส่วนปรากฏเป็นปฏิกูลอย่างชัดเจน จึงควรพิจารณาเฉพาะส่วนที่ปรากฏชัดเจนกว่า  ดังนั้น เมื่อทิ้งส่วนที่ไม่ชัดเจนทั้งหลาย และ พิจารณา ติดตามส่วนที่ชัดเจนพวกสาวกควรปฏิบัติต่อไปจนได้บรรลุถึงอัปปนา คือความแน่วแน่
 การเจริญสมาธิโดยพิจารณาส่วนใดส่วนหนึ่งของอาการ ๓๒ ย่อมนำไปสู่อัปปนาได้ เพราะแต่ละส่วนย่อมก่อให้เกิดปฏิภาคนิมิตเช่นเดียวกับกสิณแต่อัปปนานั้นเพราะเหตุที่เป็น ภาพแห่งความไม่สะอาด เช่นเดียวกับอสุภะ ๑๐ อย่าง จึงช่วยให้บรรลุเพียงปฐมฌานเท่านั้น เมื่อแยกพิจารณาแต่ละส่วน เราจะได้อัปปนากรรมฐาน ๓๒ อย่างในกายคตาสติ ซึ่งแต่ละอย่างจะนำไปสู่ปฐมฌาน ดังนั้นควรเข้าใจข้อนี้โดยอาศัยอัปปนา
มีพระสูตร ๓ พระสูตรซึ่งพระสาวกผู้เจริญสมาธิจะต้องศึกษาเป็นพิเศษ ได้แก่ พระสูตรที่มีคำอธิบายเรื่องอธิจิตตะ สีติภาวะ และโพชฌังคะโกสัลละ ครูควรอธิบายให้ศิษย์ของตนเข้าใจว่าธรรมเหล่านี้เป็นคำสอนที่จำเป็นสำหรับควบคุมจิตและรักษาจิตไว้ให้เหม่าะสมสำหรับการเจริญสมาธิ
  เกี่ยวกับอธิจิตตะ ซึ่งหมายถึงการพัฒนาความคิดให้สูงขึ้นท่านให้คำสอนไว้ดังต่อไปนี้
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ภิกษุผู้มุ่งหวังที่จะมีความคิดอันสูงขึ้น (อธิจิต) ควรคิดถึงอารมณ์ ๓ อย่างเหล่านี้เสมอๆ คือ อารมณ์คือสมาธิ อารมณ์คือการยึดสมาธิ และ อารมณ์คืออุเบกขา
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จริงอยู่ ถ้าภิกษุผู้นั้นมุ่งที่จะพัฒนาอารมณ์ให้สูงขึ้น จะพิจารณาอารมณ์คือสมาธิ  จิตของภิกษุนั้นอาจโน้มน้อมไปสู่สภาพที่ไม่คล่องตัว  ถ้าภิกษุนั้นจะพิจารณาอารมณ์คือการยึดสมาธิ จิตอาจโน้มน้อมไปสู่สภาพที่ไม่มีการพักผ่อนก็เป็นได้  ถ้าจะพิจารณาอารมณ์คืออุเบกขา จิตอาจไม่มีสมาธิดีพอสำหรับการทำลายอาสวะทั้งหลาย  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะว่าภิกษุผู้พิจารณาเสมอๆ ถึงอารมณ์สมาธิ อารมณ์คือการยึดสมาธิ และ อารมณ์คืออุเบกขา จิตของภิกษุนั้นจะไม่หวั่นไหวต่ออารมณ์ พร้อมที่จะทำการ ผ่องใส และไม่เปราะ แต่จะมีสมาธิอันดีเพื่อทำลายเสียซึ่งอาสวะทั้งหลาย,  ภาวะอันใดที่จะรู้ได้ด้วยปัญญาอันสูง ภิกษุนั้นย่อมเข้าใจภาวะอันนั้นด้วยความชำนาญของตนเอง ในขณะที่ส่งจิตที่เหมาะสมดวงนั้นไปยังสภาวะนั้น” ควรเข้าใจว่าพระสูตรนี้อธิบายเรื่อง “อธิจิต” คือ “จิตอันยิ่ง”
 เกี่ยวกับ สีติภาวะ” คือความเยือกเย็นมีคำอธิบายดังต่อไปนี้ : “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เพียบพร้อมด้วยคุณสมบัติ ๖ อย่าง ย่อมเป็นผู้สมควรที่จะเข้าใจ อย่างประจักษ์ถึงความเยือกเย็นอันหาที่เปรียบมิได้ คุณสมบัติ ๖ อย่างนั้นได้แก่อะไรบ้าง? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ในที่นี้ ภิกษุย่อมตรวจสอบจิตของตนเมื่อถึงเวลาที่ควรตรวจสอบ ควรยกจิตของตนเมื่อถึงเวลาที่ตนยก ควรทำจิตของตนให้ยินดีเมื่อถึงเวลาที่ควรทำจิตให้ยินดี ควรชั่งจิตของตนเมื่อถึงเวลาที่ควรชั่ง ภิกษุนั้นมีจิตมุ่งต่อสิ่งที่สูงส่งและมีจิตยินดีในพระนิพพาน ภิกษุผู้เพียบพร้อมด้วยคุณสมบัติ ๖ อย่างเหล่านี้ ย่อมเป็นผู้เหมาะสมที่จะได้รู้อย่างประจักษ์ถึงความเยือกเย็นอันหาที่เปรียบไม่ได้ ควรเข้าใจว่าพระสูตรนี้อธิบายคำว่า “สีติภาวะ”
๑๐  โพชฌังคะโกสัลละ ซึ่งได้แก่ความฉลาดในองค์แห่งการตรัสรู้ท่านอธิบายไว้ดังต่อ ไปนี้:
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เมื่อจิตหดหู่ย่อมเป็นเวลาที่จะต้องพัฒนาโพชฌังคะข้อวิจัย ข้อวิริยะและข้อปีติ เหตุผลเป็นอย่างไร เหตุผลก็คือว่าเป็นการง่ายที่จะยกจิตที่หดหู่ขึ้นสู่ภาวะเหล่านี้ พระสูตรนี้อธิบายถึง “โพชชังคะโกสัลละ”
การปฏิบัติเบื้องต้น
หลังจากศึกษากรรมฐานข้อนี้โดยวิธีต่างๆ ๗วิธี และเมื่อรู้วิธีปฏิบัติ ๑๐ อย่างเช่นนี้แล้ว พระสาวกควรอยู่ในสำนักเดียวกับครูหรือในที่ที่เหมาะสม ควรตัดอุปสรรคทุกอย่างและเริ่มปฏิบัติเบื้องต้น โดยพิจารณาความเป็นสิ่งปฏิกูลของร่างกาย
เบื้องแรก ควรยึดนิมิตในผมโดยวิธีนี้ คือถอนผม ๑ หรือ ๒ เส้นออกมาและวางไว้ในฝ่ามือ แล้วควรสังเกตสีของผม อาจมองดูผมซึ่งถูกถอนออกมาจากศีรษะที่ใดก็ตามที่เขาพบ ถ้าผมมีสีดำ ควรใช้จิตกำหนดว่า “ดำ”  ถ้าผมมีสีขาว ควรใช้จิตกำหนดว่า “ขาว” ถ้ามีสีผสมกัน ควรพิจารณาสีที่เด่นชัดกว่า พิจารณาผมโดยวิธีนี้ ฉันใด ก็ควรพิจารณาส่วนอื่นๆ ของร่างกายฉันนั้น ควรยึดนิมิตแห่งอวัยวะ ๕ ส่วนเบื้องต้น ซึ่งส่วนสุดท้ายคือหนัง
หลังจากยึดนิมิตแล้ว พระสาวกควรพิจารณาถึงความเป็นอสุภะของอวัยวะ ๕ อย่างนี้ โดยพิจารณาถึง สี รูป กลิ่น ที่เกิด และตำแหน่งการเจริญสมาธิ การพิจารณาส่วนอื่นของร่างกาย ก็ควรดำเนินการเช่นเดียวกัน สมควรยึดนิมิตแห่งอวัยวะ ๕ อย่างเบื้องต้นเสื่อมองเห็น และที่เหลือควรยึดเมื่อได้ยินหรือได้ศึกษานิมิตที่ยึดได้จากแต่ละส่วนในอาการ ๓๒  ควรได้รับการพัฒนา โดยการกล่าวซ้ำๆ ว่า ปฏิกูลัง ปฏิกูลัง ไม่เร็วเกินไป ไม่ช้าเกินไป ตามแบบที่กล่าว แล้วในวิธีอนุโลมคือตามลำดับนั้นแล
ฌาน
ต่อมาในขณะที่ตัดบัญญัติเกี่ยวกับ ผม เล็บ เป็นต้นนั้น พระสาวกควรตรวจสอบร่างกายทุกส่วนว่าเป็นส่วนประกอบของภาวะเหล่านั้น และ ภาวะเหล่านั้นทั้งหมดจะปรากฏแก่พระสาวกนั้นทันที เสมือนหนึ่งลูกปัด ๓๒ พวง ๓๒ สี ซึ่งร้อยอยู่ในเส้นด้ายเส้นหนึ่งปรากฏเป็นหนึ่ง ฉะนั้น เมื่อพระสาวกสนใจกับอารมณ์ภายนอก เช่นร่างกายของคนอื่นๆ สัตว์หรือสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ทุกสิ่งจะปรากฏแก่พระสาวกนั้นเสมือนหนึ่งกองของชิ้นส่วนต่างๆ จำนวนมาก ไม่ใช่บุคคลหรือ สัตว์  ดังนั้นจิตของพระสาวกจะปราศจากความเข้าใจที่ว่ามีตัวมีตน ในขณะที่พิจารณาต่อไปนั้น ตามคำแนะนำที่ครูให้ไว้ นิวรณ์ทั้งหลายย่อมหมดสิ้นไป และองค์แห่งฌานที่ ๑ ย่อมปรากฏขึ้น ตามที่กล่าวแล้วในอสุภกรรมฐานนั้นแล
ปฐมฌานนี้ย่อมเกิดขึ้นในอวัยวะส่วนหนึ่ง หรือหลายส่วนของร่างกายสืบต่อกันไป ในขณะที่พระสาวกปรารถนาจะบรรลุ หรือ ในขณะที่อสุภนิมิตปรากฏอย่างชัดเจน เพราะว่า คนเราอาจบรรลุฌานได้ในส่วนต่างๆ ของร่างกายอย่างสืบเนื่องกัน ถ้าพระสาวกปรารถนาจะบรรลุ กายคตาสตินี้มีอารมณ์ ๕ อย่างเกี่ยวพันกับ สี รูป กลิ่น ที่เกิด และตำแหน่งของอวัยวะแต่ละส่วน ดังนั้น จึงต้องควบคุมสตินี้ด้วยอำนาจแห่งวิตกซึ่งเป็นองค์แห่งปฐมฌาน แต่ไม่ได้บรรลุถึงฌานขั้นอื่นๆ ซึ่งไม่มีวิตก พระสาวกผู้ได้บรรลุปฐมฌานด้วยอสุภกรรมฐาน อาจได้บรรลุฌานอื่นๆ ในภายหลังด้วยการพิจารณาสี โดยวิธีนี้ ท่านจึงกล่าวว่า กายคตาสติย่อมก่อให้เกิดฌานขั้นอื่นๆ ได้ ในขณะที่เจริญวิปัสสนาโดยอาศัยพื้นฐานคือปฐมฌาน ซึ่งได้บรรลุด้วยการเจริญกายคตาสตินั้น พระสาวกจะบรรลุพระนิพพาน
ดังนั้น อารมณ์กรรมฐานประเภทนี้ย่อมให้ผลอันมหาศาลตามที่ท่านอธิบายไว้ในพระไตรปิฎกด้วยประการฉะนี้

No comments:

Post a Comment