บทที่ ๑๔
อสุภภาวนา การเจริญสมาธิโดยอาศัยรังสีไม่สวยงาม
![]() |
https://www.youtube.com/watch?v=rbNHIjbtbt0 |
๑ บทนำ
ลักษณะพื้นฐาน ๓ อย่างของสิ่งมีชีวิตซึ่งผูกมัดบุคคลให้ติดอยู่ในสังสารวัฏสงสาร
คือการเกิดตายซํ้าๆซากๆ ได้แก่กามตัณหา ภวตัณหา และอวิชชา สิ่งมีชีวิตซึ่งอยู่ในโลกแห่งกามคุณย่อมถูกตัณหาครอบงำ
ตัณหานี้จะแสดงบทบาทผ่านอายตนะทั้ง ๕ และดังนั้นจึงรึงรัดเอาสภาพความเป็นอยู่ทางร่างกายทั้งหมดไว้จิตที่มัวหมองด้วยอำนาจแห่งกามคุณ
ย่อมจะเพิ่มพูนอารมณ์ซึ่งเต็มไปด้วยกิเลสที่นำบุคุคลไปสู่พฤติกรรมหลายหลาก ซึ่งสนองความต้องการของอายตนะทั้งหลาย
กรรมซึ่งพฤติกรรมเหล่านั้นสร้างขึ้น ย่อมทำให้เขาอยู่ใน สภาพความเป็นอยู่ที่ต่ำ
ซึ่งทำให้เขาได้รับความสุขและความทุกข์ซ้ำแล้วซ้ำอีกไม่มีที่สิ้นสุด
เมื่อถูกหลอกโดยความจริงและความมีค่าอันไม่แน่นอนที่มีอยู่ในร่างกาย มนุษย์ย่อมไม่เข้าใจ
หนทางที่จะนำไปสู่ความสิ้นทุกข์ ร่างกายของมนุษย็ไม่เพียงแต่จะเป็นแหล่งความเหลวไหล
ตลอดกาลด้วยเหตุผลหลายๆ อย่างเท่านั้น แต่ยังเป็นโซ่ตรวนซึ่งป้องกันไม่ให้หนีทุกข์ไปได้ด้วย
ดังนั้นโซ่ตรวนอันนี้จะต้องถูกทำลายเสีย
ถ้าหวังจะได้ความสุขอันเกิดจากความสงบภายใน และความสุขนี้จะมีได้เฉพาะแก่ผู้ที่เข้าใจถึงสภาพอันไม่แน่นอนของร่างกาย
แต่อย่างไรก็ตาม ความเข้าใจเรื่องนี้จะเกิดขึ้นได้ก็โดยอาศัยการเจริญสมาธิ
ด้วยการพิจารณาร่างกาย และดังนั้นจึงมีรูปแบบของการเจริญสมาธิหลายอย่าง ซึ่งปรากฏหลักฐานในพระไตรปิฎกแบบหนึ่ง
ได้แก่ อสุภภาวนา ซึ่งปี ๑๐ ลักษณะเพื่อเผชิญกับแบบต่างๆ
ของความโน้มน้อมของกิเลสตัณหา
คำว่า “อสุภะ” ซึ่งโดยปกติหมายถึง “ความเน่าเหม็น” หรือ “ความไม่บริสุทธิ์”
นั้น ในที่นี้หมายถึงความเปื่อยเน่าของศพตามขั้นตอนต่างๆ ๑๐ ขั้น ตลอดถึงนิมิต
หรือธรรมารมณ์ ที่เกิดขึ้นในขั้นต่างๆ เหล่านั้น และฌานที่เกิดจากนิมิตนั้น
วิธีคิดที่เหมาะสม หรือการ พัฒนาแนวความคิดเกี่ยวกับธรรมชาติที่ไม่สะอาดของร่างกาย
เรียกว่า “อสุภาภวนา” ภาวนา นี้ได้รับการแนะนำว่าเป็นการปฏิบัติที่สำคัญในข้อความต่อไปนี้
“โอ ราหุล, จงเจริญอสุภภาวนา เพราะว่า เมื่อเธอเจริญอสุภภาวนา กิเลสตัณหาจะ
หมดสิ้นไป”
“บุคคลควรเจริญสมาธิโดยอาศัยอสุภะ เพื่อละกิเลสเสียได้”
ตามหลักฐานในพระไตรปิฎก การปฏิบัติอสุภภาวนา เป็นแนวปฏิบัติซึ่งมีในพระพุทธศาสนาเท่านั้น
และตามที่ปรากฏในวินัยปิฎกตอนที่ว่าด้วยอาบัติปาราชิกข้อ ๓ คงมีการกล่าวถึงข้อนี้ในยุคแรกๆ
แห่งพระพุทธศาสนา
ความปฏิกูลซึ่งมีอยู่ในร่างกายเป็นที่ยอมรับกันในระหว่างนักพรตในประเทศอินเดีย
แต่วิธีการเจริญสมาธิโดยอาศัยซากศพแบบนี้ ไม่ปรากฏในระบบการสอนใดๆของอินเดีย นอกจากระบบการสอนในพระพุทธศาสนา
ตามที่กล่าวแล้ว การเจริญสมาธิแบบนี้ได้เสนอแนะ ขึ้นมาในพระพุทธศาสนา
ก็เพื่อผู้ที่มีราคจริต อสุภะมีทั้งหมด ๑๐
ประเภทต่างๆ กันตาม ลักษณะต่างๆ ของซากศพ ซึ่งท่านกล่าวไว้ในพระคัมภีร์ธรรมสังคณี ตอนว่าด้วยองค์แห่งปฐมฌานดังต่อไปนี้
๑ อุทธุมาตกะ ซากศพที่เน่าพองขึ้นอืด
๒ วินีลกะ กศพที่มีสีเขียวคลาคละด้วยสีต่างๆ
๓ วิปุพพกะ ซากศพที่มีนํ้าเหลืองไหลเยิ้ม ตามที่ปริแตกออก
๔ วิจฉิททกะ ซากศพที่ฉีกขาดจากกันเป็น ๒ ท่อน
๕ วิกขายิตกะ ซากศพที่ถูกสัตว์ เช่นแร้ง กา สุนัขกัดกิน
๖ วิกขิตตกะ ซากศพที่กระจัดกระจายทั่วไป
๗ หตวิกขิตตกะ ซากศพที่ถูกสับฟันเป็นท่อนๆ กระจัดกระจายทั่วไป
๘ โลหิตกะ ซากศพที่มีโลหิตไหลอาบเปรอะเปื้อนอยู่
๙ ปุลวกะ ซากศพที่มีหนอนคลาคล่ำเต็มไปหมด
๑๐ อัฏฐิกะ ซากศพที่ยังเหลืออยู่แต่ร่างกระดูกหรือท่อนกระดูก
ตามที่ปรากฏในพระอรรถกถา อสุภกรรมฐานแบ่งออกเป็น ๑๐ ประเภท ตามสภาพความเปื่อยเน่าของซากศพ
และท่านกำหนดขึ้นสำหรับผู้ที่มีจริตต่างๆ กัน ๑๐ ประเภท ดังนี้
๑ ซากศพที่เน่าพองขึ้นอืดนั้น เหมาะสำหรับผู้ที่มีราคจริต ปรารถนารูปที่สวยงาม
โดยที่เป็นเบื้องต้นของศพที่เน่าเปื่อย
๒ ซากศพซึ่งมีสีเขียวคลํ้าคละด้วยสีต่างๆ ซึ่งแสดงถึงความงามของผิว ที่ผิดเพี้ยนไปนั้น
เหมาะสำหรับผู้ที่มีราคจริตปรารถนาผิวที่สวยงาม
๓ ซากศพที่มีน้ำเหลืองออกจากร่างกายนั้น เหมาะสำหรับผู้ที่มีความปรารถนา
ร่างกายที่มีกลิ่นหอม ซึ่งสร้างขึ้นมาจากดอกไม้ นํ้าหอมและขึ้ผึ้งประดิษฐ์
๔ ซากศพที่ฉีกขาด ซึ่งแสดงถึงความมีช่องต่างๆ
ในร่างกายนั้น เหมาะสำหรับผู้ที่ปรารถนาที่จะให้ร่างกายมั่นคงและแข็งแรง
๕ ซากศพที่ถูกสัตว์กัดกิน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความไม่สมบูรณ์
และความไม่เต็มเปี่ยมแห่งเนื้อนั้น เหมาะสำหรับผู้ปรารถนาจะให้เนื้อเต็มอยู่เสมอในส่วนของร่างกายที่แตกแยกออกไป
๖ ซากศพที่กระจัดกระจายไป ซึ่งมีแขนขากระจัดกระจายไปนั้น เหมาะสำหรับผู้
ปรารถนาจะเห็นการเคลื่อนไหวที่สวยงามของร่างกาย
๗ ซากศพที่ถูกสับฟันตัดเป็นท่อนกระจัดกระจายไป ซึ่งมีข้อต่อทั้งหลายหลุดออกจากที่นั้น
เหมาะสำหรับผู้ปรารถนาจะเห็นความสมบูรณ์ของข้อต่อทั้งหลายในร่างกาย
๘ ซากศพที่มีโลหิตไหลอาบเปรอะเปื้อน ซึ่งแสดงถึงความน่าสะอิดสะเอียนของ
ร่างกายซึ่งเปื้อนเปรอะไปด้วยเลือดนั้น
เหมาะสำหรับผู้ที่ปรารถนาความงามซึ่งเกิดจากการ ประดับตกแต่ง
๙ ซากศพที่มีหนอนคลาคลาเต็มไปหมด
ซึ่งแสดงให้เห็นสภาพของร่างกายที่มีหนอนนานาชนิดอาศัยอยู่เต็มนั้น
เหมาะสำหรับผ้มีความคิดว่าร่างกายนี้หรือคือ “ข้าพเจ้า” และ “ของข้าพเจ้า”
๑๐ ซากศพที่ยังเหลือแต่ร่างกระดูกหรือท่อนกระดูก ซึ่งแสดงถึงความน่ากลัวของกระดูก
ซึ่งมีในร่างกายนั้น เหมาะสำหรับผู้มีความปรารถนาจะเห็นความสมบูรณ์ของฟันและเล็บ
ดังนั้น ซากศพ ๑๐ ประเภท เหล่านี้ ท่านเสนอแนะว่าเป็นอารมณ์ของกัมมัฏฐาน ๑๐
ประเภท ซึ่งท่านกำหนดขึ้นเพื่อแก้ไขจริตประเภทต่างๆ ของคนให้ถูกต้องและเหมาะสม
อสุภกัมมัฏฐานคล้ายๆ กันนี้จะพบได้ในสติปัฏฐานสูตร ท่านอธิบายสภาพของ
ร่างกายที่ตายแล้วไว้ ๙ ขั้นตอน คือ สีวถิกาย ฉฑฺฒิตํ ซึ่งแปลว่า
สถานที่ที่เขาโยนร่างกายที่ตายแล้วให้เน่าเปื่อยไปเองแทนที่จะฝังหรือเผา
สมาธิข้อนี้ท่านกล่าวไว้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ซึ่งประกอบด้วยสมถะและวิปัสสนา
และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นสมาธิที่สร้างหนทางแห่งความหลุดพ้นสำหรับผู้มีราคจริต
อสุภะ ๑๐ ซึ่งท่านกล่าวไว้ในพระคัมภีรธรรมสังคณีในรูปแบบที่แสดงข้างบนนี้
รวมอยู่ในประเภทของกัมมัฏฐานในพระคัมภีร์วิสุทธิมรรค ซึ่งถือว่าอสุภะทั้ง ๑๐ เหล่านี้
เป็นอารมณ์กัมมัฏฐาน ซึ่งสามารถก่อให้เกิดอัปปนาสมาธิได้
แต่อสุภะเหล่านี้จะให้ผลได้เฉพาะฌานที่หนึ่งเท่านั้น
เพราะว่าธรรมารมณ์ที่เกิดจากอสุภะเหล่านี้ไม่มีพลังพอที่จะพัฒนาไปสู่ฌาน อื่นๆ
ที่สูงขึ้นได้ พระอรรถกถาจารย์อธิบายไว้ดังนี้ “ในแม่น้ำที่มีน้ำไหลด้วยกระแสที่เร็ว
เรือลำหนึ่งๆ จะสามารถอยู่นิ่งๆ ได้ ก็ด้วยพลังแห่งหางเสือเรือฉันใด
จากความอ่อนแอของ ธรรมารมณ์ในการเจริญสมาธิ
ซึ่งเนื่องมาจากความน่าสะอิดสะเอียนของอารมณ์นั้นเอง จิตสามารถหลุดพ้นจากปัจจัยของมันและเป็นสมาธิก็ด้วยพลังแห่งวิตกเท่านั้น
ดังนั้นเนื่องจากความอ่อนพลังของผลทางจิตวิทยา อสุภกัมมัฏฐานทั้ง ๑๐ อย่าง จึงนำไปสู่ฌานขั้นต้นเท่านั้นยังมีวิตกอยู่
และไม่ถึงฌานขั้นสูงขึ้น
แม้ว่าอารมณ์กรรมฐานเหล่านี้ จะอยู่ในสภาพที่ เน่าเปื่อย และไม่น่าพอใจก็ตาม
แต่ก็จะเกิดมีปิติขึ้นแก่ผู้ที่เจริญสมาธิด้วยอารมณ์เหล่านั้น
ผู้แสวงหาทางขจัดความทรมานอันเกิด จากตัณหาและเครื่องขัดขวางความเจริญอย่างอื่น
และหาทางทำลายการเกิด การเจ็บปวดและ การตายให้สิ้นไป
เขาเปรียบเหมือนคนป่วยที่มีความยินดี เพราะความป่วยไข้และความทุกข์
บรรเทาลงโดยการรักษา เช่นการใช้ยาที่ทำให้อาเจียนและยาถ่าย ดังนั้น แม้ว่าจะมีสิ่งที่น่ารังเกียจ
และน่าเกลียดในอารมณ์กรรมฐานที่เน่าเปื่อยเหล่านี้ก็ตาม แต่เพราะว่าอารมณ์กรรมฐานเหล่านี้นำไปสู่ปฐมฌาน
ซึ่งเป็นทางนำไปสู่วิปัสสนาญาณ อารมณ์กรรมฐานเหล่านี้จึง
ถูกนำมาใช้เป็นวิถีทางที่เป็นรูปธรรมอันนำไปสู่สมาธิในจิตได้
๒. วิธีเจริญสมาธิ ซากศพที่พองขึ้น
ในตอนนี้ตามที่ทานกล่าวไว้ในพระคัมภีร์วิสุทธิมรรค พระสาวกผู้ปรารถนาจะบรรลุฌานซึ่งอาศัยนิมิต
คือซากศพที่พองขึ้น ควรเข้าไปหาครูตามที่อธิบายไว้แล้วในเรื่องกสิณภาวนา และเรียนรู้อารมณ์กรรมฐานจากครูนั้น
ในการสอนอารมณ์กรรมฐาน ครูควรสอนให้ศิษย์ทราบ ถึงหน้าที่และกฎเกณฑ์เบื้องต้นทั้งหลายเกี่ยวกับวิธีการไปตรวจดูศพ,
และสังเกตสิ่งแวดล้อม เครื่องหมายของสถานที่ที่ศพตั้งอยู่ ตลอดถึงการจับมโนภาพโดยวิธีต่างๆ ๑๑ วิธี และ พิจารณา
หนทางที่ใช้ในการเดินจงกรมไปมา และ ในที่สุดพิจารณาการเจริญสมาธิซึ่งนำไปสู่ฌาน
หลังจากได้ศึกษาเรื่องต่างๆ เหล่านี้ทั้งหมดอย่างเอาใจใส่แล้ว
พระสาวกควรพักอยู่ในอารามที่ เหมาะสม และสืบเสาะนิมิตคือศพที่พองขึ้น
การพิจารณาซากศพ
ในขณะที่ดำรงชีวิตเช่นนั้น พระสาวกอาจได้ยินได้ฟังว่ามีซากศพอยู่ในที่นั้นๆ แต่ไม่ควรไปที่นั้นทันที
เพราะร่างกายที่ตายแล้วอาจถูกสัตว์ป่ายื้อแย่งกัดกิน หรือถูกผีร้ายโจมตี ถ้าเป็นเช่นนั้น อาจมีอันตรายปางตายแก่เขาได้ อนึ่ง หนทางของเขาอาจพาเขาไปใกล้ประตู หมู่บ้าน
หรือท่าอาบน้ำหรือผ่านทุ่งนาที่เขาไถแล้ว ซึ่ง ณ ที่นั้นๆ อาจมีสาเหตุแห่งความไม่พอใจ
เช่น คนที่มีเพศตรงกันข้ามอาจเดินผ่านทางของเขา ยิ่งกว่านั้นซากศพเองอาจไม่เหมาะสมเพราะซากศพที่เป็นหญิงไม่เหมาะสำหรับผู้ชาย
และซากศพของผู้ชายไม่เหมาะสำหรับผู้หญิง เพราะว่าร่างกายที่ตายแล้วไม่นานอาจปรากฏเป็นสิ่งที่น่าพอใจแก่คนบางคน
และจะเป็นอุปสรรคต่อการเจริญสมาธิ แต่ผู้มีใจมั่นคง และควบคุมตนเองได้ไม่จำเป็นจะต้องมีการระวังระไวเช่นนั้น
แต่อย่างไรก็ตาม โดยปกติพระสาวกควรแจ้งให้พระสังฆเถระ
หรือพระภิกษุที่มีอาวุโสในวัดได้รับทราบก่อนที่จะไป เพราะพระภิกษุเหล่านั้นอาจให้ความคุ้มครองได้ถ้าพระสาวกผู้ปฏิบัติตกอยู่ในข่ายอันตราย
หลังจากสังเกตอย่างดีแล้ว พระสาวกควรไปผู้เดียว ด้วยความปิติยินดีเนื่องมาจากความปรารถนาที่จะเห็นนิมิตคืออสุภะนี้
ซึ่งเป็นอารมณ์กรรมฐานที่หาได้ยาก ด้วยความมีสติ และสำรวมระวังด้วยอินทรีย์อันสงบ
พระสาวกดำเนินต่อไปโดยพิจารณาย้อนหลังถึงอารมณ์กรรมฐาน พื้นฐานซึ่งปฏิบัติมาแล้ว
เมื่อจะออกจากวัดก็ควรพิจารณาถึงทางของตน ตั้งต้นจากประตูวัดไปจนถึงที่ๆ
ศพตั้งอยู่ และเครื่องหมายทิศทางของศพนั้น การเปลี่ยนสภาพ และนิมิตอื่นๆ
ที่พบระหว่างทาง เช่น หินชโงก ภูเขา ต้นไม้ และ พุ่มไม้ทั้งหลาย เมื่อสังเกตทิศทาง ดังนั้น
ควรไปยังสถานที่ที่มีศพตั้งอยู่ เพราะจะมีประโยชน์ในภายหลังในขณะเจริญสมาธิ แต่ในขณะที่เข้าไปหาซากศพนั้น
ไม่ควรเดินสวนทางลม เพราะกลิ่นเหม็นจากศพจะรบกวนใจ
และถึงกับจะก่อให้เกิดความคลื่นเหียนได้ ดังนั้นจึงควรระวังโดยเข้าไปหาศพทางทิศอื่น
ถ้าไม่มีทางอื่นที่จะเข้าไปหาศพ
ก็ควรระวังโดยการปิดจมูก เมื่อเข้าไปใกล้ศพ
การยึดสถานที่เป็นนิมิต
หลังจากไปยังสถานที่ที่ศพตั้งอยู่ พระสาวกไม่ควรเพ่งศพนั้นในทันที แต่ควรเพ่งสถานที่ที่มองเห็นศพซึ่งเป็นอารมณ์อย่างชัดเจน
ไม่ควรยืนหันหน้าหลังตรงๆ ให้ลม แต่ควรเอียงข้าง เล็กน้อยหลังลมไม่มากนัก
ให้มีระยะพอดีจากส่วนกลางของซากศพ และควรสังเกตสิ่งแวดล้อมและนิมิตคือสถานที่นั้นเป็นประการแรก
ถ้ามีหินปรากฏในคลองแห่งจักษุในขณะมองอารมณ์นั้น ก็ควรสังเกตว่ามันอยู่สูงหรือต่ำ
เล็กหรือใหญ่ ยาวหรือกลม ดำหรือขาว แล้วควรสังเกตอย่างดี ดังนี้ “ในที่นี้ นี่คือหิน
นั้นคือซากศพ นั้นคือซากศพ นี่คือหิน” ถ้ามีจอมปลวก ต้นไม้ พุ่มไม้ หรือเถาวัลย์ ก็ควรสังเกตสิ่งนั้นๆทุกแง่มุมตามที่อธิบายไว้แล้ว
จุดประสงค์ของการสังเกต นิมิตคือสิ่งแวดล้อมก็เพื่อจะเลี่ยงภาพลวงตา
ซึ่งอาจเกิดขึ้นในขณะเจริญสมาธิ
การยึดมโนภาพ
หลังจากเพ่งพิจารณานิมิตภายนอกรอบๆ
ศพแล้ว พระสาวกควรเข้าใจมโนภาพ โดยพิจารณาถึงธรรมชาติของอารมณ์ นั่นก็คือ
สภาพพิเศษเฉพาะของศพซึ่งมีลักษณะคล้ายกับ เนื้องอก ควรเข้าใจในแง่ต่างๆ ๖ ประการ
คือ สี ลักษณะ รูปร่าง ทิศทางที่ตั้ง และเขตจำกัด
๑ ในด้านสี พระสาวกควรสังเกตว่าร่างกายนี้เป็นของคนที่มีถึดำถึขาว หรือสืน้ำตาล
๒ ในแง่ของลักษณะ ไม่ควรพิจารณาร่างนั้นในลักษณะเป็นหญิงหรือเป็นชาย แต่ควรพิจารณาว่าเป็นร่างกายของคนวัยหนุ่ม
คนวัยกลางคนหรือคนวัยชรา
๓ เกี่ยวกับรูปร่าง
ควรพิจารณารูปร่างของแต่ละส่วนของร่างกาย เช่น ศีรษะ คอ มือ เป็นต้น
๔ เกี่ยวกับทิศทาง ควรพิจารณาดังนี้ ร่างกายนี้มี ๒ ทิศทาง คือ ด้านล่างจาก
สะดือลงมา ด้านบนจากสะดือขึ้นไป หรือพิจารณา ดังนี้ “ข้าพเจ้ายืนทางทิศนี้
และร่างอยู่ทางทิศนั้น”
๕ ในขณะสังเกตที่ตั้งแห่งศพ ควรพิจารณาดังนี้ “มือทั้งสองอยู่จุดนี้
เท้าทั้งสอง อยู่จุดนี้ ศีรษะอยู่จุดนี้ ส่วนกลางของร่างอยู่จุดนี้” หรือไม่ก็ควรสังเกตดังนี้
“ข้าพเจ้า ยืนอยู่ ณ จุดนี้ ศพนอนอยู่ ณ จุดนั้น”
๖ เกี่ยวกับเขตจำกัด ควรพิจารณาดังนี้ “ร่างกายนี้มีเขตจำกัดด้านล่างที่ส้นเท้า
ด้านบนที่เส้นผมบนศีรษะ ด้านขวางที่หนัง และภายในเขตจำกัดเหล่านี้ ร่างกายนี้มีสิ่งที่เน่าเหม็นอยู่
๓๒ อย่าง” หรือควรพิจารณาดังนี้ “นี้เป็นเขตของมือนั้นเป็นเขตของเท้า เป็นเขตของศีรษะ
เป็นเขตของส่วนกลาง”
ไม่ว่าจะกำหนดส่วนใดของร่างกายไว้ในใจ ควรคิดดังนี้ “ไม่มีอะไรนอกจากภาพ ของสิ่งที่บวมขึ้น”
พระสาวกควรกำหนดไว้เฉพาะหน้าในฐานเป็นภาพลอยๆ ไม่มีตัวตน ซึ่งเกิดจากวัตถุที่เน่าเปื่อย
และควรเพ่งพิจารณาภาพลอยขึ้นเรื่อยๆ ไป
แต่ผู้ชายไม่ควรเจริญสมาธิโดยเพ่งศพผู้หญิง และผู้หญิงไม่ควรเจริญสมาธิ
โดยเพ่งศพผู้ชาย เพราะแม้ศพของเพศตรงกันข้าม ก็อาจก่อให้เกิดตัณหาขึ้นมาได้
และนิมิตนั้นอาจไม่ ปรากฏเป็นอสุภะได้ ดังนั้น พระสาวกควรยึดนิมิต คือสิ่งที่บวมจากศพเพศเดียวกัน
โดยวิธีใด วิธีหนึ่งใน ๖ วิธี เหล่านี้
สำหรับพระสาวกผู้ฝึกสมาธิ โดยอาศัยอารมณ์กรรมฐานข้อนี้ เฉพาะพระพักตรของ
พระพุทธเจ้าในอดีต และได้ปฏิบัติวัตรของผู้ออกบวช อุคคหนิมิตจะปรากฏในส่วนใดส่วนหนึ่ง
ของร่างกายที่ตนเพ่งอยู่ ถ้าไม่เช่นนั้น อุคคหนิมิตจะปรากฏเมื่อยึดนิมิตในลักษณะต่างๆ
๖ อย่างตามที่ได้อธิบายแล้วข้างบนนี้ ถ้าไม่ปรากฏในลักษณะ ๖ อย่างเหล่านี้
พระสาวกควรยึดนิมิตที่บวมขึ้นอืดในลักษณะ ๔อย่างคือจากข้อต่อทั้งหลาย จากช่องทั้งหลาย
จากส่วนล่างทั้งหลาย ส่วนสูงทั้งหลายและจากทุกส่วน ดังต่อไปนี้
๑ จากข้อต่อทั้งหลาย พระสาวกควรพิจารณาข้อต่อใหญ่ๆ
๑๔ ข้อ ของศพ คือ ๓ ข้อที่แขนข้างขวา ซึ่งได้แก่ บ่า ข้อศอก และข้อมือ ๓
ข้อที่แขนข้างซ้าย ๓ ข้อที่ขาข้างขวา ซึ่งได้ แก่ตะโพก เข่าและข้อเท้า ๓ ข้อที่ขาข้างซ้าย
๑ ข้อที่คอ และ ๑ ข้อที่เอว
๒ จากช่องทั้งหลาย มีช่องต่างๆ ระหว่างมือทั้งสอง
ระหว่างขาทั้งสองข้างในพุง และ หูทั้งสอง เขาควรพิจารณาช่องเหล่านี้
และควรสังเกตว่าตาหลับอยู่หรือลืมอยู่ และปากหุบอยู่ หรืออ้าอยู่
๓ จากอวัยวะส่วนล่าง
ควรสังเกตรูในร่างกาย คือรูในตา รูในปาก และรูในคอหอย หรือถ้าเขายืนบนพื้นที่ต่ำ
ควรพิจารณาดังนี้ “ข้าพเจ้ายืนอยู่บนพื้นที่ต่ำ ร่างกายอยู่บนพื้นที่สูง”
๔ จากส่วนสูง
พระสาวกควรสังเกตว่าส่วนไหนของร่างกายถูกยกขึ้น เข่า หรือ อก หรือ หน้าผาก หรือถ้ายืนบนพื้นที่สูง
ควรตั้งข้อสังเกตดังนี้ “ข้าพเจ้ายืนอยู่บนพื้นที่ที่สูงๆ ศพนอนอยู่บนพื้นที่ที่ต่ำ”
๕ จากทุกๆ ด้าน ควรสังเกตร่างกายทุกๆ
ด้าน ส่วนใดก็ตามปรากฏเป็นสิ่งที่ นูนขึ้น ทำจิตของตนให้จดจ่ออยู่ ณ จุดนี้เอง
ถ้านิมิตมิได้ปรากฏในจิตในหัวข้อทั้ง
๑๑ นี้ พระสาวกควรใช้จิตกำหนดซํ้าๆ ว่า “สิ่งที่นูนขึ้น” “สิ่งที่นูนขึ้น”
และกำหนดจิตไว้ที่ส่วนบนของร่างกาย และลงไปยังท้องซึ่งบวม มากกว่าส่วนอื่นๆ
หลังจากยึดนิมิตจากศพที่บวมโดยวิธีที่ได้อธิบายแล้ว
พระสาวกควรปฏิบัติไปด้วยสติที่ ตั้งมั่นเป็นอย่างดี และให้ปฏิบัติซ้ำแล้วซ้ำเล่าและเข้าใจและพิจารณาอย่างเต็มที่โดยอาศัยความตั้งใจและสติ
เมื่อยืนหรือนั่งไม่ใกล้หรือไกลจากศพเกินไปและภาวนาช้าๆ ว่า “อสุภะที่พองขึ้น
อสุภะที่พองขึ้น” เช่นนี้เป็นร้อยครั้ง พันครั้ง และลืมตาขึ้น ควรยึดนิมิตไว้แล้วหลับตาและเพ่งศพนั่นซ้ำๆ
จนกระทั่งรูปที่แท้จริงของสิ่งนั้นปรากฏขึ้นใหม่ในจิต เมื่อนั้นแหละจึงจะเรียกได้ว่าได้ศึกษาแล้วอย่างดีซึ่งศพนั้น
ถ้าไม่ได้รับความสำเร็จในสมาธินี้
ก็ควรกลับไปยังที่อยู่ของตนเองตามทางที่มา คนเดียวไม่มีเพื่อน มีสติตั้งมั่น
มีอินทรีย์สงบ มีจิตจดจ่ออยู่กับอารมณ์คือนิมิต
เมื่อออกจากห้องสัปเหร่อก็เช่นกัน พระสาวกควรพิจารณาถึงทางกลับของตนพร้อมกับ
สังเกตนิมิตทั้งหลาย ถ้าเมื่อกลับไปยังที่อยู่ของตนแล้ว เดินจงกรมไปมา ควรทำเช่นนั้นบนพื้นดิน
ชิ้นหนึ่งซึ่งหันหน้าไปทางศพ เมื่อนั่งลงเพื่อเจริญสมาธิควรหันหน้าไปทางทิศเดียวกันกับศพ
แต่ถ้ามีบ่อหรือหน้าผาในที่นั้นหรือมีอุปสรรคอื่นใด หรือพื้นดินมีโคลนหรือเป็นที่ลุ่มซึ่งทำให้เดินจงกรมไม่ได้
หรือ ไม่สามารถ ทำที่นั่งซึ่งหันหน้าไปทางทิศนั้นได้ ก็ควรเจริญสมาธิในที่ที่
พอใจโดยให้จิตจดจ่ออยู่กับศพนั้น
การเจริญสมาธิข้อนี้เป็นอันตรายสำหรับผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามคำสอนเบื้องต้น ในตอนที่ว่า
ด้วยอานิสงส์แห่งการพิจารณานิมิตรอบๆ ศพ ท่านกล่าวไว้ว่า
ถ้าพระสาวกไปยังสถานที่ที่ศพนอนอยู่และเพ่งศพนั่นเพื่อได้นิมิตในเวลาที่ไม่เหมาะสม
ศพนั่นอาจปรากฏว่าลุกขึ้นและติดตามตน
พระสาวกอาจรู้สึกกลัวภาพนี้และอาจเป็นบ้าไปก็ได้ จริงอยู่
ในบรรดาอารมณ์กรรมฐานที่ท่านให้ไว้ในพระคัมภีร์ภาษาบาลีนั้น ไม่มีข้อใดที่น่ากลัวเช่นข้อนี้
ซึ่งน่ากลัวมากจนกระทั่งว่าพระ สาวกอาจถูกเรียกว่า “ผู้วิ่งหนีฌาน”
เนื่องจากมีความกลัวมากในขณะเจริญสมาธิ ดังนั้นพระสาวกผู้ฉลาด
ควรรวบรวมความกล้าหาญทั้งหมดของตน ตั้งสติและขจัดความกลัวดังกล่าวนี้ โดยคิดว่า “ร่างกายที่ตายแล้วไม่อาจลุกขึ้นและติดตามใครๆได้
ถ้าสี่งใกล้ๆ ร่างกายที่ตายแล้วนั้น เช่นหิน ต้นไม้ หรือเถาวัลย์ปรากฏว่าจะมาใกล้ๆ
ข้าพเจ้าได้ ร่างกายที่ตายแล้วก็อาจมาใกล้ ข้าพเจ้าได้ แต่เพราะว่าสิ่งเหล่านั้นเคลื่อนที่ไม่ได้ฉันใด
ร่างกายที่ตายแล้วก็เคลื่อนที่ไม่ได้ ฉันนั้น ภาพลวงซึ่งเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้าครั้งนี้
เกิดขึ้นจากมโนภาพ วันนี้ข้าพเจ้าทำอารมณ์กรรมฐานให้ปรากฏชัดในใจของข้าพเจ้า
เพราะข้าพเจ้าพิจารณาเห็นอารมณ์กรรมฐานนี้อย่างชัดแจ้ง
ดังนั้นความกลัวของข้าพเจ้าจึงเป็นเพียงเงาซึ่งเกิดจากนิมิตเท่านั้น”
ด้วยความคิดดังนี้ พระสาวก ย่อมมีความปีดิยินดีแทนความกลัว และได้รับความสำเร็จในการเจริญสมาธิ
ดังนั้นพระท่านจึงกล่าวว่า “การพิจารณานิมิตรอบๆ
ศพก็เพื่อจะหลีกเลี่ยงความสับสน”
พระสาวกผู้พิจารณานิมิต ๑๑ หัวข้อ โดยพิจารณาถึงสีเป็นต้น
ตามที่ได้อธิบายไว้แล้ว จะได้อุคคหนิมิตโดยง่ายในขณะที่พิจารณาศพนั้นแล
การเพ่งพิจารณาอุคคหนิมิตย่อมก่อให้เกิดปฏิภาคนิมิตขึ้น ในขณะนั้นพระสาวกย่อมบรรลุอัปปนาคือความแน่วแน่ เมื่อเพิ่มพูนอัปปนาในทางแห่งวิปัสสนา
ย่อมได้บรรลุพระอรหัตเป็นพระอรหันต์ ดังนั้นท่านจึงกล่าวว่า
“การพิจารณานิมิตโดยวิธีต่างๆ ๑๑ วิธี ก็คือ การมัดจิตไว้กับอารมณ์”
พระสาวกอาจได้อุคคหนิมิต แต่ถ้าอุคคหนิมิตนั้นไม่ได้รับการพัฒนาอุคคหนิมิตนั้นอาจหายไป
เมื่อไปทำธุรกิจอย่างอื่น ดังนั้น
พระสาวกอาจอยากกลับไปได้อุคคหนิมิตนั้นอีก แต่ก็ ไม่สามารถทำได้ เพราะในช่วงเวลานั้นอาจถูกผีร้ายหลอกหรือถูกสัตว์ป่ารบกวนหรือนิมิตแห่งซากศพที่พองขึ้นอาจหายไป
เพราะว่าซากศพที่พองขึ้นจะหมดสีและเปลี่ยนแปลงไปหลังจากหนึ่งวันหรือสองวันไปแล้ว
ในบรรดาอารมณ์กรรมฐานทั้งหมดไม่มีข้อใดที่บรรลุได้ยากเหมือนข้อนี้ผู้ที่พิจารณาธาตุ๔
ย่อมเข้าใจว่าธาตุทั้ง๔ มีในร่างกายของตน ผู้ที่ปฏิบัติกรรมฐานด้วยอานาปานสติคือการกำหนดลมหายใจเข้าออกย่อมเข้าใจว่านิมิตแห่งลมหายใจปรากฏที่รูจมูก
ผู้ปฏิบัติกรรมฐานโดยอาศัยกสิณ ย่อมกำหนดนิมิตได้
และเจริญกรรมฐานโดยอาศัยนิมิตนั้นตามความปรารถนา ดังนั้นอารมณ์กรรมฐานชนิดอื่นๆ ปฏิบัติได้ง่าย แต่กรรมฐานที่เกี่ยวกับศพที่พองขึ้นจะบรรลุได้ยากที่สุด
เพราะจะปรากฏเพียง ๑ วันหรือ ๒ วันเท่านั้น
ดังนั้น เมื่อนิมิตหายไป พระสาวกควรนั่งขัดสมาธิและคิดถึงหนทางที่จะไปและจะมาดังนี้
“ข้าฯ ไปจากวัดผ่านประตูนี้เดินไปตามถนนทางทิศนั้นไปทางซ้าย ณ ที่นั้นไปทางขวา ณ
ที่นั้น มีหิน ณ ที่นั้น มีภูเขา ณ ที่นั้น มีพุ่มไม้หรือเถาวัลย์ ณ
ที่แห่งนั้นเมื่อเดินไปตามทางนั้น ข้าพเจ้าได้พบศพ ณ ที่นั้น เมื่อยืนอยู่ ณ
ที่นั้นหันหน้าไปทางทิศนั้น สังเกตเห็นสิ่งเช่นนั้นรอบๆ ศพข้าพเจ้าก็ได้นิมิต
เมื่อออกมาจากที่นั้นข้าพเจ้ากลับทางถนนนั้น ในทิศนั้นและข้าพเจ้านั่งอยู่ ณ ที่
นี้”
ในขณะที่ย้อนนึกถึงสิ่งต่างๆ เช่นนั้นในระหว่างทั้งขาไปและขากลับจากที่นั่งของตน
จนถึงที่ที่ศพตั้งอยู่ พระสาวกจะมองเห็นศพเหมือนหนึ่งว่ามีผู้มาวางไว้ต่อหน้าตน
อุคคหนิมิต จะปรากฏเหมือนเดิมต่อหน้าพระสาวก ดังนั้น การพิจารณาถึงทางไปและทางมาจึงต้องดำเนิน
การเพื่อเข้าใจนิมิตอย่างชัดแจ้งในขณะเจริญสมาธิ
การเจริญสมาธิ
๑ ซากศพที่เน่าพองขึ้นอืด
พระสาวกควรรักษานิมิตนั้นไว้ทั้งกลางวันและกลางคืน ส่งใจไปสู่นิมิตนั้นด้วยความคิดดังต่อไปนี้
“จากศพที่เน่าพองขึ้นอืด จากศพที่เน่าพองขึ้นอืด” ควรพิจารณาซ้ำๆ
ด้วยการลงมติสรุปว่า “แน่นอน โดยวิธินี้
ข้าพเจ้าจะบรรลุฌานและข้าพเจ้าจะหลุดพ้นจากชราและมรณะ”
เมื่อเข้าใจธรรมชาติแห่งซากศพที่เน่าพองขึ้นซึ่งค่อยๆ บวมขึ้นเหมือนกับลูกสูบของ
ช่างเหล็กที่มีลมเต็มและพิจารณาว่าสภาพเช่นเดียวกันนี้จะเกิดขึ้นแก่ร่างกายของตนเองและร่างกายของผู้อื่นทุกคน
พระสาวกควรเจริญสมาธิของตน เมื่อปฏิบัติต่อเนื่องเช่นนั้นนิมิต ๒ อย่าง คืออุคคหนิมิต
และปฏิภาคนิมิตย่อมเกิดขึ้นต่อเนื่องกันในขณะที่สมาธิก้าวหน้า ความแตกต่างระหว่างนิมิตทั้ง
๒ นั้นมีดังนี้ อุคคหนิมิตปรากฏว่าน่าสะอิดสะเอียด น่ากลัว น่าเกลียด เพราะผู้ปฏิบัติจะต้องเข้าใจเรื่องนี้เพื่อทำลายกิเลสตัณหา
ปฏิภาคนิมิตมีลักษณะเหมือนคนอ้วนนอนลงบนพื้น แต่จะไม่มีความเข้าใจว่าเป็นการนอนของผู้ใด
เมื่อปฏิภาคนิมิตเกิดขึ้น กาม ราคะ พยาบาท
และนิวรณ์อื่นๆ ก็ค่อยๆ ดับไป วิตก ยกจิตขึ้นสู่ปฏิภาคนิมิตวิจารณ์รักษาจิตไว้
กับปฏิภาคนิมิตนั้น ปิติก่อให้เกิดความสงบทางกาย สุขทำให้จิตได้รับการพักผ่อน
และสมาธิ ซึ่งควบคุมจิตให้อยู่จุดเดียวย่อมเกิดขึ้นในภาวะแห่งฌาน ดังนั้น ในขณะนั้นก็เกิดปฐมฌานขึ้น
ในตัวเขาโดยผ่านนิมิตคือจากศพที่พองขึ้น ฌานขั้นนี้ท่านเรียกว่า
๒ ซากศพที่มีสีเขียวคล้ำคละด้วยสิ่งต่างๆ
หลังจากการตายย่อมมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างเกิดขึ้นในร่างกายส่วนที่มีเนื้อมาก
จะกลายเป็นสีแดง ส่วนที่มีหนองรวมอยู่จะมีสีขาว โดยทั่วไปจากศพจะเปลี่ยนสีเป็นสีเขียวแก่มี
เลือดและน้ำหนองปนอยู่ และมองดูเหมือนหนึ่งว่ามีผ้าสีน้ำเงินปกคลุมอยู่
พระสาวกผู้เจริญกรรมฐานโดยการพิจารณาซากศพเช่นนั้นจะต้องตระหนักว่ารูปวัตถุอันหนึ่งไม่ว่าจะเป็นรูปในอดีต
ปัจจุบันหรืออนาคตย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นธรรมดาเช่นเดียวกับการเปลี่ยนแปลงศพที่
เปลี่ยนสีนี้เอง กฎพื้นฐานของการเจริญสมาธิข้อนี้ และกฎของการเจริญสมาธิต่อไปนี้จะต้อง
เข้าใจว่าเป็นเช่นเดียวกับกฎที่ให้ไว้แล้วในตอนที่ว่าด้วยศพที่พองขึ้น ในการเพ่งพิจารณา
ความเน่าเปื่อยของซากศพที่เปลี่ยนสีนี้จะต้องนึกถึงคำว่า”วินีลกปฏิกูลํ”
ซึ่งแปลว่า สิ่งที่เปลี่ยนสี และเน่าเปื่อย
ณ ที่นี้ อุคคหนิมิตปรากฏพร้อมกับสีเป็นทางๆ แต่ปฏิภาคนิมิตจะปรากฏเป็นลักษณะ
ที่ไม่ขาดสาย การเจริญยิ่งขึ้นของนิมิตนี้จะก่อให้เกิดฌาน ซึ่งมีชื่อเรียกว่า “วินีลกะ”
ตามชื่อ ของอารมณ์ ฌานที่เกิดขึ้นจากอารมณ์ต่อไปนี้ ก็มีชื่อเรียกตามอารมณ์เหล่านั้นเช่นกัน
๓ ซากศพที่มีหนองไหล
ข้อนี้ได้แก่ซากศพที่ปล่อยน้ำหนองออกมาจากส่วนแตกของร่างกาย
หรือได้แก่ศพที่น่าเกลียด เพราะสภาพของศพมีนํ้าหนองน่าขยะแขยง
การเจริญสมาธิโดยอาศัยสิ่งเน่าเปื่อย ของซากศพที่มีน้ำหนองไหล
ควรทำโดยการเพ่งซากศพนั้น และภาวนาซ้ำๆ ว่า “วิปุพพก ปฏิกูลํ”
ซากศพที่มีหนองและสกปรก ณ ที่นี้ อุคคหนิมิตปรากฏเหมือนของเหลวที่หยดลง แต่ ปฏิภาคนิมิตจะสงบและมั่นคง
๔ ซากศพที่แตกแยก
ซากศพที่แตกแยกเป็น ๒ ส่วนในท่ามกลางหรือถูกตัดในท่ามกลางเรียกว่าซากศพที่ แตกแยก
ภาพที่ปรากฏของศพชนิดนี้น่าเกลียด เพราะมีลักษณะเป็นโพรงข้างใน
ภาพเช่นนี้จะพบได้ในสนามรบ หรือในป่าที่มีขโมยชุกชุม
หรือในสถานที่ซึ่งพระเจ้าแผ่นดินประหารชีวิตนักโทษอาญา หรือในดงทึบซึ่งสิงห์โตและเสือกัดกินมนุษย์
ถ้าเมื่อพิจารณาซากศพเช่นนี้
พระสาวกพบส่วนต่างๆ ของซากศพกระจัดกระจายทั่วไป ควรให้ใครๆ เก็บมารวมกัน ณ ที่
แห่งหนึ่ง ถ้าไม่มีใครช่วย ก็ควรทำเองโดยใช้ไม้ท้าว
แต่ควรระวังอย่าเอามือไปแตะต้องศพ เพราะด้วยการแตะต้องนั้น จะเกิดความชินกับชิ้นส่วนเหล่านั้น
ชิ้นส่วนที่เก็บรวบรวมนั้นควรจัดวางไว้ในตำแหน่งของมันแต่ละชิ้น โดยทิ้งช่องว่างไว้
๑ นิ้วในระหว่างแขนขาทั้งสองเพื่อแสดงให้เห็นนิมิตของซากศพที่แตกแยก แล้วเขาควรส่งจิตไปยังจากศพนั้นในฐานะเป็นซากศพที่แตกแยก
ภาวนาซํ้าๆ ว่า “วิจฺฉิทฺทกปฏิกูลํ” สิ่งที่แตกแยกและสกปรกในการเจริญสมาธิข้อนี้
อุคคหนิมิตปรากฎเสมือนหนึ่งว่าถูกตัดในท่ามกลาง แต่ปฏิภาคนิมิตมีลักษณะสมบูรณ์บริบูรณ์ดี
๕ ซากศพที่ถูกสัตว์กัดกิน
ซากศพประเภทนี้ถูกนกและสัตว์ป่าทั้งหลายกัดกินเป็นอาหาร เมื่อพิจารณาว่าสรีระร่างกายนี้ก็จะมีสภาพเหมือนศพนี้ด้วยความรู้สึกสะอิดสะเอียน
พระสาวกควรยึดซากศพที่ถูกสัตว์กัดกิน และภาวนาในจิตด้วยคำว่า “วิกฺขยิตกปฏิกูลํ” =
สิ่งที่ถูกสัตว์กัดกินและสกปรก อุคคหนิมิตแห่งกรรมฐาน” ข้อนี้ปรากฏเหมือนวัตถุที่ถูกสัตว์กัดกิน
ณ ที่ต่างๆ แต่ปฏิภาคนิมิตมีลักษณะบริบูรณ์ดี
๖ ซากศพที่กระจัดกระจาย
ซากศพที่มีแขนขากระจัดกระจายไปในช่วงเวลาที่เปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติ หรือ
กระจัดกระจายทั่วไปหรือถูกสัตว์แทะกินเป็นอาหารนั้นเรียกว่าซากศพที่กระจัดกระจาย เมื่อพระสาวกเห็นซากศพเช่นนั้น
ควรรวบรวมชิ้นส่วนซึ่งกระจัดกระจายทั่วๆ ไปเช่นเดียวกับ ในกรณีของซากศพที่แตกแยกและจัดชิ้นส่วนเหล่านั้นแต่ละชิ้นไว้ในที่ของมันโดยทิ้งช่วงให้ห่างกันไว้
๑ นิ้ว เพื่อให้เห็นลักษณะของร่างกายที่กระจัดกระจายไป
ในขณะที่เจริญสมาธิโดยอาศัยซากศพนี้ พระสาวกควรพิจารณาว่าเป็นซากศพที่กระจัดกระจายทั่วไป
โดยภาวนาว่า “วิกฺขิตฺตกปฏิกูลํ” = ซากศพที่กระจัดกระจายและสกปรก ณ
ที่นี้อุคคหนิมิตปรากฏโดยมิช่องว่างพอมองเห็นได้ แต่ปฏิภาคนิมิตปรากฏสมบูรณ์บริบูรณ์ดี
๗ ซากศพที่ถูกสับฟันบั่นเป็นท่อนๆ กระจัดกระจายไป
ซากศพที่ถูกตัดเป็นชิ้นน้อยชิ้นใหญ่ และกระจัดกระจายไปโดยวิธีตามที่ได้อธิบายแล้ว
เรียกว่า ซากศพที่ถูกสับฟันหั่นเป็นท่อนและกระจัดกระจายไป เราอาจพบข้อความเดียวกันในเรื่องนี้ในเรื่องเกี่ยวกับซากศพที่กระจัดกระจาย
พระสาวกควรไป ณ ที่นั้น และกำหนดนิมิต โดยยึดซากศพนั้น และกล่าวคำว่า “หตวิกฺขิตฺตก
ปฏิกูล” = ซากศพที่ถูกตัดกระจัดกระจาย และสกปรก ณ ที่นี้ อุคคหนิมิต ปรากฏเป็นแผล
และปฏิภาคนิมิตย่อมปรากฏโดยทั่วๆ ไป
๘ ซากศพทมีโลหิตไหลอาบเรี่ยราดอยู่
ซากศพที่มิเลือดไหล จะพบได้ในสถานที่ต่างๆ เช่น สนามรบ เลือดที่ไหลออกจาก
บาดแผลและจากแขนขาที่ได้รับความกระทบกระเทือนจากรถบรรทุกหรือที่ถูกหัวฝีปิดไว้ และ
จากการบวมซึ่งปล่อยน้ำหนองออกมา ในการเห็นศพดังกล่าวพระสาวกควรเจริญกรรมฐาน
พิจารณาศพนั้นว่า มิโลหิตไหลออกมา และเน้นคำว่า “โลหิตก ปฏิกูลํ” = ศพที่มิโลหิตไหล
ออกมาและสกปรกซํ้าแล้วซํ้าเล่า ในที่นี้อุคคหนิมิตจะปรากฏเป็นธงสีแดงปลิวไสวอยู่ในอากาศ แต่ปฏิภาคนิมิตจะมั่นคงและไม่ถูกรบกวน
๙ ซากศพที่มีหนองคลาคลํ่าเต็มไปหมด
อสุภะข้อนี้จะพบในซากศพที่ทิ้งไว้หลายวัน มีหมู่หนอนออกจากทวารทั้ง ๔ สภาพ
เช่นนี้จะพบได้ในร่างกายที่ตายแล้วของคน ของสุนัข สุนัขจิ้งจอก ควาย ม้า ช้าง งู
และสัตว์อื่นๆ พระสาวกควรเจริญสมาธิโดยการเพ่งซากศพประเภทนี้อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้โดยภาวนาซํ้า
ๆว่า “ปุฬวกปฏิกูลํ”
ซากศพที่มีหนอนและสกปรก นิมิตจะปรากฏในร่างใดร่างหนึ่งตามที่กล่าวแล้ว
เหมือนที่ปรากฏแก่พระเถระนามว่า จูลปิณฑปาติกะติสสะในศพช้างเชือกหนึ่ง อุคคหนิมิต ในที่นี้มีสภาวะเคลื่อนไหว แต่ปฏิภาคนิมิตปรากฏมั่นคงดุจกองข้าวเปลือกกองใหญ่เท่าร่างกาย
มีข้อความในหนังสือคู่มือพระโยคาวจรดังนี้ว่า ในนิมิตทั้งสอง อุคคหนิมิตเปรียบ
เหมือนนาข้าวที่ร้อนใส่ไว้ในภาชนะซึ่งตั้งอยู่บนเตาไฟ ซึ่งจะมีสภาพไม่นิ่ง แต่ปฏิภาคนิมิต
เปรียบเหมือนนํ้าข้าวที่เย็นแล้ว ซึ่งใส่ไว้ในจาน มีสภาพนิ่ง
๑๐ ซากศพที่ยังเหลืออยู่แต่ร่างกระดูกหรือท่อนกระดูก
ร่างกระดูกที่อ้างถึงในที่นี้ เป็นโครงกระดูกหรือร่างกระดูกในร่างกายซึ่งใช้เป็นอสุภวัตถุ
สำหรับเจริญสมาธิ คำนี้เป็นคำสามัญใช้ทั่วๆไป หมายถึงกระดูกต่างๆ ซึ่งต่อเชื่อมกันเป็นร่างขึ้น
และหมายถึงกระดูกชิ้นเดียว
คำว่าร่างกระดูก ท่านกล่าวถึงในสติปัฏฐานสูตรในลักษณะต่างๆ เช่น “เราอาจเห็น ร่างกายร่างหนึ่งถูกทอดทิ้งไว้ในป่าช้าหรือเห็นร่างกระดูกซึ่งมีเนื้อและเลือตติดอยู่มีเอ็นรึงรัดไว้”
ดังนี้เป็นต้น
ดังนั้น พระสาวกควรไปยังจุดที่ร่างกระดูกวางอยู่โดยวิธีที่อธิบายไว้แล้วและพิจารณา
ร่างกระดูกโดยกำหนดนิมิตโดยวิธีต่างๆ ๑๑ วิธี เช่นในแง่ของสี เป็นต้น แต่ถ้าพิจารณาเฉพาะสี
ของร่างกายกระดูกซึ่งมีสีขาว นิมิตที่แท้จริงของกระดูกจะไม่ปรากฏเพราะอาจผสมกับสีของ
กสิณสีขาวได้ ดังนั้น
จึงควรเพ่งร่างกระดูกนั่นว่าเป็นอสุภวัตถุคือสิ่งที่น่าเกลียดอย่างหนึ่ง เมื่อพิจารณานิมิตโดยลักษณะรูปร่าง
ควรพิจารณาแยกๆ กันเช่นกระดูกเท้า กระดูกศีรษะ กระดูกคอ กระดูกแขน กระดูกอก
กระดูกซี่โครง กระดูกตะโพก กระดูกหน้าแข้ง เป็นต้น ในข้อนี้ควรเจริญกรรมฐานโดยยึดร่างกระดูกทั้งหมดหรือกระดูกส่วนใดส่วนหนึ่งก็ได้ในขณะที่ยึดนิมิต
ในสิ่งเหล่านี้ดึงจิตไปจดจ่ออยู่กับสิ่งนั้นๆ และจิตก็ภาวนาซ้ำๆ ว่า “อฎฐิกปฏิกูลํ” ถ้าอุคคหนิมิตปรากฏขึ้นจากร่างกระดูกทั้งหมด
ย่อมปรากฏเป็นช่องหรือรูต่างๆ แต่ปฏิภาคนิมิตจะปรากฏเป็นหน่วยรวมทั้งหมดไม่แยกกัน
ถ้าเป็นนิมิตจากกระดูกชิ้นเดียว นิมิตนั่นจะไม่ต่างกัน แต่ในกระดูกชิ้นเดียว อุคคหนิมิตจะปรากฏว่าน่าเกลียดเพราะเป็นสิ่งที่ไม่สวยงาม
ปฏิภาคนิมิตจะก่อให้เกิดปิติ เพราะปฏิภาคนิมิตย่อมบันดาลให้ฌานเกิดขึ้นได้
เป็นเรื่องแปลกสำหรับอสุภกรรมฐานที่ว่า นิมิตของมโนภาพนั้นเกิดขึ้นในจิตเฉพาะ
เมื่อจิตคิดเรื่องความไม่สวยงามในร่างกายโดยสิ้นเชิงเท่านั้น แม้ว่าจะมีอารมณ์ ๑๐
อย่าง แต่โดยลักษณะแล้วเป็นสิ่งเดียวคือเป็นสิ่งที่น่าขยะแขยงน่าเกลียดและน่ารังเกียจ
ร่างกายที่ไม่มีจิตวิญญาณไม่จำเป็นเสมอไปสำหรับการเจริญกรรมฐาน เพราะปรากฏว่า
มีพระเถระหลายรูป ผู้ได้บรรลุฌานเมื่อเห็นฟันของหญิงที่หัวเราะ และเมื่อเห็นพระเจ้าแผ่นดินประทับบนหลังช้างก็
มีกรรมฐานใน ๒ กรณีนี้ได้แก่การเห็นร่างกระดูก
กระบวนการที่สำคัญก็คือการมองเห็นอย่างประจักษ์รู้ถึงความไม่ยั่งยืนของร่างกายที่เป็นรูปวัตถุ
และข้อนี้อาจได้บรรลุแม้ในสภาพของร่างกาย ที่ยังมีชีวิตอยู่ก็ได้เพราะระบบแห่งการดำรงชีพก็ไม่บริสุทธิ์เช่นเดียวกับคนที่ตายแล้ว
แต่ในกรณีของร่างกายที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น
ความไม่บริสุทธิ์มีเครื่องประดับต่างๆ ปิดบังอยู่ และหลักอนิจจัง
ความไม่เที่ยงย่อมไม่ปรากฏชัดแจ้งเหมือนกับร่างที่ตายแล้ว
ที่กล่าวมานี้เป็นคำอธิบายเรื่องอารมณ์ของอสุภกรรมฐาน ๑๐ อย่าง ซึ่งแต่ละอย่างจะนำไปสู่การบรรลุเพียงปฐมฌานเท่านั้น
แต่ในหนังสือ “คู่มือพระโยคาวจร” ท่านกล่าวว่า อารมณ์แห่งอสุภกรรมฐานทั้ง ๑๐
อย่างนี้เกี่ยวโยงไปถึงฌานทั้ง ๕ ซึ่งไม่สอดคล้องกับข้อความในตำราอรรถกถาทั้งหลาย
บางทีหนังสือคู่มือเล่มนี้อาจเข้าใจสับสนปนกันกับฌานทั้งหลาย ซึ่งเกี่ยวข้องกับโลกุตรฌาน
ซึ่งจะบรรลุได้โดยการเจริญวิปัสสนาหลังจากบรรลุปฐมฌานแล้ว
ดังนั้น พระสาวกผู้ฉลาด เมื่อเพ่งนิมิต ณ ที่ที่มีอสุภะปรากฏไม่ว่าจะเป็นอสุภะในสิ่งที่มีชีวิต
หรือในร่างกายที่ไม่มีชีวิตก็ตาม ควรเจริญภาวนาเพื่อได้บรรลุถึงขั้นฌาน
ผู้ที่ได้บรรลุฌานโดยการเจริญอสุภารมณ์อันใดอันหนึ่งในบรรดาอารมณ์เหล่านี้ย่อมปราศจากกามราคะ
และดำรงชีพอยู่อย่างนักบุญไม่มีกิเลสตัณหา
เมื่อเจริญวิปัสสนามากยิ่งขึ้นโดยมีฌานนี้เป็นบาท
ย่อมได้บรรลุความสิ้นกิเลสอาสวะทั้งหลาย ซึ่งนำไปสู่ความสุขอันสูงสุด คือ
พระนิพพาน
สารบัญ
No comments:
Post a Comment