Thursday, August 25, 2016

บทที่ ๑๐ สถานที่ที่เหมาะสมสำหรับเจริญสมาธิ



บทที่
สถานที่ที่เหมาะสมสำหรับเจริญสมาธิ
คัมภีร์พระไตรปิฎกให้ข้อมูลแก่เราว่าพระสาวกในยุคแรกๆ ได้เลือกสถานที่สำหรับอยู่อาศัย ๙ ประเภท โดยพิจารณาว่าสถานที่เหล่านี้เหมาะสมที่สุดสำหรับการเจริญสมาธิ สถานที่ ดังกล่าวทั้งหมดท่านกล่าวไว้ในข้อความต่อไปนี้
Image from https://commons.wikimedia.org/wiki/File:BuddhaShakyamuni.jpg

พระสาวกผู้เพียบพร้อมไปด้วยคุณธรรมอันประเสริฐคือศีลาจารวัตร, การสำรวมอินทรีย์ มีสติ และสัมปชัญญะสันโดษ และเป็นใหญ่ในตนเองไปยังภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าทึบ กลางแจ้ง หรือกระท่อมมุงด้วยฟาง
ทั้งหมดที่กล่าวนี้จัดอยู่ในประเภทที่สงัดสำหรับฤๅษี และบางอย่างจะต้องเลือกตามสภาพของอากาศและสภาพร่างกายของผู้ปฏิบัติ หรืออารมณ์เฉพาะตัวของผู้ปฏิบัติ ประเภทของที่อยู่อาศัยที่กำหนดไว้ว่าเหมาะสมที่สุดสำหรับผู้เจริญอานาปานัสสติกัมมัฏฐาน คือป่า โคนต้นไม้หรือบ้านที่ว่าง แต่ผู้ที่ถือธุดงควัตรเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยไม่ควรอยู่ภายใต้ที่กำบัง ในบรรดาธุดงค์ที่กล่าวไว้ในพระวินัย และพระคัมภีร์ในวิสุทธิมรรคนั้น สถานที่ ๔ แห่ง คือป่า โคนต้นไม้ กลางแจ้ง และป่าช้า ท่านกล่าวว่าเป็นที่อยู่ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ปฏิบัติธรรม ที่อยู่เหล่านี้ มีประโยชน์พิเศษสำหรับพระโยคีบุคคลทั้งหลาย
๑. การอยูในป่า
ตามที่ท่านอธิบายไว้ในพระคัมภีร์วินัย ป่าแห่งหนึ่งๆ ย่อมรวมไปถึงทุกที่อยู่นอกหมู่บ้านและนอกบริเวณหมู่บ้านพระคัมภีร์อภิธรรมกล่าวไว้ว่าป่าเริ่มขึ้นเมื่อเราผ่านพ้นเขตบ้านไปแล้ว แต่เกี่ยวกับการประพฤติพรตตามที่เขาได้ศึกษาจากพระสูตร ที่อยู่ในป่าได้แก่ที่ซึ่งอยู่ห่างจาก เขตบ้านชั่วลูกธนูจาก ๔๐๐ ลูก
ประโยชน์จากการอยู่ในป่ามีดังต่อไปนี้ พระภิกษุผู้อยู่ในป่าสามารถฝึกสมาธิได้ง่าย หรือพัฒนาสมาธิที่ได้แล้วให้ก้าวหน้ามากยิ่งขึ้นอย่างง่าย ยิ่งกว่านั้นครูของเขาย่อมยินดีพอใจ เขาเช่นเดียวกับพระพุทธเจ้าทรงยินดีและตรัสว่า ตถาคตยินดีชีวิตในป่าของพระภิกษุนามว่า นาคิตะ” จิตของผู้อยู่ป่าไม่ถูกอารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนามารบกวน โดยเหตุที่เขาดำรงชีพอยู่ด้วยคุณธรรม คือความบริสุทธิ์แห่งศีล เมื่อยู่ในป่าเขาย่อมจะไม่ถูกความกลัวมาครอบงำ อย่างที่ผู้มีวาจา การกระทำและความคิดที่ไม่บริสุทธิ์ถูก (ความกลัวครอบงำ) ท่านกล่าวไว้ใน ภยเภรวสูตรว่าดังนี้ “สลัดเสียซึ่งความทะยานอยากในชีวิต พระโยคีบุคคลย่อมได้รับความสุข อันเกิดจากสงบและความสงัด” ท่านกล่าวไว้ในพระคัมภีร์วิสุทธิมรรคดังต่อไปนี้
“พระภิกษุผู้สันโดษไม่ยึดมั่น ยินดีในที่สงัดย่อมเป็นที่โปรดปรานของพระพุทธเจ้าด้วย การอยู่ในป่า เมื่ออยู่ผู้เดียวในป่า เขาย่อมได้รับความสุขซึ่งแม้แต่เทวดาและพระอินทร์ก็ยังไม่สามารถได้รับ เขาใช้ผ้าบังสุกุลปิดคลุมร่างกายเหมือนเสื้อเกราะ เข้ามาอยู่ในป่าอันเป็นสนามรบมีอาวุธ คือปฏิญญาของนักพรต ในไม่ช้าเขาย่อมรบชนะหมู่มารและเสนามาร  ดังนั้นผู้ฉลาดควรยินดีในการอยู่ในป่า”
๒. การอยู่ที่โคนต้นไม้
ผู้ปฏิบัติผู้เลือกโคนต้นไม้เป็นที่อยู่อาศัยควรเลี่ยงต้นไม้บางประเภทคือต้นไม้ซึ่งอยู่ ณ เขตแดนประเทศ ๒ ประเทศ ต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ เช่นต้นพระศรีมหาโพธิ์ ต้นไม้ที่มียาง ต้นไม้ที่มีผล ต้นไม้ที่มีศ้างคาวอาศัยอยู่ ต้นไม้ที่กลวง หรือต้นไม้ที่งอกขึ้นท่ามกลางวิหาร
คัมภีร์พระวินัยกล่าวว่า “รุกขมูล-เสนาสนํ ปพฺพชฺชา” = การบวช (ของท่าน) อาศัยที่อยู่คือโคนต้นไม้ เพราะว่าการอยู่ใต้ต้นไม้เป็นปัจจัยจำเป็นสำหรับภิกษุ อนึ่ง โคนต้นไม้เป็นที่อยู่ที่ดีที่สุด เพราะหาได้ง่ายมากและปราศจากโทษ (ในเรื่องการดูแลรักษา การปฏิบัติหน้าที่ หรือการเอาใจใส่) การอยู่ที่โคนต้นไม้ช่วยให้เกิดอนิจสัญญาได้ง่าย โดยให้ตัวอย่างในการเปลี่ยนแปลงของใบไม้ ลดมลทินคือความอยากอันมีในที่อยู่ เป็นเพื่อนให้รุกขเทวดา และบำเพ็ญ คุณธรรมของนักพรต คือการอยู่อย่างง่ายๆ ให้บริบูรณ์ ซึ่งมีข้อความย่อดังต่อไปนี้
สำหรับผู้ที่อยู่คนเดียว ที่อยู่อันใดหนอจะดีที่สุดเหมือนโคนต้นไม้ ซึ่งพระพุทธเจ้าทรง สรรเสริญว่าเป็นปัจจัยที่ดีที่สุดในบรรดาปัจจัยทั้งหลาย?
เป็นที่ที่มีระเบียบ, เปลี่ยว, และเทวดาคุ้มครอง
เขาย่อมปราศจากมลทิน คือความอยากในที่อยู่
ตึกสีแดงเข้ม งาม ย่อมเปลี่ยนเป็นสีเขียว และแล้วน่าเบื่อในทันที
ผู้ปฏิบัติเห็นใบไม้หล่น ซึ่งสอนให้เขาเห็นกฎของการเปลี่ยนแปลง
ดังนั้น ผู้ฉลาดย่อมสรรเสริญที่เปลี่ยวที่โคนต้นไม้ ซึ่งเป็นบ้านของผู้เจริญสมาธิ เป็นมรดกของพระพุทธเจ้า” (วิสุทธิมรรค)
๓. การอยู่ในที่กลางแจ้ง
พระสาวกผู้ปฏิเสธที่จะอยู่ภายใต้หลังคา และใต้ต้นไม้ ควรอยู่ในสนามกลางแจ้ง ในที่กลางแจ้ง ในที่กำบังทำด้วยใบไม้หรือในเต็นต์ หรือในหุบเขาโล่งแจ้ง เมื่อจะเอ่ยถึงชีวิตแบบนี้ เราอาจจะอ้างคำพูดในคัมภีร์สังยุตตนิกาย ดังนี้ “เปรียบประดุจกวางซึ่งเดินไปโดยปราศจาก ความกังวล พระภิกษุผู้ไม่มีบ้านที่อยู่ย่อมดำรงชีพอยู่อย่างปราศจากเครื่องผูกพัน ประโยชน์อันเกิดจากการอยู่ในที่แจ้งมีดังนี้คือ ไม่มีการยึดมั่นถือมั่น ไม่ต้องกังวล และไม่ต้องทำหน้าที่เกี่ยวกับที่อยู่ในบ้าน ขจัดความฟุ้งซ่านและรำคาญใจ   ได้มีโอกาสไป ณ ที่ใดก็ได้ตามความปรารถนา มีชีวิตที่เรียบง่ายแบบนักพรต   ชีวิตแบบนี้ท่านอธิบายไว้ในพระคัมภีร์วิสุทธิมรรคดังนี้
พระภิกษุย่อมดำรงชีพแบบเรียบง่ายไม่มีบ้านเรือน
อยู่ภายใต้หลังคาคือท้องฟ้าเต็มไปด้วยดวงดาว
อยู่ในสนามกลางแจ้งมีแสงจันทร์ส่องสว่าง
เขาขจัดความฟุ้งซ่านและความรำคาญใจเสียได้
เขามีความยินดีเจริญสมาธิด้วยจิตที่ว่าง
ในไม่ช้าเขาย่อมได้รับความสุขอันเกิดจากความสงบสงัด
ดังนั้น ผู้ฉลาดทั้งหลายควรดำรงชีพอยู่แบบนี้
            ๔. การอยูในป่าช้า
การอยู่ในป่าช้าเหมาะสมที่สุดสำหรับผู้เจริญอสุภกัมมัฏฐาน หรือมรณา นุสสติกัมมัฏฐาน แต่ในบรรดาที่อยู่ประเภทต่างๆ ป่าช้าเป็นที่อยู่ที่ยากและเสี่ยงอันตรายที่สุด  พระสาวกผู้เลือกการอยู่ป่าช้า ควรแจ้งประธานคณะสงฆ์ หรือหัวหน้าหมู่บ้าน เพื่อให้ช่วยป้องกันอันตรายซึ่งอาจเกิดขึ้นแก่ตน ในช่วงกลางวันเขาควรสังเกตอารมณ์กัมมัฏฐาน เช่น ซากศพที่พองขึ้นเป็นต้น เพื่อจะได้ไม่เป็นสี่งที่น่ากลัวในเวลากลางคืน ในขณะที่เดินไปมา เขาควรมองดูศพที่กำลังไหม้อยู่ด้วยตาที่ลืมขึ้นครึ่งหนึ่ง (ตาหรี่) เขาควรงดฉันอาหารบางอย่าง เช่น เนื้อทอด ปลาทอด แป้งทอด ซึ่งเป็นที่ชอบใจสำหรับมนุษย์ธรรมดาสามัญ
การอยู่ในป่าช้ามีประโยชน์ดังต่อไปนี้ คือทำให้ระลึกถึงความตายเสมอ มีสัญญาเรื่อง ความเน่าเปื่อย มีชีวิตที่เต็มไปด้วยความระมัดระวัง มีการขจัดเสียได้ซึ่งกามราคะ มีการสังเกต ธรรมชาติของร่างกายได้ตลอดเวลา ไม่มีความหยิ่งในชีวิต ชนะความกลัวและความตกใจ เป็นต้น ดังที่กล่าวไว้ในพระคัมภีร์วิสุทธิมรรคว่า
“ด้วยอำนาจแห่ง มรณานุสสติ (การระลึกถึงความตายเป็นประจำ) พระสมณะผู้อยู่ในป่าช้าย่อมไม่ได้รับความกระทบกระเทือน จากโทษแห่งความประมาท เพราะเหตุที่เขาเพ่งพิจารณาศพจำนวนมาก ใจของเขาจึงไม่ตกอยู่ในอำนาจแห่งตัณหา ความรู้สึก เกลียด (ในสังขาร) ของเขาเป็นสิ่งยิ่งใหญ่ เขาไม่หยิ่ง เขาพยายามอย่างยิ่งยวดเพื่อปลดเปลื้องตนเอง พระนิพพานเป็นเป้าหมายซึ่ง เขาควรบรรลุ  แม้กระนั้นนักปราชญ์ทั้งหลายผู้ปรารถนาจะบรรลุ จุดมุ่งหมายนี้ควรดำเนินชีวิตแบบนี้”
สำหรับผู้ที่ไม่สามารถจะอยู่ในที่อยู่ดังกล่าวนี้ ก็อนุญาตให้อยู่ในวัดหรืออาวาสได้เพื่อปฏิบัติตามพระวินัย แต่จากพระคัมภีร์วิสุทธิมรรค เราได้เรียนรู้ว่ามีวัดที่ไม่เหมาะสมกับ การเจริญสมาธิ อยู่ ๑๘ ประเภทคือ
๑. วัดที่กว้างใหญ่ ซึ่งจะพบบุคคลจำนวนมากผู้มีแนวความคิดต่างกัน เป็นวัดที่ไม่สมควรสำหรับเจริญสมาธิ เพราะผู้ปฏิบัติคนหนึ่งๆ อาจต้องทอดทิ้งหน้าที่ต่างๆ  โดยอาศัยความขัดแย้งระหว่างกัน และการที่จะทำหน้าที่เหล่านั้นให้สมบูรญ์ ผู้ปฏิบัติจะไม่มีเวลาให้กับ การเจริญสมาธิ และ นอกจากนี้จะมีสิ่งรบ-กวนอยู่ตลอดเวลา
๒. วัดที่สร้างขึ้นใหม่ ในวัดเช่นนี้ย่อมมีงานที่จะต้องทำมากมาย โดยผู้ร่วมห้องจะต้องช่วยกันทำ และถ้างานเช่นนี้ถูกทอดทิ้งไว้โดยไม่มีคนทำ ตามหลักพระวินัย พระสาวกจะต้องถูก ตำหนิ
๓. ที่รกร้าง ในการอยู่ในที่รกร้าง ผู้ปฏิบัติจะพบว่ามีงานที่จะต้องซ่อมแซมมาก และถ้าทอดทิ้งงานเช่นนั้น เขาจะต้องถูกตำหนิ แต่ถ้าเขาทำการซ่อมแซมดังกล่าว เขาก็จะต้อง ทอดทิ้งการเจริญสมาธิ
๔. ที่ที่มีบ่อน้ำและน้ำพุ ในที่ดังกล่าวประชาชนใช้บ่อน้ำและน้ำพุ และผู้เจริญสมาธิจะได้รับการรบกวนจากประชาชนเหล่านั้น
๕. วัดซึ่งอยู่ใกล้ทางหลวง ในวัดเช่นนี้ ผู้เดินทางอาจมาทั้งกลางคืน และกลางวัน ในการสนองความต้องการของคนเหล่านั้นตามหน้าที่เจ้าถิ่น ผู้ปฏิบัติจะไม่มีเวลาเจริญสมาธิ
๖. ที่ที่มีสมุนไพรนานาชนิด ในที่เช่นนี้ผู้ปฏิบัติจะได้รับการรบกวนจากประชาชนผู้มาหาสมุนไพรดังกล่าว
๗. วัดที่มีสวนดอกไม้ ในที่เช่นนี้ผู้ปฏิบัติจะได้รับการรบกวนจากประชา-ชนผู้มาเก็บดอกไม้ทั้งหลายในสวนนั้น
๘. วัดที่มีผลไม้ต่างๆ เช่น มะม่วง ชมพู่ ขนุน ในวัดเช่นนี้ผู้ปฏิบัติจะได้รับการรบกวน จากประชาชนผู้มาขอผลไม้ หรือจะได้รับการรบกวนจากเด็กๆ ผู้มาลักผลไม้เหล่านั้น
๙. วัดที่น่าสนใจทางประวัติศาสตร์ ผู้ปฏิบัติที่อยู่ในวัดเช่นนี้จะได้การรบกวนทุกวัน จากประชาชนผู้มาเยี่ยมสถานที่ดังกล่าว  และพบกับพระผู้ดูแลสถานที่โดยนับถือพระองค์นั้นว่าเป็นนักบุญ เพราะทงานอยู่ในสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์
๑๐. วัดที่ตั้งอยู่ในเมือง วัดเช่นนี้ไม่เหมาะสมสำหรับการเจริญสมาธิ เพราะสิ่งแวดล้อมต่างๆ จะเสนอตัวมันเองเป็นการยั่วให้เกิดกิเลส และอุปสรรคอื่นๆ นานานับประการ
๑๑. วัดที่อยู่ในป่าทึบ ในวัดเช่นนี้พระสาวกอาจได้รับการรบกวนจากผู้ที่มาเก็บฟืน หรือตัดโคนต้นไม้เพื่อจุดประสงค์ต่างๆ                   
๑๒. วัดที่มีทุ่งหญ้าล้อมรอบ หรือมีที่ที่จะเพาะปลูกได้ เพราะชาวนาชาวไร่และคนงาน อาจรบกวนผู้ปฏิบัติสมาธิได้
๑๓. ที่อยู่ที่ประชาชนมีความเห็นขัดแย้งกัน การอยู่ในสถานที่ที่มีประชา-ชนจำนวนมากมีความเห็นแตกต่างกัน ขัดแย้งกันและเป็นศัตรูของกันและกัน จะเป็นอุปสรรคต่อการเจริญสมาธิ
๑๔. วัดที่อยู่ใกล้ท่าเรือหรือศูนย์การค้า วัดเช่นนี้ไม่เหมาะสมสำหรับการเจริญสมาธิ เพราะประชาชนที่ดำเนินการค้าจะมารบกวน และจะทำให้วัดไม่น่ารื่นรมย์       
๑๕. วัดที่ตั้งอยู่ในระยะทางห่างไกลซึ่งชาวบ้านไม่มีศรัทธาในพระพุทธ-เจ้า พระธรรมเจ้า และพระสงฆเจ้า วัดเช่นนี้ไม่เหมาะสม เพราะผู้ปฏิบัติจะได้ปัจจัยและสิ่งจำเป็นอื่นๆ อย่างลำบาก
๑๖. วัดที่ตั้งอยู่ที่เขตแดนของอาณาจักร ๒ อาณาจักร วัดเช่นนี่ใม่เหมาะ-สม เพราะจะมีอันตรายด้านการเมืองมารบกวน
๑๗. วัดที่แวดล้อมไปด้วยสิ่งที่ไม่น่าปรารถนา และมีวิญญาณร้ายหลอกหลอน วัดเช่นนี่ไม่เหมาะสม เพราะจะมีอันตรายและภัยพิบัตินานาประการ
๑๘. วัดที่ไม่มีครูหรือกัลยาณมิตร วัดเช่นนี้ไม่เหมาะสม เพราะผู้ปฏิบัติจะไม่ได้รับคำแนะนำที่จำเป็น จึงถือว่าเป็นข้อเสียหายที่ยิ่งใหญ่อย่างหนึ่ง
ดังนั้น สถานที่ที่กล่าวมาแล้วนี้ เป็นที่ที่ไม่เหมาะสม เพราะมีข้อเสียมากมาย ซึ่งจะพิสูจน์ได้ว่าเป็นอุปสรรคในการเจริญสมาธิถ้าสถานที่ดังกล่าวนี้บังเอิญปราศจากอุปสรรคทั้งหลาย ก็อาจเป็นสถานที่ที่เหมาะสมได้  อนึ่งพระสาวกควรเลี่ยงสถานที่ดังกล่าวแล้วนี้ แล้วแสวงหาที่อยู่ซึ่งมีคุณสมบัติ ๔ อย่างดังต่อไปนี้
๑. สถานที่ที่ไม่ไกลหรือไม่ใกล้หมู่บ้านเกินไป
๒. สถานที่ที่ไปมาง่าย
๓. สถานที่ที่ไม่มีคนพลุกพล่านในเวลากลางวัน
๔. สถานที่ที่เงียบสงบในเวลากลางคืน  ปราศจากการรบกวนจากสัตว์เช่น หนู นก เป็นต้น และหาสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตได้ง่าย
๕. สถานที่ที่มีเพื่อนเป็นคนดี
การได้ที่อยู่ซึ่งประกอบด้วยคุณสมบัติ ๕ อย่าง เหล่านี้ เรียกว่า อาวาสสัปปายะ และเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับความสำเร็จในการเจริญสมาธิ
พระสาวกผู้เสียสละสมบัติทางโลกทุกอย่าง แสะดำเนินชีวิตตามแนวทางพระพุทธศาสนา หลังจากเลิกละสภาพของผู้ครองเรือนแล้ว ควรแสวงหาสถานที่ที่น่ารื่นรมย์ สงบสงัด ประกอบ ด้วยคุณสมบัติดังได้อธิบายแล้วข้างบนนี้ แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ยังคงอยู่ในสภาพของผู้ครองเรือน แต่ปรารถนาที่จะเจริญสมาธิก็ควรพยายามที่จะนำไปสู่สมาธิเช่นสถานที่อันเปลี่ยว เป็นต้น เมื่อไม่สามารถหาที่เปลี่ยวได้ ก็ควรสละห้องเอกเทศสักห้องหนึ่งในบ้านของตน เพื่อจุดประสงค์ข้อนี้ สถานที่พิเศษที่ได้อธิบายไว้แล้วว่าเหมาะสมสำหรับการเจริญสมาธินั้นมีข้อ สังเกตพิเศษ เพราะสถานที่ดั่งกล่าวให้ประโยชน์ที่แน่นอนแก่ผู้ที่ปรารถนาจะหลุดพ้นจากกิเลส แต่ผู้แสวงหาทางหลุดพ้นด้วยความจริงใจ ผู้เป็นพระสาวกผู้เต็มเปี่ยมด้วยศรัทธา ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน เขาก็หาที่ที่เหมาะสมสำหรับการเจริญสมาธิของเขาจนได้

สารบัญ

Tuesday, August 16, 2016

บทที่ ๙ การเลือกกัมมัฏฐาน



บทที่ ๙
การเลือกกัมมัฏฐาน
จากพระคัมภีร์วิสุทธิมรรคเราได้ทราบว่าทรรศนะ ๑๐ อย่าง วิธี ๑๐ วิธี ซึ่งช่วยให้เข้าใจกัมมัฏฐานได้คือ จำนวน, สมาธิ, ฌาน, การก้าวล่วง, การขยาย, วัตถุ, ภูมิ, การปฏิบัติ, สาเหตุ, และลักษณะนิสัยที่ควร
ความรู้อย่างทะลุปรุโปร่งในเรื่องอารมณ์ของกัมมัฏฐาน เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับนักศึกษาทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้เลือกเส้นทางแห่งสมาธิภาวนา เพื่อบรรลุถึงความหลุดพ้น  ผู้ปฏิบัติจะได้มาซึ่งความรู้ที่จำเป็นนี้ โดยการศึกษากัมมัฏฐานเป็นอย่างดี ซึ่งปฏิบัติไปตามวิธีทั้ง ๑๐ ที่กล่าวแล้ว และถึงแม้ว่าจะไม่พบอาจารย์ที่เหมาะสมและมีความชำนาญก็ตาม  การศึกษาของเขานั้นเองจะอยู่ในฐานเป็นอาจารย์คนหนึ่งการอธิบายโดยละเอียดซึ่งอารมณ์ของกัมมัฏฐานจะพบได้ในพระคัมภีร์วิสุทธิมรรค ซึ่งจากพระคัมภีร์นี้จะได้คำอธิบายย่อๆ ดังต่อไปนี้
๑. โดยการนับจำนวน
อารมณ์กัมมัฏฐาน มี ๔๐ อย่าง ซึ่งท่านจัดไว้เป็น ๗ กลุ่ม คือ
๑. กสิณ ๑๐ คือ ปฐวี (แผ่นดิน) อาโป (น้ำ) เตโช (ไฟ) วาโย (ลม) นีละ (สีเขียว) ปีตะ (สีเหลือง) โลหิตะ (สีแดง) โอทาตะ (สีขาว) อาโลกะ (แสงสว่าง) อากาส (ที่ว่าง)
๒. อสุภะ ๑๐ คือ ซากศพที่เน่าพองขึ้นอืด, ซากศพที่มีสีเขียว, ซากศพที่มี น้ำเหลืองไหลเยิ้มตามรอยที่แตก, ซากศพที่ขาดจากกันเป็น ๒ ท่อน, ซากศพที่ถูกสัตว์กัดกินแล้ว, ซากศพที่กระจุยกระจายไป ซากศพที่ถูกฟันปั่นทอนเป็นท่อนๆ, ซากศพที่มีโลหิตไหล ซากศพที่มีหนอน ซากศพที่ยังเหลือแต่ร่างกระดูก
๓. อนุสสติ ๑๐ การระลึกถึงพระพุทธเจ้า, การระลึกถึงพระธรรม, การระลึกถึงพระสงฆ์, การระลึกถึงศีล, การระลึกถึงการบริจาค, การระลึกถึงเทวดา, การระลึกถึงความตาย, การระลึกถึงร่างกาย, การระลึกถึงการหายใจ, การระลึกถึงความสงบ
๔. พรหมวิหาร ๔ : เมตตา, กรุณา, มุทิตา, อุเบกขา
๕. อรูปฌาน ๔ : อากาสานัญจายตนะ (อากาศไม่มีที่สิ้นสุด) วิญญาณัญจายตนะ (วิญญาณไม่มีที่สิ้นสุด) อากิญจัญญายตนะ (ความไม่มีอะไร) เนวสัญญานาสัญญายตนะ (จะว่ามีวิญญาณก็ไม่ใช่ จะว่าหาวิญญาณมิได้ก็ไม่เชิง)
๖. อาหาเรปฏิกูลสัญญา = ความสำคัญรู้ในเรื่องความปฏิกูลน่าเกลียดแห่งอาหาร
๗.  จตุธาตุววัฏฐานะ = การกำหนดธาตุ ๔
๒. โดยการเจริญสมาธิ
อารมณ์ของกัมมัฏฐานมี ๒ ประเภท คือ ประเภทที่ช่วยให้เกิดเพียง อุปจารสมาธิ (สมาธิที่ไม่แน่วแน่) และประเภทที่ช่วยให้เกิดทั้งอุปจารสมาธิ และ อัปปนาสมาธิ (สมาธิที่แน่วแน่)ในบรรดาอารมณ์กัมมัฏฐาน ๔๐ อย่างนั้น ๑๐ อย่างสามารถก่อให้เกิดเพียง อุปจารสมาธิ คือสมาธิที่ไม่แน่วแน่เท่านั้น อารมณ์กัมมัฏฐาน ๑๐ อย่าง เหล่านี้ได้แก่ อนุสสติ ๘ อย่างแรก อาหาเรปฏิกูลสัญญา และธาตุววัฎฐานะ อารมณ์กัมมัฏฐานที่เหลือ ๓๐ อย่าง ช่วยให้เกิด อัปปนาสมาธิ คือสมาธิในฌาน
๓. โดยวิธีการเจริญฌาน
อารมณ์กัมมัฏฐาน ๑๑ อย่าง อานาปานัสสติ (สติกำหนดลมหายใจเข้าออก) และกสิณ ๑๐ ช่วยให้เกิดรูปฌานทุกอย่างทั้งในระบบฌาน ๔ และในระบบฌาน ๕ อารมณ์กัมมัฏฐานที่ เหลืออื่นๆ คือ กายคตานุสสติ คือการระลึกถึงกายอย่างไม่ขาดสาย และอสุภะ คืออารมณ์ที่ไม่บริสุทธิ์ ย่อมสามารถทำให้ปฐมฌานอย่างเดียวเกิดขึ้น พรหมวิหาร ๓ อย่างแรก คือ เมตตา กรุณา และมุทิตา เป็นทางให้บรรลุฌาน ๓ เบื้องต้น คือปฐมฌาน ทุติยฌาน และ ตติยฌาน ส่วนพรหมวิหาร ข้อ ๔ คือ อุเบกขาเป็นทางให้บรรลุจตุตถฌาน สภาวธรรมที่ปราศจากรูป ๔ อย่างย่อมเป็นทางให้บรรลุอรูปฌาน ๔
๔. โดยวิธีการผ่านพ้น
เมื่อพิจารณาในลักษณะนี้ วิสัยกัมมัฏฐานมี ๒ ประเภท คือวิสัยที่ผ่านพ้นองค์ฌาน และวิสัยที่ผ่านพ้นอารมณ์ วิสัยที่สามารถก่อให้เกิดฌาน ๓ หรือ ฌาน ๔ ย่อมผ่านพ้นองค์ฌาน และ ละฌานได้ตามลำดับ ในขณะที่ได้บรรลุฌานที่สูงขึ้น เพราะว่าด้วยการขจัดองค์ฌานขั้นต่ำ ได้เท่านั้น จึงจะบรรลุฌานขั้นสูงได้ ในกรณีของอรูปฌาน ๔ ผู้ปฏิบัติจะผ่านพ้นอารมณ์กัมมัฏฐานแต่ละอย่าง ด้วยการผ่านจากฌานหนึ่งไปสู่อีกฌานหนึ่งถัดไป ในวิสัยที่เหลือซึ่ง ๑๐ อย่าง ก่อให้เกิดเพียงอุปจารสมาธิ และวิสัยอื่นๆ ซึ่งก่อให้เกิดเพียงปฐมฌานนั้นย่อมไม่มีการผ่านพ้น
๕. โดยวิธีการพัฒนา
ในบรรดาอารมณ์กัมมัฏฐาน ๔๐ อย่างนั้น ในกรณีของกสิณ ๑๐ เท่านั้น ที่ควรพัฒนาธรรมารมณ์ เพราะว่าเกี่ยวกับการบรรลุอิทธิฤทธิ์ ไม่ว่ากสิณนั้นจะแผ่ซ่านไปยังภูมิใด ผู้ปฏิบัติสามารถมีประสบการณ์ต่างๆ ภายในขอบเขตของภูมินั้นๆ คือสามารถได้ยินเสียง ซึ่งโดยปกติจะไม่ได้ยินด้วยอำนาจของหูทิพย์ สามารถเห็นรูปที่อยู่ห่างไกลด้วยอำนาจแห่งตาทิพย์ และสามารถรู้ภาวะแห่งจิตของผู้อื่นได้ด้วยอำนาจแห่งฤทธิ์ทางใจ ธรรมารมณ์ในอารมณ์กัมมัฏฐาน ที่เหลือ ๑ อย่าง ไม่จำเป็นต้องพัฒนา เพราะไม่มีประโยชน์ในการพัฒนา
๖. โดยวิธีการใช้นิมิต
ตามพระคัมภีร์อภิธรรมมัตถสังคหะ มีอารมณ์ ๓ อย่าง ซึ่งเรียกว่านิมิต คือเครื่องหมายได้แก่
๑. ปริกัมมนิมิต  เครื่องหมายเบื้องแรกแห่งการปฏิบัติ
๒. อุคคหนิมิต  มโนภาพหรือเครื่องหมายซึ่งพัฒนาเป็นจิตที่คล้ายกับจิตซึ่งเกิดขึ้นในนิมิตที่หนึ่ง
๓. ปฏิภาคนิมิต  นิมิตที่เกิดขึ้นจากมโนภาพ
ในขณะที่สมาธิพัฒนาไปสู่สภาพแห่งฌาน มีสมาธิ ๓ ขั้น สอดคล้องกับนิมิตเหล่านี้ นั่นก็คือปริกัมมสมาธิ (สมาธิเบื้องต้น) อุปจารสมาธิ (สมาธิที่ใกล้จะถึงฌาน) และอัปปนาสมาธิ (สมาธิในฌาน คือสมาธิที่เปลี่ยนสภาพของวิญญาณเป็นสภาพของฌาน)
อารมณ์กัมมัฏฐานแต่ละประเภทใน ๔๐ ประเภทนั้นในขั้นต้นต้องถือว่าเป็นปริกัมมนิมิต เพราะสร้างอารมณ์ที่แน่นอนให้แก่สมาธิ  เมื่อผู้ปฏิบัติเรียนรู้นิมิตนี้อย่างชัดแจ้ง เพื่อว่านิมิตนั้นจะปรากฎอยู่ในจิตเป็นมโนภาพ นิมิตนี้เรียกว่าอุคคหนิมิต นิมิตทั้งสองนี้เป็นอารมณ์ของปริกัมมสมาธิ ซึ่งเป็นสมาธิขั้นต้น
อุคคหนิมิตแห่งอารมณ์กัมมัฏฐาน ๒๒ อย่างคือ กสิณ๑๐ อสุภะ๑๐ กายคตาสติ๑ อานาปานัสสติ๑ ก่อให้เกิดปฏิภาคนิมิตขึ้น อารมณ์กัมมัฏฐานที่เหลืออีก ๑๘ อย่างนั้นมีลักษณะที่ลึกซึ้งจนถึงกับว่าอารมณ์เหล่านั้นไม่ก่อให้เกิดสัญลักษณ์แห่งปฏิภาคนิมิตได้ ในบรรดาอารมณ์กัมมัฏฐาน ๑๘ อย่างนั้นอารมณ์กัมมัฏฐาน ๑๒ อย่าง คืออนุสสติ ๘ อย่าง อาหาเรปฏิกูลสัญญา จตุธาตุววัฏฐานะ อากาสานัญจายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ มีธรรมชาติที่แท้จริงของตนเองเป็นธรรมา-รมณ์ อารมณ์กัมมัฏฐาน ๖ อย่าง คือ พรหมวิหาร ๔ วิญญาณัญจายตนะ ๑ และอากิญจัญญายตนะ ๑ ไม่ชัดแจ้งพอที่จะทำให้สัญลักษณ์ หรือธรรมชาติที่แท้จริงของตนปรากฎเป็นธรรมารมณ์ได้  ทั้งนี้เพราะว่าพรหมวิหาร ๔ เป็นคุณธรรมที่แสดงความรู้สึกชั้นสูง ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งอารมณ์ คือสิ่งที่มีชีวิตซึ่งนับประมาณมิได้ ซึ่งผู้ปฏิบัติแผ่ไปถึง  ดังนั้นอารมณ์ทั้งหลายซึ่งนับประมาณมิได้นั้น ไม่สามารถปรากฎแจ่มแจ้งว่าเป็นสัญลักษณ์ หรือเป็นเครื่องแสดงให้ปรากฎอย่างใดอย่างหนึ่ง อรูปฌานที่ ๑ และที่ ๓ ยึดอารมณ์ที่ไม่ใช่วัตถุ คืออากาศและความว่างเปล่าตามลำดับ  ดังนั้นอรูปฌานทั้ง ๒ นี้ไม่สามารถเสนอสัญลักษณ์ หรือ ธรรม-ชาติที่แท้จริงในฐานะเป็นตัวแทนของจิตได้
ในบรรดาอารมณ์กัมมัฏฐาน ๔๐ เหล่านี้ อนุสสติ ๘ อย่างแรก อาหาเรปฏิกูลสัญญา และจตุธาตุววัฏฐาน มีคุณสมบัติในตนเอง  ดังนั้นจึงไม่พัฒนาให้เป็นอัปปนา การปฏิบัติโดยยึดอารมณ์เหล่านี้ ก่อให้เกิดเฉพาะอุปจารสมาธิเท่า นั้นแต่สมาธิที่เหลือย่อมพัฒนาเป็นอุปปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ
ดังนั้น อารมณ์กัมมัฏฐานทั้งหมด ๔๐ อย่าง สามารถก่อให้เกิดปริกรรมนิมิต, อุคคหนิมิต, ปริกรรมสมาธิ และอุปจารสมาธิ อารมณ์กัมมัฏฐานทั้งหมดจะก่อให้เกิดอัปปนาสมาธิ นอกจากอารมณ์ ๑๐ อย่างเท่านั้นที่ก่อให้เกิดเฉพาะอุปจารสมาธิ
๗. โดยทางภูมิภาคแห่งความเป็นอยู่
อารมณ์กัมมัฏฐาน ๑๒ อย่าง คือ อสุภะ ๑๐ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ และกายคตาสติ ๑ ย่อมไม่มีในเทวภูมิ อารมณ์เหล่านี้และอานาปานสติย่อมไม่มีในพรหมภูมิไม่มีอารมณ์ใดๆ มีในอรูปภูมิ นอกจากอรูปภูมิ ๔ เท่านั้น อารมณ์กัมมัฏฐานทั้งหมดนี้ย่อมมีใน มนุสสภูมิ
๘. โดยทางยึดถือ (คหณะ)
กสิณ ๙ ยกเว้นวาโยกสิณ และอสุภะ ๑๐ จะต้องยึดถือหรือปฏิบัติโดย จักขุนทรีย์ คือ ทางตา อารมณ์ของกายคตาสติจะต้องยึดถือหรือปฏิบัติโดยการเห็นและการได้ยิน อารมณ์ของอานาปานัสสติจะต้องปฏิบัติโดยการสัมผัสหรือความรู้สึก อารมณ์ของอากาสกสิณ จะต้องปฏิบัติทางการเห็นและการสัมผัส แต่อารมณ์ของกัมมัฏฐานที่เหลือ ๑๘ อย่าง จะต้องปฏิบัติทางการสัมผัส ผู้เริ่มปฏิบัติไม่ควรปฏิบัติอารมณ์ ๔ อย่าง คือ พรหมวิหารที่ ๔ (อุเบกขา) และอรูปภูมิ ๔ เพราะอารมณ์เหล่านี้ควรจะมาหลังจาก ตติยฌานและจตุตถฌานตามลำดับ
๙. โดยทางปัจจัย
กสิณ ๙ ยกเว้นอากาสกสิณสามารถก่อให้เกิดอรูปฌานได้ กสิณ ๑๐ ทุกอย่างนำไปสู่  อภิญญา คือความรู้ที่สูงขึ้นพร้อมด้วยการบรรลุผลที่เหนือธรรมดา พรหมวิหาร ๓ อย่างแรก ก่อให้เกิดพรหมวิหารที่ ๔ คือ อุเบกขา อรูปฌานชนิดหนึ่งย่อมก่อให้เกิดอรูปฌานถัดๆไปได้  จนกระทั่งได้บรรลุขั้นสูงสุด อรูปฌานชนิดที่มีชื่อว่า เนวสัญญาณาสัญญายตนะ เป็นพื้นฐาน แห่งการบรรลุผลที่เรียกว่า “นิโรธสมาบัติ” คือการดับโดยสิ้นเชิงแห่งเวทนาและสัญญาซึ่งจะบรรลุได้เฉพาะในสภาพแห่งพระอริยบุคคลขั้นพระอนาคามี และขั้นพระอรหันต์ การเจริญสมาธิโดยอาศัยอารมณ์กัมมัฏฐานเหล่านี้ทั้งหมดเป็นเหตุให้เกิด ความสุขในชีวิตปัจจุบัน ให้เกิดความเจริญก้าวหน้าแห่งความรู้ที่บริบูรณ์ และการเกิดใหม่ที่มีความสุขจนกระทั่งได้บรรลุ พระนิพพาน
๑๐. โดยวิธีการปรับให้เหมาะสมกับจริต
อารมณ์กัมมัฏฐาน ๑๑ อย่าง คือ อสุภะ ๑๐ กายคตาสติ ๑ เหมาะสมสำหรับบุคคลผู้มีจาคจริต อารมณ์กัมมัฏฐาน ๘ อย่าง คือ พรหมวิหาร ๔ และกสิณสีต่างๆ ๔ อย่าง เหมาะสำหรับบุคคลผู้มีโทสจริต อานาปานสติ เหมาะสำหรับผู้มีโมหจริต อนุสสติ ๖ อย่างแรก เหมาะสมสำหรับผู้มีศรัทธาจริต อารมณ์กัมมัฏฐาน ๔ อย่างคือ มรณานุสติ อุปสมานุสสติ อาหาเรปฏิกูลสัญญา และจตุธาตุววัฏฐานะ เหมาะสมสำหรับผู้มีพุทธจริต กสิณที่เหลือและ อรูปฌาน ๔ เหมาะสมสำหรับจริตทุกอย่าง การประเมินคุณค่าของอารมณ์กัมมัฏฐานทั้ง ๔๐ อย่าง ข้างบนนี้ได้ทำขึ้นเพื่อได้มาซี่งความเหมาะสมที่สุดสำหรับจริตของแต่ละบุคคล เพื่อกำหนดอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง และธรรมชาติอย่างหนึ่งๆ ซึ่งขัดกับอารมณ์นั้นๆ ดังนั้น จึงมีการต่อต้านกับความโน้มน้อมที่ไม่น่าปรารถนา แต่อย่างไรก็ตามเป็นความจริงที่ว่าไม่มีอารมณ์กัมมัฏฐานข้อใดที่ไม่ทำจิตให้บริสุทธิ์จากราคะ โทสะ และโมหะ มีแต่จะพัฒนา ศรัทธา ความรู้ และความฉลาดให้เกิดมีขึ้น
ดังนั้น อารมณ์กัมมัฏฐานทั้ง ๔๐ เหล่านี้ ท่านจัดเป็นประเภทตามอำนาจของอารมณ์ เหล่านี้ เพื่อที่จะช่วยให้มีการพัฒนาทางจิตของแต่ละบุคคล ตาราง ๒ ตารางข้างล่างนี้ แสดง ให้เห็นตำแหน่งของอารมณ์เหล่านี้ในขอบเขตของสมาธิ

อุปจารสมาธิ


อัปปนาสมาธิ




รูปฌาน ๔



ฌานที่ ๑
ฌานที่ ๓
ฌานที่ ๔
อนุสสติ ๑-๖
กสิณ ๑๐


กสิณ ๑๐
มรณสติ
อสุภะ ๑๐
อสุภะ ๑๐

(ฌาน ๑-๔)
อุปสมานุสสติ
กายคตาสติ
กายคตาสติ


อาหาเรปฏิกูลสัญญา
อานาปานัสสติ


อานาปานัสสติ



(ฌาน ๑-๔)
จตุธาตุววัฏฐาน๑๐
พรหมวิหาร ๔
เมตตากรุณา
อุเบกขา


มุทิตา



(ฌานที่ ๑-๓)
ฌานที่ ๔



อรูปฌาน ๔


อรูปฌาน ๔
อากาสานัญจายตนะ




วิญาณัญจายตนะ

(๓๐)
อากิญจัญญายตนะ


เนวสัญญาณาสัญญายตนะ

ตารางที่ ๒
ตามวิถีทางแห่งจริตที่เหมาะสม
ราคจริต
โทสจริต
โมหจริต
สัทธาจริต
พุทธิจริต
สัพพจริต
อสุภะ๑๐
กายคตาสติ ๑
กสิณ ๔ :
นีลกสิณ
ปีตกสิณ
โลหิตกสิณ
โอทาตกสิณ
พรหมวิหาร ๔ :
เมตตา
กรุณา
มุทิตา
อุเบกขา
อานาปานัสสติ
อนุสสติ ๖ :
พุทธานุสสติ
ธัมมานุสสติ
สังฆานุสสติ
สีลานุสสติ
จาคานุสสติ
เทวดานุสสติ
มรณัสสติ
อุปสมานุสติ
อาหาเรปิฏกูลสัญญา จตุธาตุววัฏฐาน
กสิณ ๖ :
ปฐวี
อาโป
เตโช
วาโย
อากาส
อาโลก
อรูปฌาน ๔

ครูผู้สอนกัมมัฏฐานทั้ง ๒ อย่างเหล่านี้ ควรตรวจดูอารมณ์ของจิตและจริตของศิษย์ทั้งหลาย  ถ้าครูไม่มีความรู้ที่สามารถอ่านความคิดของผู้อื่นได้แล้ว เขาควรถามศิษย์ของตน ดังนี้ “คุณมีจริตอะไร คุณมีความโน้มเอียงไปทางใด อารมณ์กัมมัฏฐานประเภทใดเหมาะสม สำหรับคุณ คุณปรารถนาจะเจริญอารมณ์กัมมัฏฐานประเภทใด?”
หลังจากตรวจสอบจริตของผู้สมัครฝึกสมาธิโดยวิธีนี้แล้ว ครูควรเลือกอารมณ์กัมมัฏฐานที่เหมาะที่สุด และ สอนอารมณ์กัมมัฏฐานนั้นในวิธีหนึ่งใน ๓ วิธี ถ้านักเรียนเคยปฏิบัติกัมมัฏฐานอย่างใดอย่างหนึ่งมาก่อน ครูควรให้นักเรียนนั้นท่องสูตรสัก ๑ หรือ  ๒ จบ แล้วให้คำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับสูตรนั้น ถ้านักเรียนอาศัยอยู่กับครู ครูควรให้คำแนะนำทุกโอกาส ถ้านักเรียนปรารถนาจะศึกษาอารมณ์กัมมัฏฐานแล้วไปที่อื่น ครูควรสอนอารมณ์กัมมัฏฐานนั้น อย่างละเอียดถี่ถ้วน เช่นในการสอนปฐวีกสิณครูควรอธิบายกรรมฐานหมวดต่างๆ ๙หมวด คือ
 โทษแห่งกสิณ
 วิธีทำมณฑลกสิณ
 วิธีปฏิบัติกัมมัฏฐาน
 นิมิต ๒ อย่าง
 สมาธิ ๒ ระดับ
 ขั้นที่สมควรและไม่สมควร
 วสี (ความชำนาญ) ๑๐ อย่างในอัปปณา
 ความรู้จักประมาณในการปฏิบัติ
 วิธีการปฏิบัติให้มีอัปปณา
พระสาวกผู้ปฏิบัติควรศึกษาเรื่องเหล่านี้ทั้งหมดก่อนเริ่มการปฏิบัติ
จากที่กล่าวแล้ว จะพบว่า หลังจากเข้าไปหาครูที่ดีผู้สามารถให้กัมมัฏฐานแล้ว ศิษย์ควรมอบตัวเองให้แก่พระพุทธเจ้าและแก่ครูของเขา และควรขอกัมมัฏฐานด้วยความตั้งใจ แนวแน่
กัมมัฏฐานที่จะปฏิบัติมี๒ อย่าง คือ กัมมัฏฐานที่มีประโยชน์สำหรับคนโดยทั่วๆ ไป และกัมมัฏฐานที่เหมาะสมกับจริตของปัจเจกชน เช่น เปมะ (ความรัก) มรณานุสสติ และอสุภสัญญาในร่างกายเป็นกัมมัฏฐานที่มีประโยชน์แก่ทุกคน และสามารถจะปฏิบัติพร้อมกับกัมมัฏฐานอื่นๆ ได้ กัมมัฏฐานเฉพาะอย่าง ซึ่งคัดเลือกมาปฏิบัติเพราะเหมาะสมกับจริต เฉพาะอย่างของแต่ละบุคคลเรียกว่า “ปาริหาริยะ” เพราะจะต้องปฏิบัติอย่างต่อเนื่องเพื่อเป็น ทางตรงนำไปสู่จุดหมายที่สูงขึ้น
เพื่อเป็นการประกันความสำเร็จ ผู้ปฏิบัติควรปฏิบัติตามอุดมการณ์ของพระโพธิสัตว์ ๖ ข้อ คือ ความคิดที่จะปลดเปลื้องจิตจาก ราคะ โทสะ และโมหะ ความปรารถนาที่จะสละ จากความสุขทางโลก มีความยินดีในวิเวก และออกจากสังสารวัฏ พระสาวกผู้ปรารถนาจะทำอุดมการณ์ทั้ง ๖ เหล่านี้ให้สมบูรณ์ จะได้บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณด้วยตนเองในขั้นใดขั้นหนึ่งใน ๓ ขั้นเหล่านี้ คือ พระอรหันต์, พระปัจเจกพุทธเจ้า หรือพุทธภูมิอันสูงสุด

สารบัญ