บทที่ ๑๑
โพธิปักขิยภาวนา
การเจริญธรรมอันมีส่วนให้ได้ตรัสรู้
_of_Wat_Hua_Hat_2.JPG) |
Image from https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/1/1d/Bodhi_Tree_(Whiteleaf)_of_Wat_Hua_Hat_2.JPG |
สมาธิซึ่งเป็นหนทางให้ได้ตรัสรู้ด้วยตนเองนั้นยอมบ่งให้ทราบไม่เฉพาะแต่การเพ่งพิจารณาวัตถุที่กำหนดให้อย่างมีระบบเท่านั้น
แต่รวมถึงการพัฒนาคุณภาพที่สูงขึ้น อันจะนำไปสู่ปัญหาขั้นโลกุตตระด้วย
ซึ่งปัญหานี้จะช่วยให้ได้ตรัสรู้ ดังนั้นพระคัมภีร์ทั้งหลายจึงเน้นว่า ในการฝึกเบื้องต้น
พระสาวกควรจะได้เจริญธรรมอันมีส่วนให้ได้ตรัสรู้ หรือเป็นหลักที่จะให้ได้ ตรัสรู้
๓๗ ประการ ในปัจฉิมเทศนา เราได้พบว่าพระพุทธเจ้าได้ทรงแนะนำพระสาวกของ
พระองค์ดังต่อไปนี้
“ภิกษุทั้งหลาย พระธรรมที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วและได้สอนแล้วนั้น
เธอทั้งหลายควร ถือปฏิบัติและอบรมให้เกิดมีขึ้นในตนเพื่อว่าชีวิตพรหมจรรย์ของเธอจะได้มั่นคงและดำรงอยู่ได้นาน
เพื่อประโยชน์ของชนทั้งหลาย ด้วยความกรุณาต่อชาวโลก เพื่อประโยชน์และความสุข
แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย และพระธรรมที่ตถาคตตรัสรู้แล้วและสอนแล้ว
ซึ่งเธอทั้งหลาย ควรเรียนรู้เหล่านั้นได้ธรรมเหล่าใด? ได้แก่ธรรมเหล่านี้คือ
สติปัฏฐาน (การตั้งสติไว้ชอบ) ๔
สมัปปธาน (ความพยายามธรรม) ๔
อิทธิบาท (พระธรรมที่ให้ได้รับความสำเร็จ)
๔
อินทรีย์ (ความเป็นใหญ่) ๕
พละ (กำลัง) ๕
โพชฌงค์ (พระธรรมที่เป็นองค์คุณให้เกิดการตรัสรู้) ๗
มรรค (ทางที่จะนำไปสู่ภาวะอันประเสริฐ) ๘
หัวข้อธรรม ๗ หมวดเหล่านี้ประกอบด้วยหลักที่จะนำไปสู่การตรัสรู้ ๓๗ ประการ
ซึ่งได้กล่าวไว้แล้วในบทที่ ๕ คำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหมด สรุปรวมอยู่ในหัวข้อธรรม
๗ หมวดเหล่านี้ ซึ่งกล่าวว่าเป็นประมวลคำสอน มีชื่อเรียกว่าโพธิปักขิยธรรม
คือพระธรรมที่มีส่วนช่วยให้ได้ตรัสรู้ ในมหาสกุลทายิสูตรได้จัดหมวดธรรมเหล่านี้ไว้ในหลักปฏิบัติของ
พระสาวก เนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของระบบทั้งหมดของการฝึกตนตามหลักพระพุทธศาสนา
ในคัมภีร์มหาวรรค สังยุตตนิกาย หมวดธรรมเหล่านี้ท่านจัดไว้เป็นเอกเทศ เรียกว่า
วิธีฝึกฝนอบรมตนแบบอิสระ และท่านรวมหมวดธรรมเหล่านี้ไว้ในสังยุตตนิกาย
หรือเรียกว่าประชุมคำสอนซึ่งจัดในลำดับต่างๆ เป็นที่น่าสังเกตว่า หมวดทั้ง ๗ นี้
ท่านกล่าวไว้ซ้ำๆ กันในคำสอน แบบต่าง ๆ
อย่างไรก็ตาม คำว่า “โพธิปักขิยะ” ท่านไมงได้ใช้ในพระไตรปิฎกเพื่อรวมพระธรรมทั้ง
๓๗ เหล่านี้ทั้งหมดไว้ด้วยกัน แม้ว่าคำนี้จะปรากฎในอรรถกถาทั้งหลายในความหมายที่ว่า
“คุณธรรม ๓๗ เพื่อการตรัสรู้” ก็ตาม คำนี้ปรากฎในสังยุตตนิกายด้วย
แต่ในที่นั้นท่านใช้กับกลุ่มที่ ๔ คือ อินทรีย์
๕ อย่าง ซึ่งท่านกล่าวว่าจะนำไปสู่การบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ ในการอธิบายการฝึกสมาธิเบื้องต้น
พระคัมภีร์วิภังค์ใช้คำว่า “โพธิปกฺขิยานํ ภาวนานุยุตฺโต วิหรติ” ซึ่งแปลว่า
พระสาวกประกอบตนเองในการเจริญโพธิปักขิยธรรม แต่ข้อความนี้ใช้กับโพชฌงค์ ๗
เท่านั้น ซึ่งเป็นกลุ่มที่ ๖ ใน ๗ กลุ่ม ในอรรถกถา เราพบข้อความว่า “แม้ว่าหลักธรรม
๓๗ ประการ จะรวมอยู่ในโพธิปักขิยธรรมก็ตาม โพชฌงค์ ๗ ท่านก็แสดงไว้ต่างหาก เพราะโพชฌงค์
๗ สามารถปรากฎในวัตถุอย่างหนึ่งในระหว่างการปฏิบัติโลกิยฌาน และโลกุตรฌาน นอกจาก ๒
กรณีนี้แล้ว ไม่พบหลักฐานที่จะแสดงว่า หลักธรรม ๗ หมวดนี้รวมอยู่ภายใต้ชื่อนี้ในพระไตรปิฎก
ตามหลักฐานในพระคัมภีร์ทั้งหลาย จะพบว่า ท่านสอนหลักธรรมเหล่านี้อย่างเป็นอิสระในตอนแรก
แล้วท่านก็กล่าวว่าหลักธรรมเหล่านี้นำไปสู่ความรู้ที่สูงคืออภิญญา สัมโพธที่สมบูรณ์และพระนิพพาน
ยิ่งกว่านั้นธรรมเหล่านี้ยังเป็นธรรมที่ปลุกใจบุคคลให้มีคุณธรรม
ภายในและเป็นผลแห่งการขยายออกแห่งการฝึกจิตตามหลักพระพุทธศาสนา พระสาวกควร
ปฏิบัติธรรมเหล่านี้ตั้งแต่เริ่มต้นการฝึก เพราะธรรมเหล่านี้ย่อมนำไปสู่ทางแห่งการตรัสรู้
ตั้งแต่เริ่มแรกทีเดียวและในที่สุดด้วยการผลิตเป็นหน่วยรวม
ธรรมเหล่านี้ก็ประกอบเป็น รูปแบบแห่งการตรัสรู้ขึ้นมาในตนเอง ดังนั้นธรรมเหล่านี้โดยแท้จริงแล้ว
ย่อมประกอบเป็น คำสอนย่นย่อในพระพุทธศาสนาขึ้น โดยมีชื่อว่า “โพธิปักขิยธรรม” ถ้าประสงค์จะได้บรรลุผลสำเร็จในการปฏิบัติสมาธิชั้นสูง
จำเป็นจะต้องปฏิบัติธรรมเหล่านี้ ดังนั้น ธรรมเหล่านี้จึงรวมอยู่ในฌานวิภังค์ ในฐานะเป็นส่วนของการฝึกจิตเริ่มแรก
๑. สติปัฏฐาน ๔
สติปัฎฐาน ทั้ง ๔ เหล่านี้ท่านกล่าวไว้ในมหาสติปัฏฐานสูตรที่รู้จักกันดี
ซึ่งในพระสูตรนั้น ท่านอธิบายว่าเป็นวิธีที่สมบูรณ์แบบ สำหรับการบรรลุพระนิพพาน ณ
ที่นั้นท่านได้กล่าวถึง แผนการฝึกจิตที่สำคัญที่สุด การฝึกแบบนี้ท่านแนะนำว่าเป็นวิธีการฝึกที่เพียงพอในตนเอง
และเน้นเรื่องความสำคัญสำหรับผู้เริ่มฝึก สติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ท่านอธิบายไว้โดยย่อดังนี้
“ภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่เป็นสามเณรซึ่งพึ่งเข้ามาบวชในพระธรรมวินัย ควรได้รับการชักชวน
แนะนำให้ปฏิบัติสติปัฏฐานทั้ง๔ อย่าง เพื่อนทั้งหลาย จงมาพิจารณาร่างกายด้วยจิตที่
กระตือ รือร้น ตั้งมั่น สงบ เป็นสมาธิ และบริสุทธิ์เป็นอย่างดี เพื่อรู้แจ้งในร่างกายตามความเป็นจริง
ให้พิจารณาทำนองเดียวกันนี้ในเวทนา ในจิตและในธรรม”
ข้อนี้แสดงให้เห็นว่าพระสาวกควรได้รับการฝึกในการปฏิบัติตั้งแต่เริ่มต้น
หลักที่จะต้องพัฒนาในการฝึกจิตได้แก่สติ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในด้านการฝึกจิต
วิธีที่อธิบายในที่นี้เพื่อที่จะพัฒนาจิต ได้แก่การเพ่งพิจารณาร่างกาย เวทนา
จิตและธรรม ซึ่งจะต้องเข้าใจตามธรรมชาติของแต่ละอย่าง คือพระสาวกควรจะตั้งสติไว้ในสังขารธรรมทั้งหลาย
โดยพิจารณาธรรมชาติอันแท้จริงของสังขารเหล่านั้น
โดยไม่คำนึงถึงความเข้าใจที่เกี่ยวข้องกับ ‘‘ข้าพเจ้า” “ของข้าพเจ้า’ “เขาผู้ชาย” “เขาผู้หญิง”
ในเรื่องนี้ สติหมายถึงความสำนึกถึงความจริงเกี่ยวกับลักษณะตามธรรมชาติของกายและจิตเหล่านี้ และควรตั้งจิตไว้ในทางตรงกันข้าม กับความหลงลืม
และความไม่สำนึกถึงความจริงทั้งหลาย ซึ่งทำให้คนเชื่อว่าสังขารทั้งหลายเป็น “อัตตา”
และเป็นสิ่งที่มีอยู่จริงตลอดกาลสำหรับจิตธรรมดาซึ่งยังไม่ได้รับการสอน การรวมกันของสังขารธรรม
๔ อย่างนี้กลายเป็นสิ่งถาวรและมีตัวตน นั่นก็คือโมหะซึ่งทำให้มีการเกิด
การตายและความเศร้าโศกซํ้าแล้วซ้ำเล่าการพิจารณาเห็นสภาพธรรมทั้ง ๔ นี้ ย่อมเปิดเผย
ความจริงที่ว่าสภาพธรรมเหล่านี้ปราศจากความจริง การสำนึกถึงความจริงข้อนี้
ย่อมขจัด ความเห็นผิดเรื่องตัวตนบุคคลเราเขา ซึ่งมีความเข้าใจผิดเป็นพื้นฐานเสียได้
และข้อนี้ช่วยให้ผู้ ปฏิบัติปลีกตัวออกจากโลกซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงเสมอได้ด้วย
พระสาวกผู้เจริญสมาธิควรตั้งสติ ไว้ในธรรมทั้ง ๔ อย่างนี้ ดังนั้น ธรรมทั้ง ๔ นี้
จึงมีชื่อว่า สติปัฏฐาน คือที่ตั้งแห่งสติ
เมื่อสติตั้งอยู่ในธรรม ๔ อย่างนี้โดยผ่านการเพ่งพิจารณา สติก็จะขจัดความจำที่สับสน
และรักษาคุณธรรมอื่นๆ ไว้ในจิตซึ่งมั่นคงและควรแก่การงาน ไม่ปล่อยให้คุณธรรมนั้นๆ
อ่อน พลังลงหรือหมดสิ้นไป พระสาวกผู้ได้รับการสนับสนุนและคุ้มครองโดยสติ
จะได้รับความสำเร็จ ในการปฏิบัติธรรมในไม่ช้า
๒. ความพยายามชอบ ๔
๑ ในที่นี้ พระภิกษุมีความตั้งใจ
ประกอบความเพียรเริ่มปฏิบัติเคร่งครัดขึ้น กระตุ้นจิตของตนให้ป้องกันไม่ให้เกิดความคิดที่ชั่วและเลวทรามขึ้น
๒ พระภิกษุมีความตั้งใจ กระตุ้นจิตของตนให้ขับไล่ความคิดที่ชั่วและเลวทราม
ซึ่งได้เกิดขึ้นแล้ว
๓ พระภิกษุมีความตั้งใจ กระตุ้นจิตของตนให้ผลิตความคิดที่ดีซึ่งยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
๔ พระภิกษุมีความตั้งใจ กระตุ้นจิตของตนให้เพิ่ม
ขยาย พัฒนาและทำให้สมบูรณ์ ซึ่งความคิดที่ดีซึ่งเกิดขึ้นแล้ว
เหล่านี้เป็นความพยายามชอบ ๔ อย่าง ซึ่งนำไปสู่การตรัสรู้ ความพยายามชอบ ๔
อย่างนี้ท่านแสดงไว้ในฐานะเป็นวิธีการปฏิบัติ ซึ่งสนับสนุนการบำเพ็ญสมาธิ
ไม่ได้แสดงไว้ในฐานะเป็นแผนการร่วมในการเจริญสมาธิ
ดังนั้นท่านจึงเรียกความพยายามชอบทั้ง ๔ นี้ว่า “สมาธิปริกขาร”
ซึ่งหมายถึงบํจจัยจำเป็นสำหรับความเป็นหนึ่งแห่งจิต ในการพัฒนาวิญญาณ ให้มีสภาพสูงขึ้น
พระสาวกจะต้องพยายามทุกวิถีทางเพื่อนำจิตออกจากความคิดที่ชั่ว ซึ่งท่าน ให้คำจำกัดความว่าได้แก่
โลภะ โทสะ และโมหะ ซึ่งเป็นรากเหง้าแห่งความชั่วทุกอย่าง ไม่ว่าจะ เป็นความชั่วทางกายทางวาจาหรือทางใจวิธีการชำระจิตให้หมดจดนี้ท่านอธิบายไว้ในข้อความต่อไปนี้
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อความคิดชั่วเกิดขึ้นในจิต
และเมื่อจิตครุ่นคิดถึงความคิดชั่วนั้น และถูกครอบงำโดยความคิดที่ไม่ดี มีโลภะ
โทสะ หรือโมหะ พระสาวกย่อมพยายามที่จะสร้าง ความคิดที่ดีบางอย่าง
ซึ่งมีลักษณะตรงกันข้ามให้เกิดมีขึ้นในจิต โดยการปฏิบัติเช่นนี้ ความคิดชั่วจะเสื่อมและหมดสิ้นไป
และด้วยการหมดสิ้นไปเช่นนั้น จิตจะตั้งมั่นได้รับการควบคุมและรวมเป็นหนึ่ง
ถ้าความคิดชั่วทั้งหลายเกิดขึ้นอย่างไม่หยุดยั้งใน ลักษณะกัดฟัน และกดลิ้นติดเพดาน
เธอจะต้องพยายามอย่างที่สุด เพื่อข่มจิตและบังคับจิตเพื่อว่าความคิดชั่วจะได้ถูกขจัดออกไป
และ จิต จะได้เป็นจิตที่บริสุทธิ์”
ความพยายามเพื่อที่จะบรรลุจุดหมายอันสูงสุดนี้มีชื่อเรียกว่า “สมัปปธาน” และมี
๔ อย่าง ซึ่งแต่ละอย่างก็มีจุดประสงค์ของตนเองโดยเฉพาะ พระสาวกย่อมสามารถป้องกันจิตของ
ตนไม่ให้หันไปสู่ความคิดชั่วทั้งหลายได้ ชำระจิตให้บริสุทธิ์ปราศจากความคิดชั่ว
และใช้จิตนั้น เป็นตัวนำมาซึ่งคุณภาพที่ดี และสูงขึ้นและพัฒนาคุณภาพนั้นๆ ยิ่งๆ
ขึ้นไป
ความพยายามชอบ เมื่อใช้เช่นนั้นย่อมเป็นหลักชัยนำไปสู่ความก้าวหน้าทั้งในด้านรูปธรรมและนามธรรม
และในฐานะที่เป็นองค์คุณให้ได้ตรัสรู้ ย่อมหล่อหลอมจิตซึ่งก่อให้เกิด
ความสว่างไสวขึ้นในตัวบุคคลได้
๓. อิทธิบาท (ธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จ)
๔
๑ ในเรื่องนี้
พระภิกษุย่อมพัฒนาพื้นฐานแห่งจิตพร้อมกับฉันทะ คือความพอใจ และความพยายามชอบ
๒ ......... ย่อมพัฒนาพื้นฐานแห่งจิตพร้อมกับความเพียร (วิริยะ) และ
ความพยายามชอบ
๓ ......... ย่อมพัฒนาพื้นฐานแห่งจิตพร้อมกับความตั้งใจมน (จิต) และ
ความพยายามชอบ
๔ ......... ย่อมพัฒนาพื้นฐานแห่งจิตพร้อมกับใตร่ตรอง (วิมังสา) และ
ความพยายามชอบ
หลักที่กล่าวไว้ข้างบนนี้แสดงให้เห็นว่าสมาธิซึ่งได้มาจากฉันทะวิริรยะจิตตะและวิมังสา
พร้อมด้วยความพยายามย่อมก่อให้เกิดพื้นฐานแห่งปรากฎการณ์ทางจิตซึ่งมีชื่อว่า “อิทธิ”
ตามศัพท์แปลว่าความสำเร็จ หลักเหล่านี้ท่านเรียกว่า “อิทธิบาท” ซึ่งหมายถึงทางแห่งความสำเร็จ
เมื่อกล่าวโดยทั่วไปแล้ว
หัวข้อธรรมเหล่านี้ ก็คือคุณภาพแห่งวิญญาณเหนือธรรมดา ซึ่งค่อยๆ พัฒนาไปตามขั้นของฌานนั่นเอง
เมื่อได้รับการพัฒนาพร้อมกับหลักธรรมอันจะนำ ไปสู่การตรัสรู้ข้ออื่นๆ ย่อมจะนำไปสู่แสงสว่างคือความรู้ที่สูงขึ้น
และสร้างอำนาจทางจิตแบบ ต่างๆ ขึ้นมา การปฏิบัติหลักธรรมทั้ง ๔ นี้ท่านอธิบายไว้ในข้อความต่อไปนี้
“ภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาททั้ง ๔ อย่างเหล่านี้ เมื่อเธอปฏิบัติและสร้างขึ้นย่อมนำไปสู่
ผลอันยิ่งใหญ่คือพรอันยิ่งใหญ่ ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ อย่างนี้จะปฏิบัติกันอย่างไร
จะสร้างขึ้นมาอย่างไร และธรรมเหล่านี้นำไปสู่ผลและความดีอันยิ่งใหญ่อย่างไร?”
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมบำเพ็ญอิทธิบาทพร้อมกับฉันทะ และความพยายามชอบว่า
ดังนี้ ด้วยเหตุนี้ ฉันทะของข้าพเจ้าจะไม่เฉื่อยชาเกินไป และไม่แรงกล้าเกินไป
ไม่หดหู่ภายใน ทั้งไม่วอกแวกในภายนอก”
“เขาบำเพ็ญอิทธิบาท พร้อมกับวิริยะ และความพยายามชอบว่า “ด้วยเหตุนี้ วิริยะ
ของข้าพเจ้าจะไม่เฉื่อยชาเกินไปและไม่แรงกล้าเกินไป
ไม่หดหู่ในภายในทั้งไม่วอกแวกใน ภายนอก”
“เขาบำเพ็ญอิทธิบาทพร้อมด้วยวิมังสา และความพยายามชอบว่า “ด้วยเหตุนี้
การไตร่ตรองของข้าพเจ้าจะไม่เฉื่อยชาเกินไป และไม่แรงกล้าเกินไป ไม่หดหู่ในภายใน
ทั้งไม่วอกแวกในภายนอก ข้างหน้าฉันใดข้างหลังก็ฉันนั่น ข้างหลังฉันใด
ข้างหน้าก็ฉันนั้น ข้างล่างฉันใด ข้างบนก็ฉันนั้น ข้างบนฉันใด ข้างล่างก็ฉันนั้น
กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น ด้วยเหตุนี้
เขาจึงพัฒนาจิตของเขาด้วยสติปัญญาที่แจ่มแจ้งและไม่เฉื่อยชา
เพื่อว่าเขาจะได้บรรลุถึงความสว่างแห่งจิต”
ดังนั้น การบำเพ็ญอิทธิบาท ๔ เหล่านี้ ไม่เพียงแต่จะผลิตสร้างพลังในการควบคุม
เรื่องต่างๆ ที่เกิดขึ้นเท่านั้น แต่ยังนำไปสู่โลกุตรปัญญาอีกด้วย
และด้วยความหมายนี้เอง อิทธิบาทจึงจัดเป็นโพธิปักขิยธรรมหมวดหนึ่ง
๔. อินทรีย์ ๕
คุณธรรมทั้งหลายคือ ความเชื่อ, ความเพียร, สติ, สมาธิ และปัญญา ท่านเรียกว่า
อินทรีย์ ในความหมายที่ว่าเป็นหลักนำและควบคุม ท่านอธิบายไว้ดังต่อไปนี้
๑ ภิกษุทั้งหลาย
และอินทรีย์คือศรัทธาได้แก่อะไร ภิกษุทั้งหลาย ในที่นี้ พระอริยสาวกเป็นผู้มีศรัทธา
เขาเชื่อในการตรัสรู้ของตถาคตว่าดังนี้ “พระผู้มีพระภาค ผู้เป็นพระอรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้า
ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ผู้มีความสุข ผู้รู้แจ้งโลก ผู้เป็นสารถีฝึกคนที่ควรฝึก
ผู้เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ผู้ตื่นแล้ว ผู้มีโชคดี ภิกษุทั้งหลายนี้เรียกว่า
อินทรีย์ คือศรัทธา
๒ ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์
คือความเพียรได้แก่อะไร ภิกษุทั้งหลายในที่นี้พระอริยสาวก
ประกอบความเพียรในขณะที่ขจัดความคิดชั่วออกไป และนำความคิดดีมาสู่ตนนั้น เขามีความมันคงและก้าวหน้าไปอย่างมั่นคง
ไมเลิกละความพยายามที่จะสร้างความคิดที่ดีภิกษุทั้งหลาย
นี้เรียกว่าอินทรีย์คือความเพียร
๓ ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์คือสติได้แก่อะไร ภิกษุทั้งหลาย ในที่นี้
พระอริยสาวกเป็น ผู้มีสติ เพราะมีความชำนาญยิ่งในการมีสติ พระอริยสาวกย่อมระลึกถึงสิ่งที่ตนทำแล้วและพูดแล้วในอดีตอันยาวนานได้
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอินทรีย์ คือสติ
๔ ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์คือสมาธิได้แก่อะไร ภิกษุทั้งหลาย ในที่นี้
พระอริยสาวก หลังจากทำการปล่อยวางให้เป็นอารมณ์แห่งความคิดของตนแล้ว ย่อมได้สมาธิ
คือความเป็น หนึ่งแห่งจิต ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า อินทรีย์คือสมาธิ
๕ ภิกษุทั้งหลาย, ก็อินทรีย์คือปัญญาได้แก่อะไร? ภิกษุทั้งหลาย,
ในที่นี้พระอริยสาวก เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาอันเต็มเปี่ยม
พระอริยสาวกมีปัญญารู้แจ้งเรื่องการเกิดขึ้น หรือการสลายไปของสิ่งต่างๆ รู้แจ้งเรื่องการไม่ติดข้องอยู่ในกิเลสทั้งหลาย
และรู้แจ้งสภาวะ ซึ่งนำไปสู่การทำลายความเจ็บปวดโดยประการทั้งปวง
ภิกษุทั้งหลายนี้เรียกว่าอินทรีย์คือปัญญา
เมื่ออินทรีย์ทั้ง ๕ อย่างเหล่านี้ได้พัฒนาไปอย่างเต็มที่แล้ว
อินทรีย์เหล่านี้จะปกครองจิต โดยการควบคุมสภาพต่างๆ ซึ่งเป็นปฏิปักษ์ต่อตน นั่นก็คือความสงสัย
การทอดทิ้ง การทำลาย และความเข้าใจผิดหลังจากจิตได้ก้าวพ้นแนวโน้มอันเป็นอันตรายแล้ว
และ พัฒนาคุณธรรมให้สูงขึ้น โดยอาศัยอินทรีย์ทั้ง ๕ ช่วยเหลือแล้ว จิตย่อมเป็นธรรมชาติเหมาะสมที่จะรู้แจ้งด้วยตนเอง
ดังนั้นอินทรีย์ทั้ง ๕ เหล่านี้จึงมีชื่อว่า “โพธิปักขิยะ” เราจะพบการยืนยันเรื่องนี้ในข้อความต่อไปนี้
“ภิกษุทั้งหลาย, อินทรีย์คือศรัทธา (ความเชื่อ) ย่อมนำไปสู่การตรัสรู้ ..... อินทรีย์คือ
วิริยะ (ความเพียร) ..... อินทรีย์คือสติ
.... อินทรีย์คือสมาธิ .... อินทรีย์คือปัญญา ย่อมนำไปสู่การตรัสรู้
ดังนั้นอินทรียํเหล่านี้จึงมีชื่อว่า โพธิปักขิยะ”
๕. พละ ๕
พละ ๕ เป็นธรรมประเภทเดียวกับ “อินทรีย์ ๕” ธรรมเหล่านี้มีพลัง เมื่อได้รับการพัฒนาเต็มที่ขนาดที่ธรรมฝ่ายปรปักษ์ไม่สามารถทำลายได้ก็จะนำไปสู่พระนิพพานซึ่งมีข้อความต่อไปนี้เป็นคำกล่าวอ้างอิง
“ภิกษุทั้งหลาย, มีพลธรรมอยู่ ๕ อย่าง คืออะไรบ้าง คือ ศรัทธา, วิริยะ, สติ
สมาธิ และปัญญา ภิกษุทั้งหลาย, ในที่นี้พระภิกษุย่อมพัฒนาพละคือศรัทธา
ซึ่งมีจุดมุ่งหมายคือความหลุดพ้น ความสิ้นกิเลส การดับกิเลสและการปล่อยวาง (พลธรรมอย่างอื่นก็จะต้องพัฒนาโดยทำนองเดียวกันนี้)”
“ภิกษุทั้งหลาย, แม้นํ้าคงคาไหลไปทางทิศตะวันออก เอนเอียงไปทางทิศตะวันออก โน้มน้อมไปทางทิศตะวันออกฉันใด
พระภิกษุผู้พัฒนาพลธรรมทั้ง ๕ อย่างก็ฉันนั้น เขาจะต้องสร้างพลธรรมทั้ง ๕
ให้เกิดมีขึ้น และดำเนินไปสู่พระนิพพาน”
๖. โพชฌงค์ ๗
๑ ธรรม ๗ อย่างเหล่านี่คือ ๑ สติ (ความระลึกได้)
๒ ธรรมวิจัย (การสอดส่องธรรม)
๓ วิริยะ (ความเพียร)
๔ ปิติ (ความอิ่มใจ)
๕ ปัสสัทธิ (ความสงบ)
๖ สมาธิ (ความมีจิตแน่วแน่)
๗ อุเบกขา (ความวางเฉย)
เป็นองค์ธรรมให้ได้ตรัสรู้ ซึ่งมีชื่อว่า “โพชฌงค์” (โพธิองค์)
ในพระคัมภีร์วิภังค์ ท่านได้อธิบายธรรมเหล่านี้ไว้ดังต่อไปนี้
๑ อะไรคือสติ ซึ่งเป็นองค์ธรรมที่นำไปสู่การตรัสรู้ในที่นี้? ในที่นี้
พระภิกษุเป็นผู้มีสติ เพียบพร้อมไปด้วยความชำนาญอันยอดเยี่ยมในการใช้สติ
เขาระลึกได้ถึงสิ่งที่เขาทำแล้ว พูดแล้ว ในอดีต
นี้เรียกว่าสติอันเป็นองค์คุณให้ตรัสรู้
๒ เมื่อมีสติดังนั้น ภิกษุย่อมสอดส่องธรรมด้วยความฉลาด ตรวจสอบ และสอบสวนธรรมทั้งหลาย
นี้เรียกว่าธรรมวิจัยอันเป็นส่วนให้ได้ตรัสรู้
๓ ในขณะที่สอดส่องธรรมทั้งหลายด้วยความฉลาด ตรวจสอบและสอบสวนธรรม ทั้งหลายนั้น
ความเพียรของเขาย่อมดำเนินไปและควรแก่การงาน นี้เรียกว่าวิริยะอันเป็นส่วนให้ได้ตรัสรู้
๔ เมื่อความเพียรของเขาดำเนินไปแล้ว ความยินดีย่อมเกิดขึ้นอย่างปราศจากสิ่งที่น่ารักใดๆ
นี้เรียกว่าปิติอันเป็นส่วนให้ได้ตรัสรู้
๕ เมื่อจิตของเขาเต็มเปี่ยมด้วยปิติ ทั้งร่างกายและจิตของเขาย่อมสงบ
นี้เรียกว่า ปัสสัทธิ อันเป็นส่วนให้ได้ตรัสรู้
๖ เมื่อร่างกายของเขาสงบและมีความสุข จิตของเขาย่อมมีสมาธิ นี้เรียกว่า สมาธิ
อันเป็นส่วนให้ได้ตรัสรู้
๗ เมื่อจิตของเขามีสมาธิเขาย่อมมองสิ่งต่างๆ ด้วยความวางเฉย
นี้เรียกว่าอุเบกขา อันเป็นส่วนให้ได้ตรัสรู้
หลักธรรม ๗ ประการนี้นำไปสู่การตรัสรู้ “โพธิ” ซึ่งเรียกว่าปัญญา
และการตรัสรู้ ด้วยใจ และดังนั้นท่านจึงเรียกธรรมเหล่านี้ว่า “โพชฌงค์”
คือองค์คุณอันเป็นส่วนให้ได้ตรัสรู้
เป็นที่ตกลงกันว่า พระสาวกผู้ได้บรรลุถึงขั้นมีศีลบริสุทธิ์เป็นอันดีแล้ว ควรปฏิบัติหลักธรรมเหล่านี้ด้วยความมุ่งหมายที่จะบรรลุความปราศจากตัณหา
อุปาทาน การตัดกิเลส และการปล่อยวาง เมื่อปฏิบ้ติธรรมเหล่านี้แล้ว
ธรรมเหล่านี้จะนำไปสู่การทำลายกิเลส และ อาสวะทั้งหลาย
๗. มรรคมีองค์ ๘
พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย มรรคมีองค์ ๘ คืออะไร? คือความเห็นชอบ ดำริชอบ
วาจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีวิตชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งจิตมั่นชอบ
๑ ในบรรดามรรคมีองค์ ๘ เหล่านี้ เห็นชอบ ประกอบด้วยความรู้ทุกข์ เหตุแห่งทุกข์
การดับทุกข์ และทางไปสู่ความดับทุกข์ ความรู้ ๔ อย่างนี้ ซึ่งสัมพันธ์กับอริยสัจ ๔
เรียกว่าเห็นชอบ (สัมมาทิฎจิ) ความรู้ดังกล่าวนี้หมายรวมถึงความรู้เรื่องกรรม
ความรู้ เรื่องวิปัสสนา และความรู้เรื่องอริยมรรค ในบรรดาความรู้ดังกล่าวนี้
ความรู้เรื่องธรรม และวิปัสสนาเป็นความรู้ระดับโลกิยะคืออยู่ในระดับโลก
และความรู้เรื่องอริยมรรค เป็นความรู้ ระดับโลกุตระ คืออยู่เหนือโลก
๒ ดำริชอบ มี ๓ อย่าง คือ ดำริเพื่อปลีกตัวออกจากความเพลิดเพลินทางโลก ดำริเพื่ออดกลั้นความโกรธ
และดำริเพื่อเว้นจากการทำร้ายผู้อื่น ทั้ง
๓ อย่างนี้เป็นประมวลความคิดชอบทั้งหลายทั้งปวง และเมื่อปฏิบัติธรรมเหล่านี้เป็นเอกเทศในขั้นต้น
ธรรมเหล่านี้ได้ชื่อว่าเป็นโลกิยะ แต่เมื่อเจริญธรรมเหล่านี้ถึงขั้นฌาน
ธรรมเหล่านี้ได้ซึ่งเป็นโลกุตระ
๓ วาจาชอบมี ๔ อย่าง คือ การเว้นจากการพูดเท็จ การเว้นจากพูดส่อเสียด
การเว้นจากการพูดคำหยาบ การเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ ในแง่บวก วาจาชอบบ่งถึงการพูด
ความจริง การพูดคำที่รื่นหู คำที่ส่งเสริมให้เกิดสันติ และคำที่มีประโยชน์ ในขั้นต้น
วาจาชอบ ก่อให้เกิดความบริสุทธิ์แห่งศีลซึ่งเกี่ยวกับวินัยทางวาจา
และในขั้นพัฒนาสูงขึ้น วาจาชอบย่อมบ่งบอกถึงความคิดที่จะเว้นจากวาจาชั่ว
และการเลิกใช้วาจาชั่วนั้นอย่างเด็ดขาด
๔ การงานชอบ มี ๓ อย่าง คือ การเว้นจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต การเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขามิได้ให้
และการเว้นจากการประพฤติผิดในกามกับบุตร-สามี-ภรรยาของผู้อื่น ในแง่บวกกระทำชอบบ่งบอกถึงการกระทำที่มีความปรารถนาดี
มีความเอื้อเฟื้อ และมีพรหมจรรย์ ในเบื้องต้น
เป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดระเบียบด้านศีลธรรมเกี่ยวกับร่างกาย และในขั้นพัฒนาสูงขึ้น
กระทำชอบหมายถึงการงดเว้นจากการกระทำขั้วทุกประเภท
๕ เลี้ยงชีวิตชอบ คือการเลิกละการดำเนินชีวิตแบบที่ไม่ถูกต้องและการดำเนินชีวิต
ตามทำนองคลองธรรม ซึ่งเหมาะสมกับความต้องการของตน ข้อนี้หมายถึงการยึดมั่นในกฎ
แห่งการเลี้ยงชีพที่ถูกต้อง และไม่ละเมิดกฎเหล่านั้น เพื่อเห็นแก่ความเป็นอยู่ของตน
ในขั้นที่ พัฒนาสูงขึ้น เลี้ยงชีวิตชอบบ่งบอกถึงการเว้นจากการเลี้ยงชีวิตที่ไม่เหมาะสมทุกรูปแบบ
๖-๗ พยายามชอบ และระลึกชอบ เป็นเช่นเดียวกับพยายามชอบ
๔ อย่าง และสติปัฎฐาน ๔ ซึ่งได้อธิบายไว้แล้ว แต่อย่างไรก็ตาม
เมื่อธรรมเหล่านี้มีความเกี่ยวข้องกับ อริยมรรคในฐานะเป็นองค์คุณที่จำเป็นสำหรับการบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ ท่านถือว่าธรรมเหล่านี้ เป็น “มัคคังคะ”
คือเป็นองค์ประกอบแห่งมรรค แม้ว่าธรรมเหล่านี้จะมีหลายอย่างในขั้นต้น
เนื่องจากมีพฤติกรรมต่างๆ แต่ก็เป็นธรรมที่เกิดในจิตที่พัฒนาแล้วในฐานะเป็นพลังและ
เป็นสติที่สมบูรณ์ซึ่งก่อให้เกิดมรรค
๘ ตั้งจิตมั่นชอบ ในที่นี้หมายถึงจิตที่ตั้งนั้นในฌาน ๔
ซึ่งเกิดจากการเจริญสมาธิ ภาวนา
คือสมาธิซึ่งบุคคลเจริญด้วยความปรารถนาที่จะบรรลุพระนิพพาน เมื่อสมาธินี้มาร่วมกับโลกุตรฌาน
๔ สมาธินี้ย่อมเป็นสุดยอดแห่งมรรคมีองค์ ๘
ดังนั้น โพธิปักขิยธรรมทั้ง ๗ หมวดเหล่านี้ จึงประกอบด้วยคุณธรรม ๓๗ ประการ
ซึ่งจำเป็นสำหรับการตรัสรู้ ที่จัดเป็น ๗ หมวด เช่นนี้
ท่านจัดตามพฤติกรรมที่รวมกัน และเป็น เอกเทศของธรรมเหล่านี้
และท่านนับจำนวนแล้วเป็น ๓๗ อย่าง แต่เมื่อพิจารณาตามอารมณ์ทางจิตวิทยา ท่านย่อธรรมเหล่านี้ไว้ภายใต้ห้วข้อ
๑๔ หัวข้อ คือ
๑ สติ ปรากฎในที่ ๘ แห่ง
๒ วิริยะ ปราฎกในที่ ๙ แห่ง
๓ ฉันทะ
๔ จิต ปรากฏในที่ ๑
แห่ง
๕ ศรัทธา ปรากฏในที่ ๑
แห่ง
๖ ปัญญา ปรากฏในที่ ๕
แห่ง
๗ ปีติ ปรากฏในที่ ๑ แห่ง
๘ ปัสสัทธิ ปรากฏในที่
๑ แห่ง
๙ สมาธิ ปรากฏในที่ ๔
แห่ง
๑๐ อุเบกขา ปรากฏในที่
๑ แห่ง
๑๑ สัมมาลังกัปปะ ปรากฏในที่
๑ แห่ง
๑๒ สัมมาวาจา ปรากฏในที่
๑ แห่ง
๑๓ สัมมากัมมันตะ ปรากฏในที่
๑ แห่ง
๑๔ สัมมาอาชีวะ ปรากฏในที่
๑ แห่ง
ในการปฎิบัติเบื้องต้นของพระสาวก
คุณธรรมเหล่านี้จะต้องพัฒนาเสมอในฐานะเป็นโลกิยธรรมในขณะเจริญสมาธิ เมื่อบรรลุเป็นพระอรหันต์ ธรรมเหล่านี้เกิดขึ้นเป็นโลกุตรธรรม
อันก่อให้เกิดการตรัสรู้ด้วยตนเอง โดยวิธินี้พระสาวกย่อมสำเร็จหลักสูตรแห่งการฝึกตนเพื่อ
ตรัสรู้พระนิพพาน